TNN พยากรณ์อากาศ 26 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2567 พื้นที่ไหนมีฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนัก

TNN

Earth

พยากรณ์อากาศ 26 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2567 พื้นที่ไหนมีฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนัก

พยากรณ์อากาศ 26 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2567 พื้นที่ไหนมีฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 26 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2567 พื้นที่ไหนมีฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2567 คาดหมายอากาศทั่วไป ในช่วงวันที่ 26 – 27 กรกฎาคม 2567 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ทางด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง 


สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่าง มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร 


ส่วนในช่วงวันที่ 28 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2567 จะมีร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย 


ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร 


อนึ่ง พายุโซนร้อน “แคมี” ที่ปกคลุมบริเวณมณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับในระยะต่อไป โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ไว้ด้วย


ข้อควรระวัง ช่วงวันที่ 26 – 27 กรกฎาคม 2567 ขอให้ประชาชนบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง และในช่วงวันที่ 29 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2567 ประชาชนบริเวณภาคเหนือ และตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง 


กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2567


ภาคเหนือ

ช่วงวันที่ 26 – 27 กรกฎาคม  2567 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ทางด้านตะวันตกของภาค 

ส่วนในช่วงวันที่ 28 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2567  มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณตอนบนของภาค 

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 36 องศาเซลเซียส 


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ช่วงวันที่ 26 - 27 กรกฎาคม 2567 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง 

ส่วนในช่วงวันที่ 28 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2567  มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 36 องศาเซลเซียส


ภาคกลาง

ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณด้านตะวันตกของภาค ในช่วงวันที่ 26 - 27 กรกฎาคม 2567

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 36 องศาเซลเซียส 


ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง  ในช่วงวันที่ 26 - 27 กรกฎาคม 2567 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 28 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2567 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส


ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ช่วงวันที่ 26 - 27 กรกฎาคม 2567 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่  ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 28 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2567 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 36 องศาเซลเซียส


ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ช่วงวันที่ 26 - 27 กรกฎาคม 2567 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 28 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2567 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส


กรุงเทพและปริมณฑล

มีฝนหรือฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 27 - 29 กรกฎาคม 2567 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 36 องศาเซลเซียส 



ภาพจาก TNN ONLINE

ข่าวแนะนำ