พณ. บุกท่าเรือยักษ์ใหญ่ ”Port of Long Beach“ ดันขนส่งสินค้าเข้าสหรัฐเพิ่ม
พาณิชย์ บุก Port of Long Beach ท่าเรือยักษ์ใหญ่นำเข้าสินค้าไทยอันดับหนึ่งในสหรัฐฯ เปิดทางส่งออกสินค้าไทยเข้าสหรัฐฯเพิ่ม
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 เวลา 12.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นนครลอสแอนเจลิสสหรัฐอเมริกา) ณ Port of Long Beach
นายวรวงศ์ รามางกูร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ ได้รับมอบหมายจากนายพิชัย นริพทะพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในภารกิจ นครลอสแองเจลิส สหรัฐฯ เข้าเยี่ยมและหารือ กับผู้บริหาร Port of Long Beach โดยมีบอนนี่ โลเวนธาล ประธานคณะกรรมการคณะกรรมาธิการท่าเรือ///ดร. โนเอล ฮาเซกาบา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ท่าเรือลองบีช ท่าเรือแห่งทางเลือก ///นายรัสเซลล์ มาฮาเคียน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และนางสาวเมเชลล์ เอ็นกิน ผู้บริหาร Port of Long Beach ท่าเรือที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน ที่มีตู้สินค้าผ่านเข้าออกมากที่สุดของประเทศสหรัฐฯ และมากเป็นอันดับ 9 ของโลก โดยมีนายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางสาวสุนันทา กังวาลกุลกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และคณะเข้าร่วม เพื่อวางแผนในการส่งออกสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ และอำนวยความสะดวกให้สินค้าไทยเข้าสหรัฐฯเพิ่ม
โดยผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า Port of Long Beach เป็นท่าเรือที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน มีท่าเทียบเรือสำหรับขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ 6 ท่า ท่าสำหรับขนถ่ายน้ำมันดิบ 5 ท่า เครนยกตู้คอนเทนเนอร์ 72 เครน มีสินค้าผ่านเข้าออกคิดเป็นมูลค่าประมาณ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จึงต้องมาหาโอกาสในการเพิ่มความร่วมมือ เพื่อเพิ่มปริมาณตู้สินค้าระหว่างไทยกับท่าเรือ ซึ่งจะทำให้การส่งออกสินค้าจากไทยไปยังสหรัฐฯ ทำได้ดีขึ้น
สินค้าที่นำเข้าจากไทยมากที่สุด 5 อันดับคือ ยางและผลิตภัณฑ์ 74,762 ตู้ฯ ///เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หม้อไอน้ำ 68,354 ตู้///เครื่องจักรไฟฟ้า 55,324 ตู้ฯ ///เฟอร์นิเจอร์18,163 ตู้ฯ และ รถยนต์และส่วนประกอบ 14,728 ตู้ฯ
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการโครงการลงทุนพัฒนาระบบขนส่งสินค้าทางรถไฟระหว่างท่าเรือกับจุดหมายปลายทาง เพื่อลดความแออัดในท่าเรือ และรองรับปริมาณการขนถ่ายตู้สินค้าที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต และโครงการในการพัฒนาให้ท่าเรือ Long Beach กลายเป็นท่า Zeero (Zero Emission, Energy Resilient Ops) รวมไปถึงขอทราบสถานการณ์การนำเข้าสินค้าของท่าเรือในฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศไทย และแนวทางการแก้ปัญหาและสถานการณ์ความแออัดของท่าเรือ เพื่อนำมาวางแผนในการส่งออกสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ต่อไป
ที่มาข่าว :tnn
ข่าวแนะนำ