TNN เอเชียเจอ “อากาศสุดขั้ว” บ่อยขึ้น จากภาวะโลกรวน

TNN

Earth

เอเชียเจอ “อากาศสุดขั้ว” บ่อยขึ้น จากภาวะโลกรวน

เอเชียเจอ “อากาศสุดขั้ว” บ่อยขึ้น จากภาวะโลกรวน

“อุณหภูมิเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นเพิ่มขึ้นทุกทศวรรษมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2503 ดังนั้นในอนาคตเสี่ยงที่จะเจอกับสภาพอากาศสุดขั้วเช่นที่รุนแรงขึ้นและถี่ขึ้น”

หลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย ทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก ต่างได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เช่น เมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กรุงโซลของเกาหลีใต้ เจอกับพายุฝนที่รุนแรงอุตุนิยมวิทยาเกาหลีใต้เปิดเผยว่า นี่อาจเป็นหนึ่งในพายุฝนที่หนักที่สุดในรอบ 80 ปีของประเทศ บางพื้นที่ของกรุงโซลปริมาณฝนที่ตก 1 วัน สูงเท่ากับ ปริมาณฝนของหน้าร้อนทั้งเดือน สิ่งเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เกิดขึ้น และความรุนแรงของสภาพอากาศสุดขั้ว นอกจากเอเชียตะวันออกแล้ว ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เสี่ยงที่จะเจอกับสภาพอากาศสุดขั้วเช่นกัน หลายประเทศเผชิญพายุและน้ำท่วมที่รุนแรงขึ้นและถี่ขึ้น เช่น โฮจิมินห์ของกัมพูชา จาการ์ตาของอินโดนีเซีย มะนิลาของฟิลิปปินส์ รวมถึง กรุงเทพฯ หลายเมืองใหญ่อยู่ติดทะเล ทำให้อาจได้รับความเสี่ยงจากปัญหาระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง และทำให้เมืองจมน้ำได้ในอนาคต เพราะอุณหภูมิเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นเพิ่มขึ้นทุกทศวรรษมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2503 ข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผย 10 อันดับประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกรวนมากที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 พบว่า 4 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เวียดนาม เมียนมา ฟิลิปปินส์ รวมถึงไทย ติดอันดับด้วย โดยไทย อยู่ในอันดับ 9 เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนก็จะส่งผลให้เกิดภัยพิบัติรุนแรงขึ้น กระทบทั้งความเป็นอยู่ เศรษฐกิจและความมั่นคงด้านอาหารด้วย ดังนั้นข้อมูลต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้เราต้องตื่นตัว หันมาใส่ใจโลกและประเทศของเราให้มากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤตสภาพอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ข่าวแนะนำ