TNN กกร. หวั่นสินค้าจีนถล่มไทย แนะรัฐเพิ่มแต้มต่อ SME ไทยถึง 15%

TNN

เศรษฐกิจ

กกร. หวั่นสินค้าจีนถล่มไทย แนะรัฐเพิ่มแต้มต่อ SME ไทยถึง 15%

กกร. หวั่นสินค้าจีนถล่มไทย แนะรัฐเพิ่มแต้มต่อ SME ไทยถึง 15%

กกร. หวั่นสินค้าจีนถล่มไทยไม่หยุด ห่วงแพลตฟอร์มจีน เทมู (TEMU) ซ้ำเติมอุตสาหกรรมไทย แนะรัฐช่วยเพิ่มแต้มต่อ SME ไทย ถึงร้อยละ 15 อย่างน้อย 2 ปี

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย สมาคมธนาคารไทย 


กรณีดุลการค้าของจีน ที่ล่าสุด 6 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม-มิถุนายน) นั้นมีการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.12 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มูลค่า 37,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 


ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าจากจีนติดลบ 19,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น ซึ่งเป็นการขาดดุลเพิ่มขึ้นกว่า ร้อยละ 15.66


ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตจำนวน 23 อุตสามหกรรมจาก 46 อุตสาหกรรมไทยแล้ว โดยที่เพิ่มเข้ามา 2 อุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และอุตสาหกรรมหนัง ขณะที่อุตสาหกรรมที่ดีขึ้น หมายถึง การตีตลาดของสินค้านำเข้าจากจีนลดลง คือ อุตสาหกรรมรองเท้า 


ขณะเดียวกัน ยังมีเรื่อง ของแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์จากจีนที่เปิดใหม่ คือ เทมู (Temu) ที่จะส่งผลกระทบโดยตรงอยากหนัก กับภาคอุตสาหกรรมไทย เนื่องจาก เทมูเป็นการสินค้าส่งตรงจากโรงงาน ไม่มีคนกลาง ราคาถูก


และขณะนี้ขยายมาถึงการขายปลีก 1-2 ชิ้นก็สั่งได้แล้ว แต่ยังคงราคาที่มาจากหน้าโรงงานด้วย 


และจะเห็นได้ว่า TEMU เข้าไปถล่มเจ้าตลาดสหรัฐอย่าง อมาซอน(AMEZON) โดยแค่ 1 ปีกว่ามีผู้เข้าไปใช้บริการ 51 ล้านคน ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาทั่วโลกและทางกกร. กำลังจับตาดูอยู่


ดังนั้นจึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะภาครัฐ ต้องหามาตรการที่เหมาะสมในการสกัด อาทิ ด้านนำเข้า กระทรวงการคลัง โดยกรมศุลกากร ก็ควรต้องมีความเข้มงวดในการตรวจสินค้าที่ผ่านเข้ามาในประเทศ 


และในระดับถัดไปคือ มาตรการด้านภาษี ที่เป็นธรรม เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบในประเทศเสียเปรียบ 


รวมถึงอีกมาตรการสำคัญ คือ การสนับสนุนการใช้สินค้าในประเทศ ผ่าน โครงการ เมด อิน ไทยแลนด์ (Made in Thailand )โดยให้แต้มต่อหน่วยงานรัฐในการจัดซื้อจัดจากสินค้าในประเทศ เพิ่มแต้มต่อให้กับสินค้าไทย จากปัจจุบัน ร้อยละ 5 อยากให้เพิ่มเป็นร้อยละ 5 - 15 และคงระยะเวลาอย่างน้อยถึง 2 ปี 

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ