เชียงใหม่ล้ำ! มุ่งเป็นศูนย์กลาง E-commerce ข้ามแดน ตอนที่ 4 เช็คโครงสร้างพื้นฐานเชียงใหม่ พร้อมส่งของไปจีน?
หากต้องการส่งสินค้าทางบกจากเชียงใหม่ไปยังจีนโดยต้องการใช้ระบบรางรถไฟความเร็วสูง จำเป็นต้องไปขึ้นสินค้าที่สถานีเมืองบ่อหานในจีน ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 500 กิโลเมตร ไม่ไกลเลยเมื่อเทียบกับการขนส่งสินค้าไปลงเรือผ่านทางท่าเรือแหลมฉบังที่ชลบุรี และนำขึ้นท่าที่ใหญ่อย่างเซี่ยงไฮ้ก่อนเข้าสู่ระบบรางในจีน จะเห็นได้ว่าเชียงใหม่มีความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ในตอนที่ 4 นี้จะไปดูกันว่า เชียงใหม่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนทั้งการสิ่งซื้อสินค้า และการขนส่งสินค้าอย่างไรบ้าง
เชียงใหม่ล้ำ! มุ่งเป็นศูนย์กลาง E-commerce ข้ามแดน
ตอนที่ 4 เช็คโครงสร้างพื้นฐานเชียงใหม่ พร้อมส่งของไปจีน?
รวบรวมข้อมูล แปล และเรียบเรียง
โดย ธัญวรัตน์ ถาวรโชติวงศ์
เชียงใหม่ไม่ได้ไกลจากจีนนัก หากมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ดีขึ้น การสิ่งและการส่งสินค้าจะสะดวกและรวดเร็วขึ้น สร้างความประทับใจให้ลูกค้าชาวจีนได้เพิ่มขึ้น และขณะนี้เชียงใหม่กำลังมีการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านออนไลน์และโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม ซึ่งเป็นประโยชน์กับการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนในอนาคตอย่างแน่นอน
3.1 โครงสร้างพื้นฐานด้าน อินเทอร์เน็ตและ 5 G ของเชียงใหม่
เชียงใหม่มีโครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมทั้งในและนอกเมือง รวมถึงในพื้นที่ภูเขา จากการดำเนินยุทธศาสตร์ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ตาม แผน Digital Thailand หรือ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีระยะดำเนินการตั้งแต่ 2561 -2580
นอกจากนี้เมื่อเราดูผ่าน www.nperf.com ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ เช่น True หรือ Dtac ก็มีการยกระดับเครือข่าย 4G และ 5 G ครอบคลุมทั่วทั้งจังหวัด โดยเฉพาะในเขตเมือง ที่นอกจากจะมีประชาชนในพื้นที่ ปัจจุบันมี Digital Nomad เข้ามาใช้เชียงใหม่เป็นสถานที่ทำงานจากระยะไกลเป็นจำนวนมาก โดย Digital Nomad เหล่านี้เดินทางเข้ามายังเชียงใหม่ตั้งแต่ระหว่างการระบาดของโควิด 19
3.2 สถาบันส่งเสริมการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนในเชียงใหม่
คุณจารุวัฒน์ เตชะวุฒิ กรรมการ หอการค้าเชียงใหม่ เผยว่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้ง Chinese Intelligence Center ศึกษาการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนกับจีนและให้คำปรึกษาผู้ประกอบการในด้านนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการในเชียงใหม่ได้รับความรู้ เข้าใจพฤติกรรมของชาวจีน พฤติกรรมของชาวอาเซียนมากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศให้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
“มช. มีศูนย์ชื่อ Chinese Intelligence Center ซึ่งมีความชำนาญมากเลย ผู้ประกอบการสามารถนัดไปขอคำปรึกษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
- Information flow เช่นทางคนจีนจะชอบเสพย์สื่อแบบไหน อะไรเป็น Platformที่สะดวกในการที่จะเอาสินค้าไปวางบน Platform
- Payment Flow เราจะจ่ายเงิน ลูกค้าจะจ่ายเงินให้เข้าใจได้บ้างก็ educate คนให้เข้าใจ จะทำยังไงให้ชำระเงินค่าสินค้าได้อย่างรวดเร็ว
- และก็ Physical Flow ซึ่ง Physical Flow นี้เอง สินค้าเราออกทางเชียงของ ไปที่ห้วยทราย และไปที่บ่อหาน และก็ต่อไปถึงคุนหมิง
อันนี้ก็เป็นองก์ความรู้ที่ทาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พร้อมที่จะเผยแพร่ให้ผู้ประกอบการในการที่จะประกอบกิจการต่างๆ กับผู้ค้าในจีน อันนี้ก็เป็นสิ่งที่สามารถเอาไปเรียนรู้ได้ครับ”
4. ระบบ Logistic และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมีการพัฒนาไม่หยุดยั้ง
4.1 ด้านบริการ logistic
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกก์ ภทรธนกุล หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเผยว่า ในเชียงใหม่มีสาขาใหญ่ของไปรษณีย์ไทยที่พร้อมจะส่งสินค้าข้ามแดนให้แก่ผู้ค้าออนไลน์ โดยไปรษณีย์ไทยมีเครือข่าวขนส่งที่ครอบคลุม และเชี่ยวชาญการส่งพัสดุไปต่างประเทศโดยมีการทำงานร่วมกับกรมศุลกากรมาโดยตลอด นอกจากจากการจัดส่งแล้วไปรษณีย์ไทยยังให้บริการด้าน Fullfilment ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ค้าออนไลน์ในการ ให้บริการและจัดการคลังสินค้า แพ็คสินค้า และรวมถึงร่วมมือกับพันธมิตรในการจัดส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ
“ไปรษณีย์เนี่ยเราก็ไปร่วมมือกับ JWD แล้วก็ไปร่วมมือกับ Flash ครับ ออกมาเป็นบริษัทชื่อ FUZE POSTให้บริการด้านการขนส่งควบคุมอุณหภูมิครับ จะในประเทศนอกประเทศท่านบอกมาครับ ของบางอย่างเนี่ยควบคุมอุณหภูมิคุณภาพมันจะไม่ดี อาหารก็ดีครับ อาหารสัตว์ก็ดีครับ เครื่องสำอางก็ดี อาหารเสริมก็ดี และอื่นๆ”
4.2 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ปัจจุบันเชียงใหม่มีแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางอากาศและทางบก เพิ่มศักยภาพด้านการขนส่งสินค้าและคน การขนส่งจำเป็นต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งวิธีการขนส่งและเส้นทางที่ใช้ สิ่งนี้จะช่วยให้การขนส่งง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และประหยัดค่าขนส่งอีกด้วย
4.4.1 สำหรับทางบก
เมื่อดูจากแผนที่จะพบว่า เชียงใหม่อยู่ไม่ไกลจากจีน
และแม้เชียงใหม่จะไม่มีด่านการค้าชายแดนขนาดใหญ่ แต่ก็ยังสามารถเชื่อมต่อเข้าไปยังเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้าสู่จีนได้ไม่ยากนัก
เส้นทางถนน
- เส้นทางเดิมที่ใช้ในการส่งสินค้าและเดินทางเข้าจีนทางบก เช่น
เส้นทาง R3A
จากเชียงใหม่เข้าเส้นทางนี้ได้ทางจังหวัดเชียงราย เส้นทางนี้ออกด่านชายแดนที่ อ. เชียงแสน มุ่งหน้าไปยังบ่อเต็นชายแดนสปป.ลาว และเข้าไปยังจีนที่เมืองบ่อหาน โดยจะมีระยะทางถนนประมาณ 546 กิโลเมตร
เส้นทาง R3B
เป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่ออกจากไทยที่ อ.แม่สาย จ. เชียงราย ผ่านไปยังเมียนมา ก่อนไปถึงปลายทางที่มณฑลยูนนานในจีน
การพัฒนาเส้นทางราง
ข้อด้อยของเชียงใหม่ในขณะนี้คือยังไม่มีโครงการรถไฟรางคู่ที่ใช้ส่งสินค้าเข้าสู่ระบบรางที่ปลายทางเป็นชายแดนที่ จ. เชียงราย ได้โดยตรง แต่ในอนาคต เชียงใหม่จะมีโครงการรถไฟรางคู่ที่เชื่อมกับสถานีเด่นชัยซึ่งจะทำให้การส่งสินค้าทางรางจากเชียงใหม่ไปถึงยังชายแดน ที่ อ.เชียงแสน ซึ่งเป็นด่านหลักในการส่งสินค้าต่อไปยังจีน
อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการพัฒนาเส้นทางรางทั้งทางฝั่งไทย ลาว และจีน ซึ่งทำให้เกิดเส้นทางขนส่งสินค้า และการเดินทางแบบ Multi Channel
เช่น โครงการรถไฟรางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ซึ่งช่วยในการขนส่งสินค้าทางรางไปถึงยังเชียงรายสะดวกขึ้น โดยในขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้าไปร้อยละ 9.4 ของโครงการทั้งหมด โดยเส้นทางนี้จะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2571
โดยที่เชียงรายมีด่านชายแดนเชื่อมต่อไปยัง สปป.ลาว และเดินทางด้วยถนน R3A ไปจนถึง บ่อเต็น ที่เป็นเมืองชายแดน สปป.ลาว ติดกับจีน โดยจากเมืองบ่อเต็น สามารถเชื่อมต่อเข้าไปยังจีนได้ 2 วิธี คือ ทางถนนสาย R3A และทางรางผ่านรางรถไฟ สปป.ลาว-จีน ที่สถานีรถไฟบ่อเต็น หรือ นำสินค้าขึ้นรางตรงชายแดนฝั่งจีน ที่สถานีรถไฟความเร็วสูงบ่อหาน
โดยที่สถานีบ่อหานเป็นสถานีใหญ่ ที่นี่มีด่านศุลกากรสำหรับสินค้าส่งออกปกติ และ มีช่องทางเฉพาะสำหรับสินค้าจากการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน
ดังนั้นหากเส้นทางรางจากเชียงใหม่ไปถึงเด่นชัยสำเร็จ เชียงใหม่ก็สามารถนำสินค้าเข้าสู่ระบบการขนส่งแบบ Multi Channel นี้ ได้ การชิปปิ้ง ไปยังจีนทางบกก็จำทำได้เร็วขึ้นด้วย
4.4.2 สำหรับทางอากาศ
คุณจุลนิตย์ วังวิวัฒน์ ประธานกรรมการ หอการค้าเชียงใหม่เผยว่า เชียงใหม่วางเป้าหมายเป็นศูนย์กลางด้านการบินของภาคเหนือ ด้วยการพัฒนาสนามบินนานาชาติเชียงใหม่ซึ่งเป็นสนามบินเดิม และการพัฒนาโครงการสนามบินล้านนา ซึ่งเป็นสนามบินใหม่
การพัฒนาสนามบินนานาชาติเชียงใหม่
มีการวางแผนพัฒนาเป็นระยะ โดยในขณะอยู่ระหว่างการพัฒนาระยะที่ 1
ระยะที่ 1 นี้
- มีการผลักดันให้สนามบินเปิดบริการ 24 ชม. ได้
- และขณะนี้มีการเพิ่มเที่ยวบินตรงมากขึ้น
โดยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่เปิดเผยว่า จะมีเที่ยวบินตรงจากจีนและไต้หวันเพิ่มจากเดิม รวมเป็น 11 เส้นทาง จากเดิม 7 เส้นทาง
สำหรับระยะที่ 2 ซึ่งจะเริ่มในปีถัดไป
- จะมีการขยายเทอร์มินัลเพิ่มขึ้น
ซึ่งอาจจะมีการแยกเทอร์มินัลสำหรับการบินในประเทศ และ การบินต่างประเทศออกอย่างชัดเจน
- ขยับขยายเส้นทางเข้าออกสนามบิน ให้คนเข้าและออกได้สะดวกขึ้น
- จัดพื้นที่จอดรถให้ชัดเจน
- วางแผนสร้างจุดเช็กอินนอกสนามบิน พื้นที่เช็กอินนี้จะช่วยลดความแออัดในเทอร์มินัลของนักท่องเที่ยวที่รอเดินทาง
โครงการสนามบินล้านนา
ประธานหอการค้าเชียงใหม่เผยอีกว่า เชียงใหม่มีความตั้งใจให้สนามบินล้านนาเป็นเหมือนสนามบินสุวรรณภูมิ คือ เป็นสนามบินระดับนานาชาติ ทั้งในด้านการขนส่งผู้โดยสาร และ การขนส่งสินค้าไปทั่วโลก
เมื่อสนามบินล้านนาแล้วเสร็จ สนามบินเดิมอย่างสนามบินนานาชาติเชียงใหม่ จะใช้รองรับการบินภายในประเทศและในภูมิภาคใกล้เคียงเป็นหลัก เช่นเดียวกับสนามบินดอนเมือง
โครงการสนามบินล้านนาวางแผนให้อยู่ในพื้นที่นอกเมืองเชียงใหม่ ดังนั้นจำเป็นจะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่นรองรับ เช่น ถนน มอเตอร์เวย์ เพื่อเชื่อมการเดินทางจากพื้นที่อื่น เช่น จากเชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูน โดยไม่ต้องผ่านเข้ามาในตัวเชียงใหม่ เพื่อลดความแออัดของพื้นที่
นอกจากนี้จะมีผลักดันให้เกิดระบบขนส่งมวลชน เช่น รถไฟฟ้า หรือรถราง เพื่อขนส่งผู้โดยสารระหว่างสนามบินทั้ง 2 แห่ง เพื่อให้เชียงใหม่เป็น Hub ในเรื่องของการบินอย่างแท้จริง
อุปสรรค์เบื้องหน้าในการพัฒนาเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน
จะเห็นได้ว่า ปัจจัยสนับสนุนทั้ง 4 ข้อ การท่องเที่ยว ,สินค้า ,การส่งเสริมธุรกิจดิจิทัลอย่างจริงจัง และ การพัฒนาระบบ Logistic ทำให้เชียงใหม่ในขณะนี้พร้อมจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจ ด้านการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนที่ใกล้จีนที่สุด
อย่างไรก็ตาม คุณจุลนิตย์ วังวิวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ให้ความเห็นถึงอุปสรรคของผู้ประกอบการไทยที่ต้องการขายสินค้าผ่านช่องทาง การค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน อาธิ
- จีนมีกฎระเบียบที่ค่อนข้างเข้มงวด โดยเฉพาะการขายสินค้าที่เป็นผลไม้
- อุปสรรคบางเรื่องจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากภาครัฐของไทยในการแก้ปัญหา
ในข้ออุปสรรค เรื่องการเปิดหน้าร้านบนแพล็ตฟอร์มออนไลน์จีน ทางหอการค้าเผยว่า เพิ่งมีการพูดคุยกับ Alibaba และ taobao ว่าต้องการเปิดเป็น Showroom ในพื้นที่หัวเมืองของจีนก่อน ให้คนจีนเองได้สัมผัสกับสินค้าของไทย และจากนั้นจะเริ่มค้าขายผ่านระบบ e commerce
โดยสินค้าที่จะวางในโชว์รูม เช่น
- งานหัตถกรรม
- อาหาร ผลไม้หรือผลไม้อบแห้ง
- ยาดม ยาหม่อง
- สมุนไพร และผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
และนอกจากนี้ ทางภาครัฐก็มีความพยายามที่จะผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าไปขายสินค้าในตลาดออนไลน์ได้สำเร็จ โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ผู้แทนการค้าไทยได้หารือกับนายJimmy Chen รองประธานบริษัท Tencent Cloud International และผู้บริหารระดับสูงของบริษัท Tencent ถึงความร่วมมือในการใช้ Social commerce (หรือการซื้อขายผ่าน platform สื่อสังคมออนไลน์) เพื่อส่งเสริมสินค้าไทย และ soft power ไทยให้ไปถึงยังลูกค้าชาวจีนผู้ใช้ Wechat ที่มีกว่า 1,400 ล้านคน โดยในปัจจุบันการ ไลฟ์สตรีมขายสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์เป็นที่นิยมมาก สร้างกำไรได้ดี และมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า แพล็ตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์รูปแบบเดิม
การค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน สร้างโอกาสในการขายสินค้าในต่างประเทศให้ง่ายขึ้น และช่วยตอบโจทย์ในการขับเคลื่อนธุรกิจของเชียงใหม่แม้นต้องพบวิกฤตในอนาคตเหมือนการระบาดของโควิด-19 หรือในช่วงที่การท่องเที่ยวอยู่ในขาลง การค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนจึงสามารถเป็นเครื่องยนต์ที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจเดิมในเชียงใหม่ ช่องทางนี้เป็นช่องทางที่มีอนาคต เราจะเห็นได้จาก ด้วยอัตราเติบโตกว่าร้อยละ 15.6 ของการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนของจีนที่เป็นตลาดค้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเวลานี้
แต่อุปสรรค์ก็มีอยู่ เช่น แพล็ตฟอร์มที่ใช้ตั้งร้านค้าที่ลูกค้าต่างประเทศจะมองเห็นสินค้าได้จริง ความกังวลเรื่องสินค้าปลอมที่เป็นPain Pointของลูกค้าจีน และต้นทุนการขายสินค้าผ่านออนไลน์ข้ามพรมแดนที่อาจไม่ได้มีราคาต่ำอย่างที่คิด และรวมถึงกฎระเบียบในการนำเข้าสินค้า ฯลฯ
ภาครัฐ และเอกชนจำเป็นต้องร่วมมือกันในการแก้ไขข้ออุปสรรคเหล่านี้ไห้สำเร็จ ซึ่งจะเป็นการช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไม่เพียงแค่ในเชียงใหม่แต่ทั้งหมดในไทยให้สามารถเติบโตในช่องทางการค้าที่มีอนาคตและมีอัตราเติบโตสูงในเวลานี้
#เชียงใหม่ #Ecommerce #ค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน #CBEC #crossborderecommerce #ส่งของไปจีน #จีน #เส้นทางบก #ทางถนน #สนามบินนานาชาติเชียงใหม่ #โครงการสนามบินล้านนา #ระบบส่งสินค้า #ไปรษณีย์ไทย
รวบรวมข้อมูล แปล และเรียบเรียง
โดย ธัญวรัตน์ ถาวรโชติวงศ์
------------------------
เชียงใหม่ ,Ecommerce ,ค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน ,CBEC ,crossborderecommerce ,ส่งของไปจีน ,จีน ,เส้นทางบก ,ทางถนน ,สนามบินนานาชาติเชียงใหม่ ,โครงการสนามบินล้านนา ,ระบบส่งสินค้า ,ไปรษณีย์ไทย
--------------------------
เอื้อเฟื้อข้อมูล
หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
China Intelligence Center(CIC) 泰国商务智能中心 CAMT DIGITAL SCHOOL,CHIANG MAI UNIVERSITY (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
-------------------------
ที่มาข้อมูลทางออนไลน์
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
RCEP and Cross-border E-commerce Opportunities for ASEAN Countries
http://www.asean-cn.org/index.php?m=content=index&a=show&catid=202&id=3280
https://www.chiangraiekkachai.com/extra_info.html
https://www.globaltimes.cn/page/202309/1298353.shtml
https://eng.yidaiyilu.gov.cn/p/326889.html
-------------------------
ข่าวแนะนำ