TNN อัปเดตเส้นทาง "พายุไต้ฝุ่นหม่านหยี่" กำลังจะเคลื่อนไปไหน กระทบไทยหรือไม่?

TNN

Earth

อัปเดตเส้นทาง "พายุไต้ฝุ่นหม่านหยี่" กำลังจะเคลื่อนไปไหน กระทบไทยหรือไม่?

อัปเดตเส้นทาง พายุไต้ฝุ่นหม่านหยี่ กำลังจะเคลื่อนไปไหน กระทบไทยหรือไม่?

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทางพายุไต้ฝุ่น "หม่านหยี่" คาดจะเคลื่อนผ่านเกาะลูซอล ลงสู่ทะเลจีนใต้เช้าตรู่ 18 พ.ย.67

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทางพายุไต้ฝุ่น "หม่านหยี่ (MAN-YI)" มีศูนย์กลางบริเวณทางด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะลูซอล ลงสู่ทะเลจีนใต้เช้าตรู่วันที่ 18 พ.ย.67 และเคลื่อนตัวทางตะวันตกเข้าใกล้เกาะไหหลำ และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ คาดว่าจะสลายตัวใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนาม พายุนี้ไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย เนื่องจากเป็นช่วงที่มวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมทางตอนบนของภาคเหนือ ภาคอีสาน




พร้อมกันนี้ยังได้อัปเดต ผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.)10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 16 -25 พ.ย.67 init. 2024111512 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) (วิเคราะห์ตามผลจากแบบจำลองฯ) เฉดสีแดงหมายถึงฝนหนัก สีเขียวหมายถึงฝนเล็กน้อย


 ช่วง 16 - 17 พ.ย.67 เมื่อมวลอากาศเย็นที่แผ่ปกคลุมมีกำลังอ่อนลง ทำให้ลมหนาวเบาลง ทิศทางแปรปรวน มีลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาแทรก และอุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้น อากาศร้อนตอนกลางวัน ทำให้ภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม. ปริมณฑลและภาคใต้ตอนบน ยังมีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อยถึงปานกลาง เมฆเพิ่มขึ้นบ้าง และมีหมอกบางพื้นที่ ในภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ยอดดอย ยอดภู พอมีอากาศเย็นถึงหนาวให้ได้สัมผัส เดินทางสัญจรต้องระวัง ทัศนวิสัยการมองเห็นต่ำลง พี่น้องเกษตรกรที่กำลังเก็บเกี่ยว  ต้องป้องกันและเฝ้าระวังผลผลิตที่อาจเสียหายได้ ระวังรักษาสุขภาพช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ส่วนภาคใต้จะเริ่มมีฝนลดลง แต่ยังมีฝนบางแห่ง 


ช่วง 18-25 พ.ย.67 มวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคอีสานและทะเลจีนใต้ ลมแรงขึ้น อากาศจะเริ่มเย็นลงอีกครั้งและอาจมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบนอีกครั้ง 


ส่วนภาคใต้โดยเฉพาะฝั่งอ่าวไทยตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ลงไป จะมีฝนเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย.67 ต้องติดตามและเฝ้าระวังฝนตกหนักถึงหนักมาก ฝนตกสะสม เป็นพิเศษ ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ 

(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามข้อมูลนำเข้าและประมวลผลใหม่ ใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจและติดตามสภาพอากาศ )



ข่าวแนะนำ