รักแห่งสยาม 17 ปีกับประเด็นชายรักชายที่ต้องหลบซ่อน
เข้าสู่ Pride Month เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศทั่วโลก หรือที่รู้จักในนาม "LGBTQ+"
แม้ตอนนี้ทั่วโลกต่างขานรับเปิดใจกว้าง รับความหลากหมายทางเพศสภาพได้มากขึ้น จนมีหนังหรือซีรส์ ทำนองนี้ออกมาเกลื่อนตลาด
แต่หากย้อนไปหลายปีก่อนต้องบอกว่าหนังลักษณะ "ไม้ป่าเดียวกัน" นั้น ยังถือเป็นสิ่งที่ต้องหลบซ่อน ยังไม่ถูกจริต และหลายคนยังเข้าไปไม่ถึงก้นบึ้งของความหลากหมายที่ว่านี้ หากจะมีหนังหรือซีรีส์เรื่องใดที่ผลิตออกมาในยุคก่อน ต้องบอกว่าถือเป็นความกล้า ที่ค่อนข้าง "บ้าบิ่น" เลยทีเดียว
แต่ในปี 2550 ในยุคที่หนังชายรักชาย หรือ หญิงรักหญิง ในบ้านเรายังไม่เปิดกว้าง มีผู้กำกับฯ ไฟแรง ที่ชื่อว่า ‘มะเดี่ยว ชูเกียรติ’ ที่ทำหนังรักอมตะที่ชื่อว่า "รักแห่งสยาม" ออดกมา ถือเป็นความท้าทายตั้งแต่การโปรโมทจนถึงหลังฉาย หลังหนังผ่านสายตาคนดู ความเห็นแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ทั้งฝ่ายที่ชื่นชอบ รับได้ และฝ่ายที่คิดว่าเป็นหนังรักวัยรุ่นธรรมดา แต่เหมือนถูกหลอกให้เข้าไปชมหนังวายดีๆ นี่เอง
เรื่องนี้ถือเป็นการแจ้งเกิดนักแสดงวัยรุ่นหน้าใหม่อย่าง ‘มาริโอ้ เมาเร่อ’ และ ‘วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล’ รวมถึงวงดนตรี August ภายในระยะเวลาอันสั้น "รักแห่งสยาม" น่าจะเป็นหนังแมสเรื่องแรกๆ ที่จุดกระแส Boy’s Love จนฮิตฟีเวอร์ในบ้านเราในปัจจุบัน
"รักแห่งสยาม" เป็นหนังเรื่องแรกๆ ที่เล่าชีวิตความรักของเพศเดียวกันได้อย่างเป็นมนุษย์และมีมิติ ยืนอยู่บนพื้นฐานของชีวิตปุถุชน มีความลื่นไหล ไม่ได้แฟนตาซี ไม่ได้ทำเพื่อจิ้น ไม่ได้เล่าให้ตัวละครเป็นตัวตลกเพื่อสร้างสีสัน และตอนจบอาจไม่ได้ Happy Ending เสมอไป
ถือเป็นหนังที่นำเสนอความหลากหลายทางเพศ ที่กล้ามากในการนำเสนอ และแน่นอน หนังประสบความสำเร็จทั้งแง่รายได้ คำวิจารณ์ และรางวัลรวมไปถึงการแจ้งเกิดครั้งใหญ่ ทั้งตัวนักแสดง และตัวผู้กำกับฯ เอง
ภาพจาก :สหมงคลฟิล์ม
แม้ตอนนั้นจะยากเกินความเข้าใจของคอหนัง แต่ด้วยองค์ประกอบที่ดี ทั้งตัวแสดง บท และโทนของเรื่อง หากกลับมาดูอีกตอนนี้ ในวันที่อะไรๆเปลี่ยนไป เชื่อว่า "รักแห่งสยาม" จะกลับเข้ามาอยู่ในหัวใจ คนมีความรัก ในว่าจะเพศใด สภาพใด ได้มากกว่าเมื่อ 17 ปีก่อน ได้อย่างแน่นอน
ข่าวแนะนำ