"ถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด" สุดอันตราย ยุบตัวเป็นหลุมบ่อยครั้ง ฤดูฝนนี้เสี่ยงเจอบ่อย!
"ดร.สนธิ" เผย "ถนนแจ้งวัดฒนะ-ปากเกร็ด" สุดอันตราย ยุบตัวเป็นหลุมบ่อยครั้ง เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์เกี่ยวกับ “ถนนอันตราย” บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด ยุบตัวเป็นหลุมบ่อยครั้ง เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ พร้อมชี้แจงถึงสาเหตุ โดยระบุไว้ดังนี้
ถนนแจ้งวัฒนะ- ปากเกร็ดเกิดผิวถนนยุบตัวเป็นหลุมบนถนนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 7 ครั้ง ตั้งแต่เดือนก.ย.65 จนถึงปัจจุบัน ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 8 แล้ว ซึ่งเกิดขึ้นบนถนนแจ้งวัฒนะฝั่งขาเข้าบริเวณกระทรวงยุติธรรมหลักสี่ เมื่อต้นเดือนส.ค.67
โดยครั้งที่ 1 เกิดถนนยุบตัวบริเวณหน้า Health Land แจ้งวัฒนะฝั่งขาเข้า ครั้งที่ 2 เกิดหลุมยุบตัวหน้าโรงแรมเวสเทิร์น แจ้งวัฒนะ ฝั่งขาเข้า
ครั้งที่ 3 และ 4 เกิดถนนยุบตัวหน้าห้างบิ๊กซี ถนนเลี่ยงเมือง ปากเกร็ดแจ้งวัฒนะฝั่งขาออก
ครั้งที่ 5 เกิดถนนยุบตัวหน้าปั๊มแก๊สใกล้ห้างเซ็นทรัล ถนนแจ้ง วัฒนะฝั่งขาออก
ครั้งที่ 6 เกิดถนนยุบตัวบริเวณท่าน้ำปากเกร็ด หน้าทางเข้าวัดบ่อ
ครั้งที่ 7 เกิดถนนยุบบริเวณถนนแจ้งวัฒนะฝั่งขาออกเลยคลองประปา 30 เมตร
ครั้งที่ 8 เกิดถนนยุบบริเวณถนนแจ้งวัฒนะฝั่งขาเข้าบริเวณกระทรวงยุติธรรมหลักสี่
ภาพ: ถนนยุบตัว
โดยมีสาเหตุที่สำคัญเกิดจากปัจจัย 3 ประการคือ
1. ถนนแจ้งวัฒนะปากเกร็ดที่ผ่านมามีการก่อสร้างบนถนนตลอดเวลา เช่นการสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูเกาะกลางถนน, ตลอดแนวมีการวางท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ ดินและบ่อเก็บสายไฟฟ้าลึกประมาณ 9.0 เมตรของการไฟฟ้านครหลวง, มีการขุดรื้อย้ายหรือก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน รวมทั้งมีการก่อสร้างอาคารสูงบริเวณใกล้เคียง เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดความสั่นสะเทือนและการทรุดตัวของถนนเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เช่น เกิดการทรุดตัวต่างกันของท่อระบายน้ำกับบ่อพักริมถนนทำให้เกิดช่องว่างที่วัสดุทรายที่ถมไหลลงไปในโพรงใต้ดินทำได้ถนนยุบตัวได้
2. ในช่วงฤดูร้อนจะเกิดถนนยุบตัวบ่อยครั้งเนื่องจากไม่มีน้ำอุ้มดินไว้เกิดเป็นโพรงใต้ถนน ประกอบกับมีปัจจัยจากการก่อสร้าง การขุดเจาะอุโมงค์ ทำให้ถนนยุบเป็นบางช่วง
3. ในช่วงที่ฝนตกหนักต่อเนื่องหลายวันทำให้เกิดน้ำท่วมขังและระบายไม่ทันเนื่อง จากมีการก่อสร้างระบบสาธาณูปโภค สาธารณูปการ บนถนนตลอดที่ผ่านมา ทำให้ดินและทรายไหลไปกับน้ำฝนทำให้เกิดเป็นโพรงขนาดใหญ่ โดยที่เกิดบ่อยครั้งมาจากโครงการก่อสร้างบ่อพักสำหรับร้อยท่อสายไฟฟ้าลงใต้ดิน
โดยกรมทางหลวงควรทำการสำรวจการเกิดโพลงใต้ถนนแจ้งวัฒนะตลอดสายด้วยระบบสัญญาณเรดาร์หยั่งลึกถึงระดับความลึก 30 เมตร โดยใช้ระบบGPR (Grand Penetration Radar) เมื่อทราบแล้วจะได้ทำการซ่อมแซมได้ทันท่วงทีก่อนที่เกิดถนนยุบตัวอีก
ภาพ: ถนนยุบตัวเป็นหลุมขนาดใหญ่
ที่มา: เฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat
ข่าวแนะนำ