TNN "แสงแดด ช่วยชีวิต" เปิดผลศึกษาเปรียบเสมือนยาอายุวัฒนะ ป้องกันโรคนี้ได้?

TNN

Health

"แสงแดด ช่วยชีวิต" เปิดผลศึกษาเปรียบเสมือนยาอายุวัฒนะ ป้องกันโรคนี้ได้?

แสงแดด ช่วยชีวิต เปิดผลศึกษาเปรียบเสมือนยาอายุวัฒนะ ป้องกันโรคนี้ได้?

"แสงแดด ช่วยชีวิต" หมอธีระวัฒน์ เปิดผลศึกษา เปรียบเสมือนกับเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้มีชีวิตยืนยาวขึ้นและยังสามารถป้องกันโรคหัวใจและเส้นเลือดทั้งร่างกาย

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หรือ “หมอธีระวัฒน์” ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก


โดยระบุว่า "แสงแดด…ช่วยชีวิต หมอดื้อ

เราคงจะได้คำขวัญของ “แสงแดด เดินวันละ 10,000 ก้าว และเข้าใกล้มังสวิรัติ” ก็จะอายุยืน สุขภาพดี ไม่มีโรค ไปทั้งหมด เรื่องแสงแดดและรังสีอัลตราไวโอเลต หรือยูวี ในสมัยก่อน ตั้งแต่ปี 1928 ที่พบว่า รังสียูวี ทำให้เกิดมะเร็งของผิวหนังได้เลยทำให้มีการหลีกเลี่ยงแสงแดดกันมาตลอด ตราบจนกระทั่งประมาณปี 1980 เป็นต้นมา ที่เริ่มเป็นที่ประจักษ์ว่าแสงแดดมีคุณประโยชน์นานัปการ 


โดยการติดตาม รวมทั้งมีการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า แสงแดดเปรียบเสมือนกับเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้มีชีวิตยืนยาวขึ้นและยังสามารถป้องกันโรคหัวใจและเส้นเลือดทั้งร่างกาย รวมกระทั่งถึงสาเหตุการตายต่างๆจนถึงมะเร็ง และระบบภูมิคุ้มกันที่เป็นชนิดฉับพลันออกฤทธิ์ทันทีแต่ไม่เจาะจง (innate) กับชนิดที่ออกฤทธิ์ช้าแต่มีความจำเพาะมากกว่า (adaptive immunity) 


ผู้ชายจะได้รับอิทธิพลจากแสงแดดอย่างชัดเจนมากกว่าผู้หญิง และมีความอยากอาหารมากกว่า โดยไปตามระดับของฮอร์โมน ghrelin โดยตัวที่ผลิต ฮอร์โมนนี้มาจากเซลล์ adipocytes ที่ผิวหนัง เมื่อกระทบกับแสงยูวีบี โดยผ่านกลไกของ p53 หรือที่เราเรียกว่า เป็นโปรตีนที่เป็นเทวดาอารักษ์ของจีโนม (guardian of genome)


ควบคุมวงจรชีวิตของเซลล์ให้มีการซ่อมแซม ดีเอ็นเอ เมื่อเจอกับอันตราย และที่จะก่อมะเร็ง รวมทั้งความแก่ชรา และในความสั้น ยาวของเส้นทีโลเมียร์ (telomere) ที่เกี่ยวกับอายุ และควบคุมความเสถียรของยีน (genomic stability) และถ้ามีความเสียหายเกินที่จะเยียวยาได้ ก็จะกำหนดให้เซลล์ตาย (programmed cell death) และยังเกี่ยวพันกับ ระบบการควบคุม การคลี่และบิดเกลียวของโปรตีน ที่จะเป็นพิษทำให้เซลล์ตาย (unfolded protein response และ ubiquitinylation)


p53 จะปฏิบัติตัวเป็นฟัลครัม หรือ เหมือนจุดคานงัดไม้กระดก และไม่เพียงแต่เป็นเทวดาอารักขา การอยู่หรือตายของเซลล์ และการป้องกันการเกิดเนื้องอกหรือมะเร็ง ยังมีตัว ghrelin เป็นตัวกระตุ้นให้มีการซ่อมแซมดีเอ็นเอที่เสียหายไป


วงจรของผิวหนัง-ฮอร์โมนยังเชื่อมโยงประสานกับสมองผ่านทางกลูตาเมต ซึ่งกระตุ้นการเรียนรู้ของสมอง และ ghrelin ยังมีการเชื่อมกับระบบที่ทำให้ผ่อนคลายความวิตกกังวล รวมกระทั่งปกป้องสมองจากภยันตรายต่างๆ มีฤทธิ์ในการต่อต้านการอักเสบช่วยปกป้องหัวใจ และควบคุมความดันทำให้ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคทางหัวใจและเส้นเลือด รวมกระทั่งบรรเทาภาวะดื้ออินซูลิน ในโรคเมตาบอลิกซินโดรม ต่างๆ และระบบภูมิคุ้มกัน(รายงานในวารสาร Nature Metabolism 2022 )"






ที่มา ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ