TNN "ดร.สนธิ" เตือนอาจเกิดน้ำท่วมภาคกลาง พร้อมเผยสาเหตุที่ฝนตกหนักมากขึ้นทุกปี

TNN

Earth

"ดร.สนธิ" เตือนอาจเกิดน้ำท่วมภาคกลาง พร้อมเผยสาเหตุที่ฝนตกหนักมากขึ้นทุกปี

ดร.สนธิ เตือนอาจเกิดน้ำท่วมภาคกลาง พร้อมเผยสาเหตุที่ฝนตกหนักมากขึ้นทุกปี

"ดร.สนธิ" เตือน ก.ย.-ต.ค.นี้ หลายจังหวัดในภาคกลางมีความเสี่ยงน้ำท่วม พร้อมเผยปัจจัยที่ทำให้ฝนตกหนักมากขึ้นทุกปี

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เดือนก.ย. และต.ค. 67 พื้นที่จังหวัอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกทม. มีฝนตกในภาคกลางมากขึ้น และอาจมีความเสี่ยงน้ำท่วม เผยปัจจัยที่ทำให้ฝนตกหนักมากขึ้นทุกปี


1.    ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุม ซึ่งมีลักษณะเป็นแนวพาดขวางในทิศตะวันออก-ตะวันตกพาดผ่านพื้นที่จังหวัดภาคกลาง รวมทั้งกทม.และปริมณฑลในเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม ในร่องความกดอากาศต่ำหรืออากาศร้อนจะมีกระแสอากาศไหลขึ้น-ลงสลับกัน โดยจะมีการเลื่อนขึ้น-ลงตามแนวโคจรของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเมฆมากและมีฝนตกอยู่แล้ว และหากปะทะกับลมมรสุมที่อากาศเย็นกว่าจะเกิดฝนตกอย่างหนาแน่น


2.    ลมมรสุมพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่หอบเอาความชื้นจากทะเลอันดามัน พัดที่ความสูงประมาณ 3.5 กิโลเมตรเข้ามาปกคลุมประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำ ให้ฝนตกทั่วทุกภาค และเมื่อมาปะทะกับร่องมรสุมความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑล จะทำให้เกิดฝนตกหนักมากขึ้น


3.    พายุหมุนเขตร้อนก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการก่อฝนมากขึ้น โดยมักจะมีช่วงในการเกิดประมาณเดือนมิถุนายน - ธันวาคม หากเกิดขึ้นและพัดผ่านภาคกลางยิ่งทำให้ฝนตกหนักมากขึ้น ซึ่งคาดว่าอาจพัดเข้ามาหรือใกล้ประมาณ 2 ลูก


4.    ภาวะโลกร้อน อุณหภูมิที่สูงขึ้นเฉลี่ยถึง 1.3 องศาจากก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้น้ำจากทะเลและมหาสมุทรระเหยขึ้นกว่าปกติ กลายเป็นความชื้นในบรรยากาศ ก่อเป็นเมฆฝนบนท้องฟ้า หากไปรวมกับร่องมรสุมจะทำให้ฝนตกหนักมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้เกิดขึ้นแล้วในหลายแห่งทั่วโลก


5.    ภาวะลานีญาขนาดปานกลางปกคลุมประเทศไทยในขณะนี้ ทำให้น้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียร้อนขึ้น และมีลมแรงขึ้น จึงหอบเอาความชื้นจากมหาสมุทรแปซิฟิกพัดเข้าประเทศไทย ทำให้ความชื้นหรือไอน้ำในบรรยากาศเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ทำให้ฝนตกหนักมากขึ้น


ขณะที่น้ำเหนือจากเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำออกมาถึง 1500 ลบ.ม.ต่อวินาที และน้ำฝนที่ตกใต้เขื่อนมากขึ้น ทำให้อยุธยา บางบาล เสนา ภาชี บางปะหันน้ำเริ่มท่วมแล้ว โดยเฉพาะอำเภนอกเขตคันกั้นน้ำ รวมทั้งจังหวัดนนทบุรีหลายแห่งน้ำเริ่มสูง ท่วมชุมชนหลายแห่งโดยเฉพาะ 30 ชุมชนนอกแนวเขตคันกั้นน้ำ



ที่มา: Sonthi Kotchawat


ข่าวแนะนำ