หมอจุฬาฯแนะ สัญญาณเตือน “ปอดมีปัญหา” ผลพวงจากฝุ่นPM2.5
หมอจุฬาฯแนะวิธีอยู่อย่างไรเมื่อเป็น “โรคปอดเรื้อรัง” ผลพวงจากฝุ่น PM2.5 มหันตภัยเงียบสุขภาพ พร้อมแนะวิธีสังเกตปอดเริ่มมีปัญหา
วันนี้ ( 22 ธ.ค. 65 )รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ขึ้นเวทีอธิบายถึงผลกระทบของฝุ่น PM2.5 ที่ส่งผลต่อสุขภาพ คนกรุงเทพ ซึ่งถ้ามองข้ามอาจจะทำให้เกิดปัญหาสำคัญ เพราะฝุ่นมีผลเกี่ยวเนื่องทำให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น เมื่อมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้น รัฐก็ต้องรับภาระในการรักษาพยาบาลมากขึ้น ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดในการลดฝุ่น PM2.5 คือทุกคนต้องร่วมใจลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่น และป้องกันตัวเองจากฝุ่น PM2.5
รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ร่วมเสวนาร่วมกับ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรคปอดในด้านต่างๆ โดยพบว่า การเพิ่มของระดับ ฝุ่น PM2.5 มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตรวม ค่าของฝุ่น PM2.5 ที่เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลุกบาศก์เมตร จะทำให้อัตราการเสียชีวิตโรคหัวใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.12 และเสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.39
นอกจาก ฝุ่น PM2.5 จะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรง ยังส่งผลต่อระบบ หัวใจ หลอดเลืด ดวงตา และผิวหนัง ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคปอดอยู่แล้วมีอาการกำเริบได้ สำหรับกลุ่มโรคคปอดเรื้อรัง มีหลายโรคด้วยกัน เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง หอบหืด โรคผังผืดในปอด โรคปอดอักเสบเรื้อรัง
ผศ.(พิเศษ)พญ.วรวรรณ ศิริชนะ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้แนะวิธีการในการสังเกตตัวเองว่าปอดเริ่มมีปัญหาแล้ว คือ จะมีอาการไอ มีเสมหะ มีอาการเหนื่อยกว่าคนปกติ เกินหนึ่งสัปดาห์ไม่หาย หรือ เป็นๆ หายๆ และยิ่งถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับควันพิษ หรือสูบบุหรี่มานานๆ ก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
สำหรับวิธีในการป้องกันนการเกิดโรคปอดเรื้อรัง ทำได้ด้วยการ ลดความเสี่ยง ด้วยการหลีกเลี่ยงควัน การสูบบุหรี่ และในช่วงที่มีฝุ่น PM2.5เป็นจำนวนมาก ก็ควรที่จะใสหน้ากากอนามัยที่ N95 นอกจากนี้ในช่วงที่ยังมีโควิดระบาดก็อยากจะเน้นยำให้ฉีดวัคซีนเพื่อลดความรุนแรงของโรคไม่ให้ลงปยังที่ปอดอีกด้วย
ภาพจาก : AFP