TNN พยากรณ์อากาศสัปดาห์หน้า พื้นที่ไหน "พายุฤดูร้อน" ถล่ม - อากาศร้อนจัด

TNN

Earth

พยากรณ์อากาศสัปดาห์หน้า พื้นที่ไหน "พายุฤดูร้อน" ถล่ม - อากาศร้อนจัด

พยากรณ์อากาศสัปดาห์หน้า พื้นที่ไหน พายุฤดูร้อน ถล่ม - อากาศร้อนจัด

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศสัปดาห์หน้า 26 มีนาคม - 4 เมษายน 2566 พื้นที่ไหน "พายุฤดูร้อน" ถล่ม - กลางวันอากาศร้อนจัด

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศสัปดาห์หน้า 26 มีนาคม 2566 - 4 เมษายน 2566 พื้นที่ไหน "พายุฤดูร้อน" ถล่ม กลางวันอากาศร้อนจัด

พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชั่วโมง) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 26 มีนาคม - 4 เมษายน 2566 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) 

เตือน!!! ช่วง 26 -29 มีนาคม 2566 

อากาศยังร้อน และร้อนจัดในช่วงกลางวัน และช่วงเย็น-ค่ำวันนี้คาดว่าจะเริ่มมีพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (ฝน/ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บ) โดยเริ่มทางด้านตะวันออกของภาคอีสาน และภาคตะวันออกก่อน 

สาเหตุมาจากมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจะแผ่ลงมาปกคลุม ทางภาคอีสานตอนบน ทำให้เกิดแนวพัดสอบเข้ากันของลม 2 กระแส คือลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในบริเวณดังกล่าว  

ประกอบกับประเทศไทยตอนบนมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมอยู่ในขณะนี้ ทำให้สภาพอากาศแปรปวน ต้องระวังพายุฤดูร้อน (ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า ลูกเห็บ)  ฝนพอจะช่วยคลายร้อนได้บ้าง 

ก่อนที่ช่วง 30 มีนาคม - 4 เมษายน 2566 อากาศจะกลับมาร้อนเหมือนเดิม  แต่ยังมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้บางแห่ง บริเวณภาคตะวันออก 

(ข้อมูลนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)  

เฉดสี แสดงถึงปริมาณฝนสะสมทุกๆ 24 ชั่วโมง

สีฟ้า หมายถึง ฝนเล็กน้อย 

สีแดง หมายถึง ฝนตกหนัก 

สีชมพู หมายถึง ฝนตกหนักมาก

พยากรณ์อากาศสัปดาห์หน้า พื้นที่ไหน พายุฤดูร้อน ถล่ม - อากาศร้อนจัด

พยากรณ์อากาศสัปดาห์หน้า พื้นที่ไหน พายุฤดูร้อน ถล่ม - อากาศร้อนจัด

พยากรณ์อากาศสัปดาห์หน้า พื้นที่ไหน พายุฤดูร้อน ถล่ม - อากาศร้อนจัด







ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

ข่าวแนะนำ