TNN โลกร้อนกระทบ “กิมจิ” ในเกาหลีใต้ อากาศร้อนจนปลูกผักได้น้อยลง

TNN

Earth

โลกร้อนกระทบ “กิมจิ” ในเกาหลีใต้ อากาศร้อนจนปลูกผักได้น้อยลง

โลกร้อนกระทบ “กิมจิ” ในเกาหลีใต้ อากาศร้อนจนปลูกผักได้น้อยลง

“ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ส่งผลต่อผลผลิตอาหารในหลายประเทศทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือ ผักกาดขาว ที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตกิมจิที่ เกาหลีใต้ ที่ระยะหลังเริ่มมีปัญหาในการเพาะปลูกแล้ว”



เกาหลีใต้กำลังเผชิญกับอุณภูมิที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการปลูกผักกาดขาว ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตกิมจิ เมนูยอดนิยมของประเทศ เพราะโดยปกติแล้วผักกาดขาวเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่เย็น และมักปลูกในพื้นที่ภูเขา ซึ่งอุณหภูมิในช่วงฤดูร้อนซึ่งเป็นฤดูเพาะปลูกที่สำคัญนั้น แทบจะไม่เคยสูงเกิน 25 องศาเซลเซียส 


แต่ปัจจุบันอากาศที่ร้อนขึ้น กำลังคุกคามผลผลิตผักกาดขาวอย่างมาก จนทำให้เกาหลีใต้อาจไม่สามารถปลูกผักกาดขาวได้อีก เนื่องจากอากาศร้อนจัด

นักวิทยาศาสตร์บอกว่า ผักกาดขาวเติบโตได้ดีในสภาพอากาศเย็น และสามารถปรับตัวให้เข้ากับช่วงอุณหภูมิที่ค่อนข้างแคบ โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมคือระหว่าง 18 ถึง 21 องศาเซลเซียส ซึ่งปีนี้อุณหภูมิฤดูร้อนเฉลี่ยในเกาหลีใต้อยู่ที่ประมาณ 25.4 องศาเซลเซียส และเคยมีวันที่ร้อนที่สุดพุ่งไปถึง 29.9 องศาเลยทีเดียว 


ซึ่งผลกระทบของอุณหภูมิที่สูงขึ้นที่มีต่อผักกาดขาวนั้น จะทำให้แกนกลางของผักกาดขาวเน่า และรากเละ หากยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป เกษตรกรที่เกาหลีใต้ยอมรับว่าอาจต้องเลิกทำกิมจิผักกาดขาวในช่วงฤดูร้อนเลยทีเดียว



ซึ่งไม่เพียงแต่ “กิมจิ” เท่านั้นที่กำลังประสบปัญหา มีการคาดการณ์ว่าอาหารท้องถิ่นในเกาหลีใต้ กำลังเผชิญปัญหาเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นผลไม้ท้องถิ่นที่ปลูกได้ดีอย่างเช่นองุ่น หรือแอปเปิล ซึ่งเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่เย็นสบาย ก็จะเริ่มปลูกได้ยากขึ้น ซึ่งในอนาคต หากอากาศร้อนขึ้นไม่หยุดแบบนี้ ผลไม้ที่เกาหลีใต้จะปลูกได้ดีก็อาจจะเป็นผลไม้กึ่งเขตร้อนอย่างเช่น ส้มแมนดาริน กีวี หรือมะม่วง นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในมหาสมุทรรอบ ๆ คาบสมุทรจะผลักดันให้ปลาพอลแล็ค ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมของชาวเกาหลีใต้ ย้ายถิ่นฐานและจับได้ยากขึ้น  ซึ่งสิ่งนี้ได้เริ่มเกิดขึ้นแล้ว และจะเปิดโอกาสให้ปลาทูน่า ปลาหมึก ปลาทู และปลาแองโชวี่เข้ามาแทนที่


จะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศกำลังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนทั่วโลก อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ซึ่งถึงแม้ว่าการแก้ปัญหาในอนาคตคือการนำเข้าอาหารจากประเทศต่างๆ แต่การพึ่งพาอาหารจากประเทศอื่นๆ ก็คงไม่ใช่เรื่องที่ดีนักในแง่ของความมั่นคง

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง