TNN You Pay as You Throw จ่ายค่าขยะตามที่ทิ้ง หลักการลดขยะอาหารแบบ “เกาหลีใต้”

TNN

Earth

You Pay as You Throw จ่ายค่าขยะตามที่ทิ้ง หลักการลดขยะอาหารแบบ “เกาหลีใต้”

You Pay as You Throw จ่ายค่าขยะตามที่ทิ้ง หลักการลดขยะอาหารแบบ “เกาหลีใต้”

“ดร.สนธิ” เผยข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ “การจัดการขยะอาหาร” ใน “เกาหลีใต้” ใช้หลัก You Pay as You Throw หรือ การจ่ายค่าขยะตามปริมาณที่ทิ้ง สามารถลดขยะอาหารได้หมด .

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับ “การจัดการขยะอาหาร” ในเกาหลีใต้ โดยระบุว่า การจัดการขยะอาหารในเกาหลีนั้นใช้หลัก You Pay as You Throw สามารถลดขยะอาหารได้หมด

1. ขยะอาหารในเกาหลีใต้เกิดขึ้นร้อยละ 37 ในแต่ละวัน รัฐได้ออกกฎหมายให้ประชาชนต้องแยกขยะดังกล่าวออกมา โดยห้ามทิ้งไปกับรถเก็บขยะทั่วไป โดยจะต้องซื้อถุงขยะที่ผลิตจากภาครัฐในห้างสรรพสินค้า เป็นถุงสีเหลือง ซึ่งราคาทั้งรวมค่าเก็บขนและกำ จัดไว้แล้วใบละ 2.70 ถึง 3.0 บาทใส่จนเต็มมัดปากถุงเขียนชื่อที่อยู่และนำมากองไว้เพื่อให้เทศบาลมาเก็บตามวันเวลาที่กำหนด จุดที่กองไว้มีกล้องตรวจสอบตลอดเวลา ครัวเรือนไหนมีขยะอาหารมากจะต้องเสียเงินซื้อถุงมากขึ้น หากฝ่าฝืนนำขยะอาหารไปทิ้งในที่สาธารณะหรือส่งไปทิ้งกับขยะประเภทอื่นจะต้องเสียค่าปรับครั้งละ 100,000 วอนหรือประมาณ 2,700 บาท

2. ตามชุมชนในเมือง จะมีถังขยะอัจฉริยะของภาครัฐตั้งอยู่ โดยคนทิ้งขยะอาหารต้องทาบบัตรและจ่ายเงินตามน้ำหนักของขยะอาหารก่อน หลังจากนั้นฝาถังขยะอัจฉริยะจะเปิดออกจึงค่อยเทเศษอาหารลงไป ขยะดังกล่าวจะถูกภาครัฐเก็บไปหมักทำปุ๋ยทุกวัน

3. ห้างสรรพสินค้าและร้านค้า หากมีอาหารเหลือจากการขาย ก็จะนำไปบริจาคให้แก่ประชาชนทั่วไปหรือคนไร้โอกาส เพราะหากทิ้งเป็นขยะอาหารเมื่อไหร่ จะเสียเงินกำจัดราคาแพงกว่าขยะบ้านเรือนทั่วไป

4. ขยะอาหารในเกาหลีใต้ ถูกแยกตั้งแต่ต้นทางจะทำให้การจัดการขยะง่ายขึ้น โดยรัฐบาลได้ออกกฎหมายให้ประชาชนแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง คือขยะอาหาร ขยะรีไซเคิลได้ ขยะที่เผาได้ และขยะอันตราย เมื่อรัฐเก็บขยะมาแล้วสามารถนำขยะที่เผาได้ไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ส่วนขยะที่นำไปรีไซเคิลแล้วจะนำไปฝังกลบ ขยะอาหารจะนำทำปุ๋ยหมัก ขยะพิษฝังกลบแบบปลอดภัย สามารถจัดการขยะทุกส่วนได้หมดไม่ต้องเทกองเป็นภูเขาเหมือนบางประเทศ

5. ขณะที่บางประเทศยังไม่กล้าออกกฎหมายให้ประชาชนแยกขยะ ทั้งที่มีขยะอาหารเกิดขึ้นถึงร้อยละ 49 ทำเพียงแค่ออกโฆษณาประชาสัมพันธ์ส่งเสริมเป็นอีเว้นท์แล้วก็จบกันไป จึงไม่มีการแยกจริงจังอะไรประชาชนยังทิ้งขยะรวมกันลงในถังรวบรวมขยะ หน่วยงานรัฐเมื่อเก็บขยะรวมมาแล้วจึงต้องไปจ้างคนมาแยกบ้าง แต่หลายแห่งก็ไม่ได้แยก สุดท้ายที่ปลายทางคือภูเขาขยะแบบเทกอง หน้าร้อนไฟไหม้ หน้าฝนน้ำท่วมและปล่อยกลิ่นเหม็น...และให้จับตาน้ำท่วมกองขยะหน้าฝนนี้


ที่มา: Sonthi Kotchawat

ข่าวแนะนำ