TNN online เปิดสาเหตุ "แผ่นดินไหวเชียงราย" สั่นสะเทือนหลายอำเภอ เกิดจากอะไร?

TNN ONLINE

Earth

เปิดสาเหตุ "แผ่นดินไหวเชียงราย" สั่นสะเทือนหลายอำเภอ เกิดจากอะไร?

เปิดสาเหตุ แผ่นดินไหวเชียงราย สั่นสะเทือนหลายอำเภอ เกิดจากอะไร?

ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี เปิดสาเหตุ "แผ่นดินไหว" ขนาด 3.6 บริเวณ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย

ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี เปิดสาเหตุ "แผ่นดินไหว" ขนาด 3.6 บริเวณ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย


ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี รายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหวบริเวณอำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย โดย วันที่ 21 กันยายน 2566 เวลา 00.45 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.6 จัดเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก (Minor) ที่ระดับความลึก 2 กิโลเมตร บริเวณตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ละติจูด 19.750 องศาเหนือ ลองจิจูด 99.693 องศาตะวันออก และได้เกิดแผ่นดินไหวในบริเวณใกล้เคียงกัน จำนวน 4 ครั้ง ขนาดตั้งแต่ 0.9–2.4 (ที่มา : กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา)



สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว


เกิดจากการเลื่อนตัวของกลุ่ม รอยเลื่อนแม่ลาว ที่มีการวางตัวในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีการเลื่อนตัวตามแนวระนาบเหลื่อมซ้าย (Left lateral strike slip fault) (ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี)


ประชาชนในพื้นที่ตำบลดงมะดะ ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว ตำบลทรายขาว ตำบลเมืองพาน อำเภอพาน ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย ตำบลท่าสาย ตำบลเวียง ตำบลสันทราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย สามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว เบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหาย (ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา และเครือข่ายฯ ทธ.)



เปิดสาเหตุ แผ่นดินไหวเชียงราย สั่นสะเทือนหลายอำเภอ เกิดจากอะไร?





ขณะที่เพจ Weatherradio  ได้ระบุข้อความว่า กรมอุตุนิยมวิทยา โดยกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว ตรวจพบการเกิดแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2566 เวลา 00.45 น. จุดศูนย์กลางอยู่บริเวณ ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ที่ละติจูด 19.750 องศาเหนือ ลองจิจูด 99.693 องศาตะวันออก ขนาด 3.6 ความลึก 2 กิโลเมตร ได้รับแจ้งรู้สึกสั่นไหวบริเวณ อ.เมืองเชียงราย อ.แม่ลาว อ.พาน อ.แม่สรวย จ.เชียงราย โดยได้รับแจ้งจากประชาชนผ่านเว็บไซต์ earthquake.tmd.go.th เบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงานความเสียหาย

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่าเกิดจากกลุ่มรอยเลื่อนแม่ลาว ซึ่งเป็น 1 ใน 16 กลุ่มรอยเลื่อนที่มีพลัง มีการวางตัวในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ที่พาดผ่านอำเภอแม่สรวย อำเภอแม่ลาว และอำเภอเมืองเชียงรายของจังหวัดเชียงราย รอยเลื่อนนี้มีความยาวประมาณ 80 กิโลเมตร มีแผ่นดินไหวขนาดเล็ก และปานกลางเกิดขึ้นเป็นประจำ 


ในอดีตที่ผ่านมาผลจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนแม่ลาวทำให้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในรอบกว่า 50 ปี คือเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.3 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 มีจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ในเขตตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อบ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชนโรงเรียน วัด และโรงพยาบาล ในอำเภอแม่ลาว อำเภอแม่สรวย และอำเภอพาน สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนถึงตึกสูงในกรุงเทพมหานคร 


อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยาจะติดตามและรายงานสถานการณ์ต่อไป ขอให้ประชาชนติดตามประกาศอย่างใกล้ชิดได้ทางเว็บไซต์กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา earthquake.tmd.go.th เฟซบุ๊กและแพล็ตฟอร์ม X : EarthquakeTMD โทรศัพท์หมายเลข 0-2366-9410, 0-2399-0969, 0-2399-4547 และสายด่วน 1182 ตลอด 24 ชั่วโมง





ที่มา ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี / Weatherradio

ภาพจาก AFP/ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง