กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์สภาพอากาศในเดือนมิถุนายน ฝนชุกครึ่งแรกของเดือน จากนั้นอาจเกิดฝนทิ้งช่วง 2-3 สัปดาห์
เดือนมิถุนายน ปกติแล้วจะมีฝนตกชุกในระยะครึ่งแรกของเดือน จากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัด ปกคลุมประเทศไทย กับร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านบริเวณตอนกลางของประเทศไทย จากนั้นฝนจะลดลงและ อาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงขึ้นได้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณประเทศไทยตอนบน เนื่องจากร่องความกด อากาศต่ำได้เคลื่อนขึ้นไปพาดผ่านทางตอนใต้ของประเทศจีน
ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศ ไทยมีกำลังอ่อนลง นอกจากนี้อาจมีพายุหมุนเขตร้อนจากมหาสมุทรแปซิฟิก หรือทะเลจีนใต้เคลื่อนเข้ามาใกล้หรือ เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยได้ โดยเฉพาะทางด้านตะวันออกของประเทศ
ปริมาณฝนรวมบริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่จะมากกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 10 ยกเว้น บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีปริมาณฝนรวมใกล้เคียงค่าปกติ
โดยจะมีปริมาณฝนรวมตามภาค ต่าง ๆ ดังนี้
ภาคเหนือประมาณ 130-170 มม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 180-220 มม.
ภาคกลางประมาณ 130-170 มม.
ภาคตะวันออกประมาณ 260-310 มม.
กรุงเทพมหานครและปริมณฑลประมาณ 190-230 มม.
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก 110-150 มม.
ภาคใต้ฝั่งตะวันตกประมาณ 340-400 มม.
อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยส่วนใหญ่จะสูงกว่าค่าปกติประมาณ 0.5-1 องศาเซลเซียส โดยประเทศไทย ตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34-36 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 25-27 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้จะ มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32-34 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 24-26 องศาเซลเซียส
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา