ไขข้อสงสัย? เกาะนิโคบาร์แผ่นดินไหว ห่างภูเก็ตแค่ 500 กม. มีโอกาสเกิดสึนามิไหม?
ไขข้อสงสัยจากเหตุการณ์ เกาะนิโคบาร์แผ่นดินไหวติดต่อกัน โดยห่างจากชายฝั่งภูเก็ตแค่ 500 กม. มีโอกาสจะเกิดสึนามิได้หรือไม่?
จากกรณี เกาะนิโคบาร์ ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งจังหวัดภูเก็ตแค่ราว 500 กิโลเมตร เกิดแผ่นดินไหวต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อวานที่ผ่านมาจนถึงช่วงเช้าวันนี้ รวมแล้ว 32 ครั้ง ทำให้เกิดข้อสงสัยในหมู่ประชาชนว่าจะมีโอกาสเกิดคลื่น 'สึนามิ' เหมือนในอดีตหรือไม่
ล่าสุด ศูนย์เฝ้าระวังและแผ่นดินไหว จ.ภูเก็ต ได้ชี้แจงข้อสงสัยดังกล่าวโดยระบุว่า “แผ่นดินไหวชุดนี้ไม่อาจก่อให้เกิดสึนามิได้” โดยมีเหตุผลประกอบดังนี้ แผ่นดินไหวไม่ใช่สึนามิ ทุกๆครั้งที่มีข่าวแผ่นดินไหวในทะเล ก็จะมีคำว่า ‘สึนามิ’ เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครั้งนี้ที่มีการบันทึกความสั่นสะเทือนตั้งแต่ระดับ 4.0 ขึ้นไป รวมได้ 28 ครั้ง
แน่นอนว่าสึนามิทุกครั้งเกิดในทะเล แต่ไม่ใช่จะเกิดทุกครั้งหลังแผ่นดินไหว ซึ่งแผ่นดินไหวที่จะทำให้เกิดสึนามิได้นั้น จะต้องประกอบด้วย 3 ประการคือ
1. ความรุนแรงระดับ 6.5 ขึ้นไป
2. เกิดจากการงัด/มุดของแผ่นเปลือกโลก
3. ความลึกสู่ผิวน้ำ
ส่วนการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณนอกชายฝั่งนิโคบาร์ช่วงสองวันนี้ (4-5 ก.ค. 2565) เป็นการเกิดในช่วงความรุนแรงที่ 4.0-5.6 ในโซนแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แบบแนวระนาบ (ลูกศรสีน้ำเงิน) และความลึกที่ 10-250+ กม.
ดังนั้น สรุปได้ว่าแผ่นดินไหวชุดนี้ไม่อาจก่อให้เกิดสึนามิได้ แม้จะมีการเชื่อมโยงถึงแรงลมและระดับน้ำที่ท่วมล้นหาดทรายแก้วก็ตาม ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้เป็นเพียงแค่เหตุการณ์ที่บังเอิญมาพร้อมกัน ถ้าเป็นน้ำที่มาจากสึนามิจริง ก่อนน้ำล้นจะต้องลดก่อน
‘สึนามิ’ (เกือบ) ทุกครั้งเกิดจากแผ่นดินไหว แต่แผ่นดินไหวทุกครั้งไม่เกิดสึนามิ"
ความรุนแรงระดับ 6.5-7.5 สามารถก่อให้เกิดสึนามิได้ แต่ไม่รุนแรงขนาดสร้างความเสียหายต่อบ้านเรือน คงทำให้เกิดดินสไลด์หรือเรือดำน้ำวูบๆ แต่ระดับ 7.6-7.9 จะทำให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนได้อย่างมากโดยเฉพาะบริเวณใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว ไกลออกไปอาจเห็นได้เพียงน้ำทะเลผิดปกติ แต่ระดับ 7.9 ขึ้นไป โดยเฉพาะระดับ 9.0 จะทำให้เกิดความวินาศไปในบริเวณกว้าง และอาจแถมด้วยอาฟเตอร์ช็อคระดับ 7.5+ ตามมาอีกหลายครั้ง (ลูกศรแดง)
ข้อมูลจาก : ศูนย์เฝ้าระวังและแผ่นดินไหว จ.ภูเก็ต
ภาพจาก : ศูนย์เฝ้าระวังและแผ่นดินไหว จ.ภูเก็ต/AFP