"ภาวะเลือดเป็นกรด" ลดได้แค่ปรับพฤติกรรมการกิน
ภาวะเลือดเป็นกรด โรคที่ใครๆ ก็สามารถเป็นได้ เพราะเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพฤติกกรรมการทานอาหาร บวกกับการใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ ทำให้ร่างกายสะสมของเสียในเลือด จนเลือดเปลี่ยนสภาพมาเป็นกรด
เลือดเป็นกรด (Acidosis) คือ ภาวะที่มีของเสียในเลือดมากเกินไป จนเลือดเปลี่ยนสภาพจากความเป็นด่างกลายเป็น"กรด" ทำให้เซลล์และอวัยวะในร่างกายเกิดความเสื่อม โดยในทางการแพทย์จะยึดเกณฑ์ค่าpH ของเลือดที่วัดได้ต่ำกว่า 7.35 ลงมาถึงจะจัดว่าร่างกายมีภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งอาจเกิดได้จากสภาวะหรือโรคต่าง ๆ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
ความเป็นกรดด่างของเลือดหรือของเหลวในร่างกายวัดได้จากค่าพีเอชที่เป็นตัวช่วยให้การทำงานของเซลล์ในระบบต่าง ๆ และการขนส่งออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อเป็นปกติ โดยค่าpHเลือดของคนปกติจะอยู่ในช่วง 7.35-7.45 ส่วนใหญ่จะมีความเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นการทำงานของปอด และการควบคุมความสมดุลของเกลือแร่และภาวะกรดด่างในร่างกายจากการทำงานของไต
ทั้งนี้ วิถีชีวิตปัจจุบันที่เร่งรีบพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม การออกกำลังกายไม่เพียงพอ หรือความเครียดเรื้อรังสะสม ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร่างกายเสียสมดุลความเป็นกรด-ด่างอยู่เสมอ หากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่โรคร้าย ทั้งเบาหวาน หัวใจ มะเร็ง จึงควรรู้เท่ากันสัญญาณต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อเร่งปรับพฤติกรรมให้ร่างกายกลับสู่ภาวะสมดุลโดยเร็ว จึงจะมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย
การดูแลรักษาสุขภาพให้ห่างไกลจากภาวะเป็นกรด เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีความเป็นกรดสูง
ตัวอย่างของอาหารที่มีความเป็นกรดสูง อย่างเช่น...
- อาหารประเภทแป้งและคาร์โบไฮเดรต โดยเฉพาะอย่างยิ่งแป้งที่ผ่านการขัดสีแล้วจะยิ่งมีความเป็นกรดมากขึ้น
- อาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล โดยเฉพาะน้ำตาลทรายขาว ขนมหวาน น้ำอัดลม
- ของหมักดอง น้ำส้มสายชู
- น้ำชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่แอลกอฮอล์
- เนื้อสัตว์ทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ รวมไปถึงนมวัว
- อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผงชูรส ลืมผสมอาหาร อาหารที่ทอดด้วยน้ำมัน
นอกจากนี้ ความเครียดหรือการนอนหลับไม่เพียงพอยังอาจทำให้ร่างกายเกิดสภาวะเป็นพิษและเสียสมดุลได้ ปัจจุบันแม้จะยังไม่มีข้อสรุปความเครียดเพิ่มปริมาณของกรดในร่างกายได้จริงหรือไม่ แต่มีงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะกรดเกิน กระเพาะอาหารหรือกรดไหลย้อนแย่ลง เพราะความเครียดจะทำให้ร่างกายรับภาวะความเป็นกรดได้รวดเร็วมากขึ้น
อาการของผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดเป็นกรด จะทำให้รู้สึกอ่อนล้า ง่วงซึม เหนื่อยง่าย หายใจสั้น ปวดหัว และเบื่ออาหาร
สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดเป็นกรด นอกจากการรักษาตามที่แพทย์วินิจฉัย ยังต้องดูแลตัวเองเหมือนกับผู้ป่วยที่พบภาวะกรดเกินชนิดอื่นๆ วิธีง่ายๆ คือการทานอาหารที่ช่วยเพิ่มความเป็นด่างให้กับร่างกาย ได้แก่
- ข้าวไม่ขัดสีจำพวกข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ
- เนื้อปลา อาหารทะเล
- เมล็ดพืชต่าง ๆ เป็นต้นว่า อัลมอนด์ แฟลกซ์ซีด เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ลูกเดือย ลูกบัว ข้าวฟ่าง งาดำ งาขาว ข้าวโอ๊ต หัวมัน เช่น มันไข่ มันเลือด
- ผักและผลไม้ คุณสุพิศแนะนำให้กินผักใบเขียว ผักบุ้ง ปวยเล้ง ขึ้นฉ่าย ฟักทอง กระเทียม มะเขือเทศ ข้าวโพด สาหร่าย แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง พืชตระกูลกะหล่ำ บรอกโคลี เยื่อไผ่ อะโวคาโด แอปเปิล แตงโม กล้วย ลูกแพร์ องุ่นม่วง
แหล่งที่มาข้อมูล: sansuk.net, ihealzy
Facebook: https://web.facebook.com/TNNHealth/posts/301752092081530
ขอบคุณภาพ: Pixabay
—————
.
ติดตาม TNN Health ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่
Website : https://www.tnnthailand.com/
Youtube : https://bit.ly/TNNHealthYoutube
TikTok : https://bit.ly/TNNHealthTikTok
Line @TNNONLINE : https://lin.ee/4fP2tltIo
หรือดูรายการ Live ได้ทาง https://www.facebook.com/TNN16LIVE