TNN สนทช. เตือน 44 จังหวัด “เสี่ยงน้ำท่วม - ดินถล่ม” 15 - 20 กรกฎาคม

TNN

Earth

สนทช. เตือน 44 จังหวัด “เสี่ยงน้ำท่วม - ดินถล่ม” 15 - 20 กรกฎาคม

สนทช. เตือน 44 จังหวัด “เสี่ยงน้ำท่วม - ดินถล่ม”  15 - 20 กรกฎาคม

สนทช. เตือน 44 จังหวัด เสี่ยง “น้ำท่วม - ดินถล่ม” 15 - 20 กรกฎาคม จากอิทธิพลมรสุมกำลังแรงไทยเจอฝนตกหนัก

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ ในช่วงวันที่ 14 – 17 กรกฎาคม 2567 ร่องมรสุมกำลังแรงจะพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น 


ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สทนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำตามฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ จากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ เนื่องจากระบายไม่ทัน ช่วงวันที่ 15 – 20 กรกฎาคม 2567 ดังนี้

  

1. ภาคเหนือ 9 จังหวัดได้แก่


จังหวัดแม่ฮ่องสอน: (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ปางมะผ้า ปาย ขุนยวม แม่ลาน้อย แม่สะเรียง และสบเมย) 

จังหวัดตาก:  (อำเภอเมืองตาก ท่าสองยาง แม่ระมาด แม่สอด พบพระ และอุ้มผาง) จังหวัดสุโขทัย (อำเภอศรีสัชนาลัย ทุ่งเสลี่ยม และศรีสำโรง) 

จังหวัดพะเยา:  (อำเภอเมืองพะเยา เชียงคำ ปง และเชียงม่วน) 

จังหวัดน่าน:  (อำเภอเมืองน่าน ทุ่งช้าง ปัว ท่าวังผา แม่จริม และเวียงสา) 

จังหวัดแพร่: (อำเภอเมืองแพร่ สอง ร้องกวาง สูงเม่น และเด่นชัย) 

จังหวัดอุตรดิตถ์:  (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ฟากท่า และท่าปลา) 

จังหวัดพิษณุโลก:  (อำเภอชาติตระการ นครไทย วังทอง และเนินมะปราง) 

จังหวัดเพชรบูรณ์:  (อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ หล่มเก่า เขาค้อ และหล่มสัก)


 2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด


จังหวัดเลย: (อำเภอนาแห้ว เชียงคาน ด่านซ้าย และปากชม) 

จังหวัดหนองคาย: (อำเภอเมืองหนองคาย ศรีเชียงใหม่ และโพนพิสัย) 

จังหวัดบึงกาฬ:  (อำเภอบุ่งคล้า โซ่พิสัย เซกา และบึงโขงหลง) 

จังหวัดหนองบัวลำภู:  (อำเภอเมืองหนองบัวลำภู ศรีบุญเรือง และโนนสัง) 

จังหวัดอุดรธานี:  (อำเภอนายูง และน้ำโสม) 

จังหวัดสกลนคร: (อำเภอเมืองสกลนคร และอากาศอำนวย) 

จังหวัดนครพนม:  (อำเภอเมืองนครพนม ศรีสงคราม และธาตุพนม) 

จังหวัดชัยภูมิ:  (เมืองชัยภูมิ บ้านเขว้า จัตุรัส และคอนสวรรค์) 

จังหวัดขอนแก่น:  (อำเภอเมืองขอนแก่น) 

จังหวัดนครราชสีมา:  (อำเภอเมืองนครราชสีมา เมืองยาง ลำทะเมนชัย และพิมาย) 

จังหวัดกาฬสินธุ์:  (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และกมลาไสย) 

จังหวัดมุกดาหาร: (อำเภอเมืองมุกดาหาร และนิคมคำสร้อย) 

จังหวัดมหาสารคาม:  (อำเภอเมืองมหาสารคาม และโกสุมพิสัย) 

จังหวัดร้อยเอ็ด:  (อำเภอเมืองร้อยเอ็ด เสลภูมิ ทุ่งเขาหลวง และเกษตรวิสัย) 

จังหวัดยโสธร:  (อำเภอเมืองยโสธร ป่าติ้ว และคำเขื่อนแก้ว) 

จังหวัดอำนาจเจริญ: (อำเภอเมืองอำนาจเจริญ และหัวตะพาน) 

จังหวัดสุรินทร์:  (อำเภอเมืองสุรินทร์ ชุมพลบุรี ท่าตูม รัตนบุรี จอมพระ สนม โนนนารายณ์ และศีขรภูมิ) 

จังหวัดศรีสะเกษ:  (อำเภอราษีไศล และยางชุมน้อย) 

จังหวัดอุบลราชธานี:  (อำเภอน้ำยืน และศรีเมืองใหม่)


3. ภาคตะวันออก 7 จังหวัด


จังหวัดนครนายก: (อำเภอเมืองนครนายก และบ้านนา) 

จังหวัดปราจีนบุรี: (อำเภอเมืองปราจีนบุรี ประจันตคาม และนาดี) 

จังหวัดสระแก้ว:  (อำเภอเมืองสระแก้ววัฒนานคร โคกสูง และอรัญประเทศ) 

จังหวัดชลบุรี:  (อำเภอเมืองชลบุรี และศรีราชา) 

จังหวัดระยอง:  (อำเภอเมืองระยอง ปลวกแดง นิคมพัฒนา และแกลง) 

จังหวัดจันทบุรี:  (อำเภอเมืองจันทบุรี เขาคิชฌกูฏ มะขาม ขลุง และแหลมสิงห์) 

จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด บ่อไร่ เขาสมิง แหลมงอบ คลองใหญ่ เกาะช้าง และเกาะกูด)          

                  

4. ภาคใต้ 9 จังหวัด


จังหวัดระนอง: (อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และสุขสำราญ) 

จังหวัดพังงา: (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง และท้ายเหมือง) 

จังหวัดภูเก็ต: (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง)

 จังหวัดกระบี่: (อำเภอเขาพนม) 

จังหวัดสุราษฎร์ธานี: (อำเภอเมืองพุนพิน เคียนซา บ้านนาเดิม บ้านนาสาร และเวียงสระ) 

จังหวัดตรัง: (อำเภอเมืองตรัง ปะเหลียน นาโยง กันตัง ห้วยยอด หาดสำราญ รัษฎา และวังวิเศษ) 

จังหวัดสตูล: (อำเภอเมืองสตูล ควนโดน ควนกาหลง ทุ่งหว้า และมะนัง) 

จังหวัดยะลา: (อำเภอยะหา และรามัน) 

จังหวัดนราธิวาส: (อำเภอเจาะไอร้อง สุไหงปาดี สุไหงโก-ลก และแว้ง)


นอกจากนี้ สนทช. ได้เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จังหวัดน่าน พะเยา พิษณุโลก สุโขทัย เลย สกลนคร อุดรธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา ตราด และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก ที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ ให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบบริเวณท้ายเขื่อนน้อยที่สุด


ข้อมูลจาก: สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

ภาพจากAFP 

ข่าวแนะนำ