TNN เชียงใหม่ล้ำ! มุ่งเป็นศูนย์กลาง E-commerce ข้ามแดน ตอนที่ 2 บุกจีน! ด้วยค้าออนไลน์ โมเดลธุรกิจต้องดี!

TNN

เศรษฐกิจ

เชียงใหม่ล้ำ! มุ่งเป็นศูนย์กลาง E-commerce ข้ามแดน ตอนที่ 2 บุกจีน! ด้วยค้าออนไลน์ โมเดลธุรกิจต้องดี!

เชียงใหม่ล้ำ!  มุ่งเป็นศูนย์กลาง E-commerce ข้ามแดน   ตอนที่  2 บุกจีน! ด้วยค้าออนไลน์ โมเดลธุรกิจต้องดี!

ข้อดีของ การค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนหรือ CBEC มีอยู่มาก เช่น เป็นการค้าที่ถูกกฎหมาย เอื้อต่อธุรกิจ SMES หรือร้านเล็กที่ต้องการขยายสินค้าไปขายในประเทศ ไม่จำเป็นต้องส่งสินค้าเป็นปริมาณมากเท่าการส่งออกปกติ ไม่ต้องวิ่งหา พาร์ทเนอร์ หรือคู่ค้าในต่างประเทศที่จะมาช่วยขาย และผู้ค้าที่ค้าขายในรูปแบบ CBEC จะได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีโดยเฉพาะในจีน วันนี้เป็นตอนที่ 2 ที่เราจะไปดูกันว่า การค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน หรือ CBEC มีโครงสร้างธุรกิจเป็นอย่างไร และเราควรจะใช้โมเดลธุรกิจแบบไหน ถึงจะสะดวกกับไซส์ธุรกิจของเรา

เชียงใหม่ล้ำ!  มุ่งเป็นศูนย์กลาง E-commerce ข้ามแดน

ตอนที่  2 บุกจีน! ด้วยค้าออนไลน์ โมเดลธุรกิจต้องดี! 



รวบรวมข้อมูล แปล และเรียบเรียง 

โดย ธัญวรัตน์ ถาวรโชติวงศ์



การค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน คือ อนาคตของธุรกิจทั้งที่มาอยู่เดิม และที่กำลังจะเกิดใหม่ เพราะช่องทางนี้ทำให้ผู้ค้าเข้าถึงลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้โดยตรงผ่านช่องทางออนไลน์ และระบบ logistic


จีนที่เป็นตลาดใหญ่มีการจัดระบบการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนของจีนเอง ตั้งแต่ปี 2012 ( พ.ศ. 2555) ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “ไห่เถา” หรือ CBEC จุดประสงค์ของจีนในเวลานั้นคือ ต้องการจัดระเบียบการค้าออนไลน์ในจีนที่มักจะลักลอบนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายอย่างไม่ถูกกฎหมาย และได้มีพัฒนาการจนมาถึงตอนนี้


รูปแบบการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนที่ใช้ดำเนินธุรกิจ เช่น

C2C  หรือ Customer to Customer  เป็นการซื้อขายแบบที่ทั้งสองฝ่ายเป็นบุคคลธรรมดา ใช้ระบบไปรษณีย์ในการจัดส่งสินค้า


B2C  หรือ  Business to Customer คือการซื้อขายระหว่างบริษัท หรือร้านค้าเจ้าของสินค้า กับลูกค้า ใช้ระบบไปรษณีย์ข้ามประเทศในการจัดส่งสินค้า เช่น DHL หรือใช้บริการ Logistic ที่สามารถส่งสินค้า จากต้นทางไปยังประเทศปลายทางได้โดยตรง การเลือกวิธีขนส่งขึ้นอยู่กับจำนวนสินค้า การซื้อขายเกิดขึ้นบนหน้าร้านออนไลน์ที่เจ้าของสินค้าสร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ เช่น หน้าเว็บไซต์ หรือ ซื้อขายผ่านแพล็ตฟอร์ม อีคอมเมิร์ซ 


B2B2C หรือ  Business to Business To Customer  การค้ารูปแบบนี้  เจ้าของสินค้าในต่างประเทศตั้งหน้าร้านเสนอขายสินค้าผ่าน Platform Online ยอดนิยมในประเทศเป้าหมาย เช่น จีน  ซึ่งลูกค้าจีนจะหาซื้อสินค้าได้ง่าย โดยนอกจากตั้งหน้าร้าน เจ้าของสินค้าจะได้รับบริการFullfilment จัดการคลังสินค้า และการส่งสินค้าจากบริษัท Logistic ที่เป็นพันธมิตรกับplatform เพื่อส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าจีน

เป็นต้น


B2B2C รูปแบบการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนห้ามมองข้าม

Chinese Intelligence Center มหาวิทยาลัยเชียงใหม่แนะนำรูปแบบการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนที่สะดวกใช้งานในจีน นั่นคือ การค้าแบบ B2B2C


McKinsey&Company ก็แนะนำว่า B2B2C เป็นโมเดลการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนที่เอื้อแก่บริษัทเจ้าของสินค้าในต่างประเทศ เช่นกัน โดยมีปัจจัยหลัก คือ แพล็ตฟอร์ม ecommerce ที่ใช้เปิดหน้าร้านมาพร้อมกับบริการ Fulfilment ที่จะช่วยบริหารจัดการสินค้าไปจนถึงมือลูกค้า และ สิทธิประโยชน์ทางการค้าที่จะได้รับ เช่น อัตราภาษีพิเศษ เมื่อธุรกิจเลือกใช้โมเดลธุรกิจนี้ 



B2B2C ที่จะช่วยเติมเต็มระบบการขายในต่างประเทศ การจัดการคลังสินค้าและการจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในโมเดลนี้ 

-    ประเทศปลายทาง เช่น จีน เปิดโอกาสให้ผู้ค้าต่างประเทศขึ้นทะเบียนเสมือนเป็นผู้ค้าในประเทศ แม้จะมีแค่หน้าร้านที่เปิดบนเว็บไซต์ อีคอมเมิรซ์

-    เว็บไซต์ อีคอมเมิร์ซ เช่น TMall  หรือ JD.com ที่เปิดให้ธุรกิจต่างชาติเปิดหน้าร้านได้ 

มีบริการ FullFilment ที่ช่วยจัดการคลังสินค้า  แพ็คสินค้า และจัดส่งถึงมือลูกค้าในจีนด้วยเครือข่ายโลจิสติกส์ท้องถิ่นในจีน 

-     เจ้าของสินค้าสามารถส่งสินค้าเป็นปริมาณมากไปสำรองในโกดังของอีคอมเมิร์ซ ในประเทศเป้าหมายไว้ก่อนได้ด้วยช่องทางเรือที่มีราคาขนส่งถูก 


นอกจากนี้ McKinsey&Company  อธิบายถึง ประโยชน์และโอกาสของโมเดล B2B2C นี้ว่ามีมาก กว่าโมเดล B2C ที่เจ้าของธุรกิจต้องจัดส่งสินค้าจากประเทศต้นทางเอง เช่น


      1.  ตลาดค้าออนไลน์ในบางประเทศมีกฎหมายควบคุมการนำเข้าอย่างเข้มงวด  

- การนำเข้าแบบ B2B2C จะได้รับการงดเว้นภาษีในบางกรณี หรือมีอัตราภาษี และค่าใช้จ่ายการนำเข้าที่ต่ำลง  

- แต่การนำเข้าแบบ B2C ที่ผู้ค้าจัดส่งเองที่ผู้ค้าส่งเองโดยระบบไปรษณีย์ระหว่างประเทศ เช่น DHL ไม่ได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษี  

ดังนั้น McKinsey&Company  จึงแนะนำให้ใช้ โมเดล B2B2C 


       2. ความเร็วในการจัดส่งสินค้า 

- โมเดล B2C ที่เป็นการส่งสินค้าเอง จะใช้เวลา “Shipping” ขนส่งทางทะเล 15-20 วัน  ช่องทางนี้นิยมมากเพราะราคาถูก โดยมีอัตราเฉลี่ยค่าจัดส่งสำหรับการค้าออนไลน์อยู่ที่ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อชิ้น หรือราว  370 บาท  


- ขณะที่หากใช้โมเดล B2B2C การขนส่งจะใช้เวลาสั้นลง3-5 วัน เนื่องจากมีคลังสินค้าไว้อยู่แล้ว การขนส่งที่เร็วขึ้น และความพึงพอใจที่เพิ่มขึ้น จะยิ่งทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น  จูงใจให้แบรนด์สินค้าระดับโลก เข้าไปตั้งร้านค้าออนไลน์ในตลาดท้องถิ่นมากขึ้น


โมเดล B2B2C จึงมีประสิทธิภาพมากกว่า และขนส่งได้ไวกว่า ซึ่งจะทำให้เกิดแนวโน้มเชิงบวกในกระบวนการขนส่งสินค้า  ซึ่งจุดนี้เป็นข้อได้เปรียบกว่า การจัดส่งโดยตรงจากประเทศต้นทาง  


Business Model การค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนในจีน


เมื่อหันมองตลาดจีนพบว่า การค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนหรือ CBEC ในจีนขณะนี้ มีครบทุกโมเดลทั้ง C2C , B2C และ B2B2C  

Chinese Intelligence Center มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แนะนำโมเดลการค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีจากระบบ CBEC จีน ได้แก่ 

      1.    การค้าแบบ B2B2C  ผ่านเขตปลอดอาการ 

ตัวอย่างเช่น Shanghai Model ที่ปรากฏในเมืองเซี่ยงไฮ้ 

การค้าในรูปแบบนี้ เจ้าของสินค้าในต่างประเทศสามารถส่งสินค้ามาสต๊อกจำนวนมากไว้ที่คลังสินค้าปลอดอากรภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษในเซี่ยงไฮ้ไว้ก่อนได้ เมื่อมีคำสั่งซื้อจากลูกค้าผ่าน Platform online ของจีน จึงจะมีการดำเนินการทางศุลกากรกับสินค้าตามปริมาณสั่งซื้อ โดยคิดอัตราภาษีตามข้อยกเว้นในระบบ CBEC  จากนั้นจึงทำการจัดส่งโดยบริการ Logistic ไปถึงมือลูกค้า


      2.    การค้าแบบ Custom One Stop Service หรือ Direct CBEC

รูปแบบนี้ก็คือ B2C ซึ่งเจ้าของสินค้าไม่มีการส่งสินค้ามาเป็นสล็อกในจีนไว้ล่วงหน้า แต่จะส่งสินค้ามาจากต่างประเทศโดยตรงสู่ลูกค้าหลังจากได้รับออเดอร์ผ่านทาง Platform online ของจีนที่เปิดหน้าร้านเอาไว้ โดยอัตราภาษีจะเป็นไปตามข้อยกเว้นในระบบ CBEC  เช่นกัน

จุดเด่นของ “ไห่เถา” หรือ ระบบ CBEC ของจีน  เช่น 

            1. ภาษีอัตราพิเศษที่ต่ำกว่าระบบการนำเข้าปกติ 

                1)    กรณีเป็นการซื้อสินค้าระหว่างเจ้าของสินค้าที่เป็นบริษัทกับลูกค้าที่เป็นบริษัทเช่นเดียวกัน (หรือ B2B)  หรือกับลูกค้าที่เป็นบุคคลธรรมดา (B2C หรือ B2B2C)                  

             -    จะได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร  

             -    เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และสรรพสามิต เพียงร้อยละ 70 ของอัตราปกติ 


กรณีนี้ ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าได้ไม่เกินครั้งละ 5,000 หยวน และ ในหนึ่งปีมูลค่ารวมการซื้อไม่เกิน 26,000 หยวน แต่หากมากกว่านี้จะคิดอัตราภาษีปกติ


                 2)    กรณีซื้อสินค้าระหว่างเจ้าของสินค้าที่เป็นบุคคลธรรมดา และลูกค้าที่เป็นบุคคลธรรมดา (หรือ C2C)  มีการนำเข้าสินค้าผ่านระบบไปรษณีย์

               -  ภาษีคิดในอัตราพิเศษ

               -  สามารถซื้อสินค้ารูปแบบนี้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่ซื้อได้ไม่เกิน 1,000 หยวนต่อครั้ง  

                 โดยเมื่ออัตราภาษีนำเข้าของจีนในรูปแบบต่างๆ มาเปรียบเทียบกัน ทำให้เราจะมองเห็นว่าระบบ CBEC มีอัตราภาษีต่ำกว่ารูปแบบอื่น 



           2. ระบบ CBEC จีน ช่วยให้การส่งออกไปยังจีนไม่ใช่เรื่องยากเกิดเอื้อม  เนื่องจากการนำสินค้าเข้าไปขายในจีนตามปกติ จำเป็นต้องมีหน้าร้านและตัวแทนจำหน่ายในจีน มีการจดทะเบียนบริษัทในจีน และมีตัวตนชัดเจน  แต่สำหรับการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านจริงๆ ในจีน ก็สามารถค้าขายได้ แต่การเข้าไปขายสินค้าบนแพล็ตฟอร์มออนไลน์ของจีนไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แม้ว่าในตอนนี้ Platform Online อีคอมเมิร์ซยอดนิยมในจีน เช่น  TMALL (ของ Alibaba)  JD.com  หรือ Xiao Hong Shu Red เปิดโอกาสให้ร้านค้าต่างชาติไปเปิดหน้าร้านได้ก็จริง  แต่มีเงื่อนไขคัดกรองร้านค้า  เช่น 

        -    มีค่ามัดจำ 8,000-25,000 ดอลลาร์สหรัฐ   หรือราว 296,000-925,000 บาท 

        -    เป็นบริษัทที่มีรายได้ต่อปี 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ   หรือราว  370 ล้านบาท 

        -    เป็นแบรนด์สินค้าที่มีชื่อเสียงน่าเชื่อถือ 


     ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเงื่อนไขเหล่านี้ คือ ต้องการแก้ไขปัญหาสินค้าปลอมที่เป็น Pain Point อันดับ 1 ของผู้บริโภคจีน 

อุปสรรคมากก็จริง แต่ขณะเดียวกันก็มีโอกาสมาก จารุวัฒน์ เตชะวุฒิ กรรมการ หอการค้าเชียงใหม่ ให้ความเห็นว่าโอกาสที่ลูกค้าจะซื้อสินค้าออนไลน์จะมากหรือน้อยก็อยู่ที่จุดวางสินค้า หากวางสินค้าใน แพล็ตฟอร์มยอดนิยม ย่อมสร้างโอกาสในการซื้อ การซื้อซ้ำ และการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น   “นักท่องเที่ยวตอนนี้มาที่ถนนนิมมานต์มาเดินช้อปอะไรทั่วๆไป ถ้าเขาสนใจสินค้าและเขาเอาไปบอกต่อกันที่โน่น แล้วอยากจะซื้อสินค้า แต่เราไม่มีในแพล็ตฟอร์มเขาเราจะก็เสียโอกาสถูกไหมครับในการซื้อซ้ำ หรือการประชาสัมพันธ์ในอนาคตต่อไป เมืองจีนนะครับเขาก็จะมีวีแชทใช่ไหมครับมี เป่นถวน เตียนผิง มี taobao อะไรพวกนี้ คือ platform เหล่านี้เนี่ยอยู่ในใจผู้บริโภคหมดแล้วเราต่างหากที่จะต้องเอาตัวเองไปอยู่ในนั้นแล้วสร้างคอนเท้นต์ให้โดดเด่น”


     นอกจากนี้ คุณจารุวัฒน์มีข้อคิดเห็นว่า ธุรกิจในไทยเองที่ต้องการบุกตลาดจีนด้วยการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อม  โดยการ สร้างผลิตภัณฑ์ให้โดดเด่น  สร้างตราสินค้าและพัฒนาแบรนด์ของตัวเองสินค้าของตัวเองให้เป็นที่รู้จัก เพื่อให้ชาวจีนตระหนักว่านี่เป็นสินค้าของไทย  และสร้างสินค้าให้มีคุณภาพสูง หากทำได้ก็จะได้ใจชาวจีนมากยิ่งขึ้นเมื่อสินค้าได้ขึ้นในแพลตฟอร์มจีนแล้วและมีชาวจีนมองเห็นมากขึ้น เป็นแรงส่งให้เกิดการ "ซื้อซ้ำ ซื้อสะดวก ชิปปิ้งเร็ว" ในที่สุด


      สำหรับร้านเล็กๆ บุคคลธรรมดา และธุรกิจขนาดย่อมอย่าง Micro Smes  ที่มีทุนจำกัด แต่ต้องการขายสินค้าออนไลน์แก่ลูกค้าจีน  อาจเริ่มจากการพัฒนาตนเองให้พร้อมก่อน เช่นพัฒนาคุณภาพสินค้า สามารถระบุว่าเป็นสินค้าไทยจริงด้วยการขึ้นทะเบียนสินค้า GI  และการประชาสัมพันธ์ในโซเชียลมีเดียที่ชาวจีนคุ้นเคยเช่น Weibo หรือ Douyin  หรือการเปิดร้านในสถานที่ท่องเที่ยวเช่น ถนนนิมมานต์ หรือจริงใจMarket ในเชียงใหม่ ซึ่งอาจสร้างโอกาสให้เกิดการซื้อซ้ำ ด้วยการค้าขายแบบ C2C โดยมีการจัดส่งทางไปรษณีย์ในช่วงแรก ก่อนเติบโตและขยับขยายไปสู่โมเดลแบบ B2B2C ในอนาคต


#เชียงใหม่ #Ecommerce #ค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน #CBEC #crossborderecommerce #จีน #B2B2C #B2B #B2C #C2C #โมเดลธุรกิจ #ไห่เถา


รวบรวมข้อมูล แปล และเรียบเรียง 

โดย ธัญวรัตน์ ถาวรโชติวงศ์


-------------------------


ตอนที่ 2 หลังจากได้รู้แล้วว่า โมเดลธุรกิจ B2B2C เป็นคำตอบของการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน ในตอนหน้า เราจะไปประเมินความพร้อมของเชียงใหม่ ที่ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลาง Cross Border E-Commerce (CBEC) หรือการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน ใน 2 ด้าน เชียงใหม่พร้อมเท่าไหน ไปติดตามกันในตอนที่ 3 ค่ะ 



-------------------------


เอื้อเฟื้อข้อมูล 


หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 


China Intelligence Center(CIC) 泰国商务智能中心 CAMT DIGITAL SCHOOL,CHIANG MAI UNIVERSITY (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)


-------------------------


ที่มาข้อมูลทางออนไลน์ 


กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา


RCEP and Cross-border E-commerce Opportunities for ASEAN Countries


https://www.mckinsey.com/industries/travel-logistics-and-infrastructure/our-insights/e-commerce-is-entering-a-new-phase-in-southeast-asia-are-logistics-players-prepared


http://brussels.customs.go.th


http://www.asean-cn.org/index.php?m=content=index&a=show&catid=202&id=3280


https://www.china-briefing.com/news/chinas-cross-border-e-commerce-2023-performance-and-2024-outlook/


https://www.chiangraiekkachai.com/extra_info.html


https://www.globaltimes.cn/page/202309/1298353.shtml


https://eng.yidaiyilu.gov.cn/p/326889.html


https://www.trade.gov/country-commercial-guides/china-ecommerce#:~:text=China%20is%20the%20largest%20e,reach%20%243.56%20trillion%20by%202024.

ข่าวแนะนำ