TNN ลุยศึกษาซากหมาป่าโบราณในชั้นเยือกแข็ง อายุกว่า 44,000 ปี บังเอิญเจอเพราะน้ำแข็งละลายจากโลกร้อน

TNN

Earth

ลุยศึกษาซากหมาป่าโบราณในชั้นเยือกแข็ง อายุกว่า 44,000 ปี บังเอิญเจอเพราะน้ำแข็งละลายจากโลกร้อน

ลุยศึกษาซากหมาป่าโบราณในชั้นเยือกแข็ง อายุกว่า 44,000 ปี บังเอิญเจอเพราะน้ำแข็งละลายจากโลกร้อน

นักวิทยาศาสตร์รัสเซีย ชันสูตรซากหมาป่าดึกดำบรรพ์ที่ถูกแช่อยู่ในชั้นเยือกแข็ง อายุกว่า 44,000 ปีก่อน หลังน้ำแข็งละลายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โดยซากหมาป่าโบราณถูกค้นพบโดยบังเอิญเมื่อ ปี 2021 หรือ 3 ปีก่อน ในเขตอาบีสกีของภูมิภาคยากูเตีย อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศรัสเซีย โดยสภาพค่อนข้างสมบูรณ์เนื่องจากอยู่ในชั้นเดินเยือกแข็ง (Permafrost) มานานกว่า 44,000 ปี ซึ่งเป็นการค้นพบนักล่าในยุคไพลสโตซีนตอนปลายครั้งแรกของโลก 
ยากูเตีย เป็นพื้นที่หนองบึง และมีป่าไม้กว้างใหญ่ ขนาดเทียบเท่ากับรัฐเท็กซัสของสหรัฐฯ พื้นที่กว่าร้อยละ 95 ปกคลุมด้วยชั้นดินเยือกแข็ง อุณหภูมิในฤดูหนาวลดต่ำถึง -64 องศาเซลเซียส จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากมีการค้นพบซากสัตว์อายุหลายร้อย หลายพันปีถูกฝังอยู่ใต้ชั้นดิน ซึ่งปัจจุบันกำลังละลายลงอย่างช้าๆ สาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
อัลเบิร์ต โปรโตโปปอฟ หัวหน้าแผนกศึกษาและวิจัยสัตว์ของสถาบันวิทยาศาสตร์ยากูเตีย ระบุว่า การชันสูตรซากหมาป่าดึกดำบรรพ์ตัวนี้มีเป้าหมายหลักเพื่อทำความเข้าใจว่าวิถีชีวิตของสัตว์โบราณที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และข้อมูลเกี่ยวกับชนเผ่ายากูเตียเมื่อ 44,000 ปีก่อน รวมถึงชเพื่อศึกษาทำความเข้าใจสาเหตุที่ทำให้สัตว์และพืชสูญพันธุ์ในอดีต โดยปกติแล้วจะพบซากสัตว์กินพืชบริเวณหนองบึงและถูกแช่แข็งไว้ แต่ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการพบสัตว์กินเนื้อ ซึ่งเป็นนักล่าขนาดใหญ่ หมาป่าเป็นสัตว์ที่กระตือรือร้น แม้ว่าจะตัวเล็กกว่าสิงโตและหมี แต่ก็เป็นนักล่าที่เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว 
ที่มา: Reuters

ข่าวแนะนำ