TNN พยากรณ์ฤดูฝน 2567 ลุ้น ‘พายุไซโคลน’ ก่อตัวพ.ค. - มิ.ย. ฝนตกหนักกว่าปกติ

TNN

Earth

พยากรณ์ฤดูฝน 2567 ลุ้น ‘พายุไซโคลน’ ก่อตัวพ.ค. - มิ.ย. ฝนตกหนักกว่าปกติ

พยากรณ์ฤดูฝน 2567 ลุ้น ‘พายุไซโคลน’ ก่อตัวพ.ค. - มิ.ย. ฝนตกหนักกว่าปกติ

พยากรณ์ฤดูฝน 67 ลุ้นพายุไซโคลนก่อตัวช่วงเดือนพฤษภาคม - เดือนมิถุนายนเผชิญ ‘ฝนตกหนัก’ สูงกว่าค่าเฉลี่ย 10%

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ปริมาณฝนตกในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึง เดือนมิถุนายน โดยระบุว่า เดือนพฤษภาคม เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูร้อนเป็นฤดูฝน ปกติสภาวะอากาศในระยะครึ่งแรกของเดือนจะยังคง มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป และมักเกิดพายุฝนฟ้าคะนองหรือพายุฤดูร้อนได้บ่อยครั้ง และในบางครั้งอาจมีลูกเห็บตกได้ ด้วย จากอิทธิพลของความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อน 


ส่วนระยะครึ่งหลังของเดือน ซึ่งเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน อุณหภูมิจะ ลดลงและมีฝนตกชุกเพิ่มมากขึ้น โดยลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยเริ่มเปลี่ยนเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนร่อง ความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านประเทศมาเลเซียได้เลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคใต้และภาคกลางของประเทศไทยตามลําดับ นอกจากนี้อาจมีพายุไซโคลนก่อตัวในทะเลอันดามัน หรืออ่าวเบงกอลแล้วเคลื่อนเข้ามาใกล้หรือเข้าสู่ทางด้านตะวันตก ของประเทศได้


สำหรับปริมาณฝนในเดือนพฤษภาคม ปริมาณฝนรวมบริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่จะต่ำกว่าค่าปกติร้อยละ 30  ยกเว้น ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือจะต่ำกว่าค่าปกติร้อยละ 20 ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะต่ำกว่าค่าปกติร้อยละ 10 ส่วนภาคใต้ฝั่ง ตะวันตกจะใกล้เคียงค่าปกติ โดยจะมีปริมาณฝนรวมตามภาคต่างๆ ดังนี้ ภาคเหนือและภาคใต้ฝั่งตะวันออกประมาณ 100 - 140 มม. 


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 130 – 170 มม. ภาคกลางประมาณ 90 – 120 มม. ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลประมาณ 120 - 160 มม. ภาคใต้ฝั่งตะวันตกประมาณ 280 - 320 มม.

อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยส่วนใหญ่จะสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1-1.5 องศาเซลเซียส โดยประเทศไทย ตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 36 - 38 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 26 - 28 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้จะ มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34 - 36 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 25 - 27 องศาเซลเซียส


สำหรับ เดือนมิถุนายน ปกติแล้วจะมีฝนตกชุกในระยะครึ่งแรกของเดือน จากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัด ปกคลุมประเทศไทย กับร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านบริเวณตอนกลางของประเทศไทย จากนั้นฝนจะลดลงและ อาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงขึ้นได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณประเทศไทยตอนบน เนื่องจากร่องความกด อากาศต่ำได้เคลื่อนขึ้นไปพาดผ่านทางตอนใต้ของประเทศจีน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศ ไทยมีกําลังอ่อนลง 


นอกจากนี้อาจมีพายุหมุนเขตร้อนจากมหาสมุทรแปซิฟิก หรือทะเลจีนใต้เคลื่อนเข้ามาใกล้หรือสู่ ประเทศไทยได้ โดยเฉพาะทางด้านตะวันออกของประเทศ


ขณะที่ ปริมาณฝนในเดือนมิถุนายน ประเทศไทยส่วนใหญ่จะสูงกว่าค่าปกติร้อยละ 10 ยกเว้น ภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะใกล้เคียงค่าปกติ โดยจะมีปริมาณฝนรวมตามภาคต่างๆ ดังนี้ ภาคเหนือประมาณ 120 – 160 มม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 180 -220 มม. 


ภาคกลางประมาณ 130 - 170 มม. และภาคตะวันออกประมาณ 270 - 310 มม. และ. กรุงเทพมหานครและปริมณฑลประมาณ 210 - 240 มม. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก 110 – 150 มม. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ประมาณ 350 - 390 มม.


อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยส่วนใหญ่จะสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1 องศาเซลเซียส โดยประเทศไทยตอนบนจะ มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34 - 36 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 25 - 27 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้จะมีอุณหภูมิ สูงสุดเฉลี่ย 32 - 34 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 24 - 26 องศาเซลเซียส


ข้อมูลจาก: กรมอุตุนิยมวิทยา 

ภาพจากTNN ONLINE 

ข่าวแนะนำ