ทำความรู้จัก “เหมยขาบ” ต่างจาก “น้ำค้างแข็ง” อย่างไร
ในข้อมูลการเกิดปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ “เหมยขาบ” ไม่ใช้ “น้ำค้างแข็ง” เพราะเหมยขาบจะเกิดขึ้นเมื่ออากาศชื้นใกล้ผิวดินมีอุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ไอน้ำในอากาศจะกลายเป็นน้ำแข็งทันทีโดยไม่กลั่นตัวเป็นหยดน้ำก่อน
ช่วงนี้ภาคเหนือ อากาศหนาวถึงหนาวจัด บนยอดดอย เกิดเหมยขาบ ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงามขึ้นบ่อยครั้ง “เหมยขาบ” พบมากตั้งแต่เดือนธันวาคม– กุมภาพันธ์ เกล็ดน้ำแข็งที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะวิบวับอยู่ตามใบไม้ยอดหญ้าในช่วงเช้า ๆ เหมยขาบ เป็นภาษาพื้นเมืองทางภาคเหนือ โดยคำว่า เหมยขาบ ราชบัณฑิตยสภาได้อธิบายไว้ว่า คำนี้ประกอบด้วยคำว่า “เหมย” ซึ่งแปลว่า น้ำค้าง กับคำว่า “ขาบ” แปลว่า ชิ้นเล็กๆ รวมกันเป็นเหมยขาบที่แปลว่าน้ำค้างแข็งแผ่นบางๆ และในภาษาถิ่นอีสานจะเรียกว่า แม่คะนิ้ง ในข้อมูลการเกิดปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ “เหมยขาบ” ไม่ใช้ “น้ำค้างแข็ง” เพราะเหมยขาบจะเกิดขึ้นเมื่ออากาศชื้นใกล้ผิวดินมีอุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ไอน้ำในอากาศจะกลายเป็นน้ำแข็งทันทีโดยไม่กลั่นตัวเป็นหยดน้ำก่อน แต่ในส่วนของ “น้ำค้างแข็ง” จะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อไอน้ำในอากาศกลั่นตัวเป็นหยดน้ำค้าง หลังจากนั้นหยดน้ำค้างจึงจะแข็งตัวเป็นหยดน้ำแข็งในภายหลัง เมื่ออุณหภูมิลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง สามารถพบได้ในที่อากาศหนาวจัด สำหรับทั้งสองปรากฏการณ์นี้ สวยงาม นักท่องเที่ยวชอบ แต่ข้อเสียก็มี เพราจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ช่วงฤดูหนาวนี้ เกษตรกรจึงต้องระวังเป็นพิเศษ