TNN “เจมส์ เว็บบ์” ค้นพบ 6 กาแลกซีขนาดใหญ่เท่าทางช้างเผือก

TNN

Earth

“เจมส์ เว็บบ์” ค้นพบ 6 กาแลกซีขนาดใหญ่เท่าทางช้างเผือก

“เจมส์ เว็บบ์” ค้นพบ 6 กาแลกซีขนาดใหญ่เท่าทางช้างเผือก

Environment: กล้อง “เจมส์ เว็บบ์” ค้นพบ 6 กาแลกซีขนาดใหญ่เท่าทางช้างเผือก คาดอายุไม่ต่ำกว่า 500-700 ล้านปี

“เจมส์ เว็บบ์” กล้องโทรทรรศน์อวกาศ (JWST) ที่พัฒนาโดยองค์การนาซา, สำนักงานอวกาศยุโรป และสำนักงานอวกาศแคนาดา ได้พบกาแลกซี 6 แห่ง ที่มีขนาดใหญ่เกือบเท่าทางช้างเผือก ( Milky Way) และจากการวิเคราะห์แสงที่ปล่อยออกมาจากแกแลกซีเหล่านี้ ทำให้บรรดานักดาราศาสตร์ เชื่อว่า กาแลกซีดังกล่าว มีอายุระหว่าง 500 ถึง 700 ล้านปี หลังเกิดบิ๊กแบง หรือ การระเบิดครั้งใหญ่ และมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นจนมีมวลมหาศาลหลายหมื่นหรือหรือหลายแสนล้านเท่าของดวงอาทิตย์ ทำให้พวกมันกลายเป็นดาราจักรขนาดใหญ่มหึมาเท่ากับดาราจักรรุ่นหลังอย่างกาแลกซีทางช้างเผือกเลยทีเดียว


ตอนแรกกาแลกซีเหล่านี้ไม่ได้สร้างความประหลาดใจเท่าไรนัก เพราะนักดาราศาสตร์คาดหวังว่ากลุ่มดาวแรกจะปรากฏออกมาหลังจักรวาลหลุดพ้นจากยุคมืด แต่การพบกาแลกซีดังกล่าวจากกล้องโทรทรรศน์ “เจมส์ เว็บบ์” สร้างความประหลาดใจอย่างมาก เพราะดวงดาวในกาแลกซีที่พบมีอายุเก่าแก่ ซึ่งการค้นพบนี้ขัดแย้งกับแบบจำลองที่เป็นตัวแทนของกาแลกซีในยุคแรก เรื่องนี้อาจทำให้นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องคิดใหม่ว่า กาแลกซีก่อตัวและวิวัฒนาการอย่างไร ทั้งที่ทฤษฎีในปัจจุบันบอกว่ากาแลกซีมีจุดเริ่มต้นจากกลุ่มเมฆขนาดเล็กของดวงดาวและฝุ่นที่ขยายตัวเมื่อเวลาผ่านพ้นไป


“โจเอล เลฮา” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเพนน์ สเตท เปิดเผยว่า ทางนักวิทยาศาสตร์คาดหวังว่า จะพบกาแลกซีอายุน้อยที่ยังเล็กอยู่ในตอนนี้ แต่กลับมาค้นพบกาแลกซีขนาดใหญ่พอๆ กับกาแลกซีทางช้างเผือก ขณะที่ “เอ็มมา แชปแมน” นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮมในอังกฤษ เปิดเผยว่า การค้นพบกาแลกซีขนาดใหญ่ที่ก่อตัวอย่างรวดเร็วหลังเกิดเหตุการณ์บิ๊กแบง เผยให้เห็นว่ายุคมืดที่จักรวาลยังไม่มีดวงดาวนั้นอาจไม่ได้มืดทั้งหมด เพราะจักรวาลในยุคแรกเริ่มอาจเต็มไปด้วยดาวฤกษ์และกาแลกซีที่กำลังก่อตัว ซึ่งเกิดขึ้นเร็วกว่าที่นักดาราศาสตร์ประเมินไว้


หลังจากนี้ทีมผู้วิจัยจะตรวจสอบยืนยันผลการศึกษาอีกครั้ง โดยใช้กล้อง JWST บันทึกแสงจากกาแล็กซีโบราณทั้งหกในช่วงความยาวคลื่นต่าง ๆ หรือสเปกตรัม ซึ่งข้อมูลที่ได้จะบอกถึงมวลและระยะห่างจากโลกของกาแล็กซีประหลาดได้ละเอียดแม่นยำขึ้น



ที่มา: Reuters, NASA/JWST


ติดตามข่าวสภาพอากาศ และเช็กจุดฝนตก น้ำท่วม ถนนรถติด ผ่าน TNN EARTH

Website : https://bit.ly/3MXvq5I

Youtube : https://bit.ly/3MZUVmK

TikTok : https://bit.ly/3naJL4p

Facebook : https://bit.ly/3bxVMy0

Line : https://lin.ee/rPHmFpD

เช็กเส้นทางรถติด : http://www.bmatraffic.com/index.aspx

ข่าวแนะนำ