TNN วิกฤต "น้ำท่วมแม่สาย" บทเรียนราคาแพงที่ต้องได้รับการแก้ไข

TNN

Earth

วิกฤต "น้ำท่วมแม่สาย" บทเรียนราคาแพงที่ต้องได้รับการแก้ไข

วิกฤต น้ำท่วมแม่สาย บทเรียนราคาแพงที่ต้องได้รับการแก้ไข

"ดร.สนธิ" ชี้ถึงสาเหตุวิกฤต "น้ำท่วมแม่สาย" บทเรียนราคาแพงที่ต้องได้รับการแก้ไข

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับวิปโยคแม่สาย แม่อายสะอื้น บทเรียนราคาแพงที่ต้องได้รับการแก้ไข พร้อมระบุสาเหตุที่ทให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี


1.    ฝนตกหนักมากจากอิทธิพลของพายุยางิ ขณะที่มีร่องมรสุมความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ทำให้อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย น้ำท่วมหนักเสียหายมากที่สุดในรอบ40ปี มากกว่าปี 65 และที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เกิดดินถล่มจากภูเขาทับบ้านเรือนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายคน


2.    บทเรียนราคาแพงที่ทำให้เกิด วิปโยคที่แม่สายและแม่อายสะอื้นในครั้งนี้คืออะไร


2.1. ขาดแผนการเตือนภัยที่ชัดเจน กรมอุตุนิยมวิทยา และสทนช.ได้แจ้งเตือนว่าจะเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนโดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายในช่วงวันที่ 8 ถึงวันที่ 13 กันยายนจะเกิดน้ำท่วมไหลหลากและดินถล่ม แต่การเตือนภัยดังกล่าวอาจลงไปไม่ถึงประชาชนในระดับรากหญ้า  และการเตือนภัยดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุถึงความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนทั้งยังไม่ได้ระบุถึงสถานที่ที่เฉพาะเจาะจงว่าน้ำจะท่วมหนักเกิดขึ้นที่ไหนบ้าง? บอกแต่เพียงกว้างๆว่าจะเกิดที่จ.เชียงราย และจ.เชียงใหม่ เป็นต้น ทำให้ประชาชนที่ได้รับข่าวสารในพื้นที่ไม่สนใจเท่าที่ควรเพราะทุกปีน้ำก็ท่วมประจำอยู่แล้วไม่ได้หนักหนาอะไร 

2.2. ขาดการสื่อสารความเสี่ยงที่ให้ประชาชนเกิดความตระหนัก ที่ผ่านมาใช้ช่องสื่อสารทางทีวี วิทยุ เฟซบุ๊ก โดยใช้ภาษาทางวิชาการที่ยากจะเข้าใจทำให้ประชาชนระดับรากหญ้าไม่ค่อยสนใจเท่าที่ควร ดังนั้นการสื่อสารหลังจากที่มีการคาดการณ์ว่าน้ำจะท่วมอย่างรุนแรงที่ไหนบ้าง ควรให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรืออปท.สื่อสารถึงตัวประชาชนโดยตรง โดยต้องระบุให้ชัดเจนว่าสถานการณ์จะเกิดรุนแรงในระดับใด ที่ไหน จะต้องเก็บข้าวของขึ้นที่สูงหรือต้องอพยพออกมาและไปพักที่จุดใดบ้าง เป็นต้น โดยทั่วไปผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอต้องเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ หรือเป็น Commander สั่งการให้ดำเนินการทันที ยิ่งในต่างประเทศจะมีการใช้ระบบ SMS สารเตือนภัยโดยส่งเข้าไปในระบบโทรศัพท์มือถือของที่คนที่อาศัยในพื้นที่โดยตรง เป็นต้น แต่ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้การเตรียมความพร้อมและยังไม่มีมาตรการป้องกันวิกฤติดังกล่าวเลย ต้องรอให้เกิดวิกฤติก่อนจึงจะประกาศให้พื้นที่เป็นเขตภัยพิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อนำงบประมาณออกมาแก้ไขและเยียวยาได้ ดังนั้นตามกฎหมายจึงมีแต่เพียงมาตรการบรรเทาทุกข์แต่ไม่มีมาตรการป้องกันไว้ล่วงหน้า

2.3. ขาดแผนเผชิญเหตุฉุกเฉิน เมื่อเกิดเหตุ การณ์น้ำท่วม ดินถล่ม ราชการจะต้องประกาศเป็นเขตภัยพิบัติเพื่อนำงบประมาณออกมาใช้บรรเทาทุกข์ให้ประชาชนได้ ซึ่งทำได้ล่าช้ามากเนื่องจากติดที่ระบบราชการต้องมีหนังสือเป็นทางการส่งออกไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ทำอะไร ที่ ไหน อย่างไร ต้องมีเวลาในการการเตรียมอุปกรณ์และกำลังคน


กรณีน้ำท่วมที่อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย ประชาชนจำนวนมากติดอยู่บนหลังคาและติดอยู่ในบ้านเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2 วันโดยหน่วยงานที่เข้าไปช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของมูลนิธิ, จิตอาสา, สมาคม และภาคประชาสังคม ส่วนหน่วยราชการยังล่าช้าอยู่เพราะติดระบบราชการยกเว้นหน่วยทหารที่สั่งการและออกปฎิบัติงานได้ทันที


ที่มา: Sonthi Kotchawat

ข่าวแนะนำ