TNN หยุดทำ 5 พฤติกรรมเหล่านี้ หากไม่อยากเสี่ยงต่อ "โรคกระดูกพรุน"

TNN

Health

หยุดทำ 5 พฤติกรรมเหล่านี้ หากไม่อยากเสี่ยงต่อ "โรคกระดูกพรุน"

หยุดทำ 5 พฤติกรรมเหล่านี้ หากไม่อยากเสี่ยงต่อ โรคกระดูกพรุน

หยุดทำ 5 พฤติกรรมเหล่านี้ หากไม่อยากเสี่ยงต่อ "โรคกระดูกพรุน"

โรคกระดูกพรุน เป็นภัยเงียบที่อาจนำไปสู่ภาวะกระดูกเปราะบาง หักง่าย ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยในวันนี้เราจะมาพูดถึง 5 พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง หากไม่อยากเสี่ยงต่อการเป็น "โรคกระดูกพรุน" จะมีอะไรบ้าง ติดตามได้ในบทความนี้


5 พฤติกรรม เสี่ยงโรคกระดูกพรุน

5 พฤติกรรม ที่ควรหยุดทำ หากไม่อยากเสี่ยงโรคกระดูกพรุนมีดังนี้

1. ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่

เนื่องจากสารเคมีในบุหรี่และแอลกอฮอล์จะไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม กระตุ้นให้กระดูกสลายตัวเร็วขึ้น ส่งผลต่อมวลกระดูกทำให้มวลกระดูกลดลง จนสามารถเกิดเป็นโรคกระดูกพรุนได้

2. ทานอาหารเค็มจัด

เมื่อทานอาหารเค็มจัดหรือรสจัด ร่างกายจะขับโซเดียมส่วนเกินออกทางปัสสาวะ ทำให้ร่างกายเสียแคลเซียมไปพร้อมๆ กับโซเดียมด้วย 

3. ไม่ทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี

แคลเซียมและวิตามินดี จำเป็นต่อการเสริมสร้างกระดูก ควรทานอาหารที่มีสารอาหารเหล่านี้ เช่น นม เนยแข็ง ปลาแซลมอน ผักใบเขียว ไข่แดง เห็ด หากทานไม่เพียงพอ อาจส่งผลต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนในอนาคตได้

4. ขาดการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายแบบฝึกกล้ามเนื้อและรับน้ำหนัก ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์

5. อยู่แต่ในร่ม/ไม่ออกแดด

การอยู่แต่ในร่ม ไม่ออกไปเจอแสงแดด สามารถเป็นสาเหตุหนึ่งของการสูญเสียแคลเซียมได้ เพราะร่างกายสร้างวิตามินดีจากการกระตุ้นของแสงแดด หากขาดวิตามินดี ก็จะส่งผลต่อการดูดซึมของแคลเซียม ดังนั้นควรออกแดดบ้าง 10-15 นาทีต่อวัน (ควรเป็นแดดในช่วงเช้า)


ที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลเปาโล, โรงพยาบาลศิครินทร์

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง