TNN เปิดที่มา ชื่อเรียก “พายุหมุนเขตร้อน” แตกต่างกันตามแหล่งกำเนิดพายุ

TNN

Earth

เปิดที่มา ชื่อเรียก “พายุหมุนเขตร้อน” แตกต่างกันตามแหล่งกำเนิดพายุ

เปิดที่มา ชื่อเรียก “พายุหมุนเขตร้อน” แตกต่างกันตามแหล่งกำเนิดพายุ

“พายุหมุนเขตร้อนมักจะถูกเรียกขานตามภาษาถิ่นของพื้นที่ที่พายุเหล่านั้นก่อตัวขึ้น ส่วนพายุหมุนเขตร้อนที่มีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศของประเทศไทย ส่วนใหญ่มีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิก เหนือด้านตะวันตกและทะเลจีนใต้ จะถูกเรียกว่าไต้ฝุ่น”

พายุหมุนเขตร้อนนั้น คือพายุขนาดใหญ่ที่ก่อตัวขึ้นในทะเลและมหาสมุทรแถบเส้นศูนย์สูตร โดยก่อตัวขึ้นบริเวณผิวน้ำทะเลหรือมหาสมุทรที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 27 องศาเซลเซียส โดยจะหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือและหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ แบ่งความรุนแรงเป็น 3 ระดับ ระดับแรกคือ ดีเปรสชัน เมื่อทวีกำลังแรงขึ้นมาอีกก็จะเป็นระดับพายุโซนร้อน และจากโซนร้อนเมื่อทวีกำลังแรงขึ้นอีกเป็นสามคือไต้ฝุ่น ซึ่งแต่ละพื้นที่นั้นก็จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน อย่างบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกนั้นจะเรียกพายุหมุนเขตร้อนที่มีความเร็วลมสูงกว่า 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงว่า “ไต้ฝุ่น” ส่วนมากจะพบในช่วงเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนธันวาคม ส่วนพายุที่มีแหล่งกำเนิดบริเวณมหาสมุทรอินเดีย จะเรียกว่า “ไซโคลน” ส่วนมากมักก่อตัวในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ถ้าเป็นพายุบริเวณมหาสมุทรรอบออสเตรเลียและบริเวณหมู่เกาะต่างๆจะเรียกว่า” วิลลีวิลลี” มักก่อตัวช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม และพายุบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก จะเรียกว่า “เฮอริเคน” ส่วนมากจะพบการก่อตัวในช่วงเดือนมิถุนายนต่อเนื่องไปจนถึงเดือนตุลาคม ซึ่งในส่วนของประเทศไทยเอง หลังจากนี้ไปก็ต้องจับตามากขึ้น เพราะคาดว่าจะมีพายุบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทวีกำลังแรงเป็นไต้ฝุ่นอีกหลายลูก

ข่าวแนะนำ