TNN “ฤดูน้ำแดง” เริ่มแล้ว คุ้มครองสัตว์น้ำจืดมีไข่ทั่วไทย

TNN

Earth

“ฤดูน้ำแดง” เริ่มแล้ว คุ้มครองสัตว์น้ำจืดมีไข่ทั่วไทย

“ฤดูน้ำแดง” เริ่มแล้ว คุ้มครองสัตว์น้ำจืดมีไข่ทั่วไทย

“กรมประมง ประกาศ “ฤดูน้ำแดง 2565” คุ้มครองสัตว์น้ำจืดมีไข่ทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่ 16 พ.ค. 65 ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ โดยกำหนดเครื่องมือ วิธีการทำการประมง และเงื่อนไขการทำประมง”

ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม สำหรับเกษตรกรที่เป็นชาวประมงนั้นจะเรียกฤดูนี้ว่าฤดูน้ำแดง โดย”ฤดูน้ำแดง” หมายถึงช่วงระยะเวลาที่น้ำในแม่น้ำลำคลองเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปริมาณฝนจำนวนมากที่ตกหนัก ซึ่งชะล้างหน้าดินและพัดพาตะกอนรวมถึงธาตุอาหารต่างๆลงสู่แม่น้ำลำคลอง ทำให้น้ำกลายเป็นสีแดง ช่วงเวลานี้ส่วนมากจะอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งช่วงนี้จะเป็นช่วงที่แม่น้ำลำคลองมีธาตุอาหารต่างๆมาก เป็นปัจจัยในการกระตุ้นให้สัตว์น้ำมีการผสมพันธุ์และวางไข่ เพราะฉะนั้นในช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงสำคัญที่จะเพิ่มประชากรสัตว์น้ำให้แก่แหล่งน้ำ เราจึงไม่ควรทำการจับสัตว์น้ำในช่วงเวลานี้ เพราะจะทำให้สัตว์น้ำไม่สามารถผสมพันพันธุ์หรือวางไข่ได้ รวมถึงตัวอ่อนก็ไม่สามารถเจริญเติบโต ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้กำหนดให้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม – 15 กันยานของทุกปีเป็น “ฤดูปลาวางไข่” ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ห้ามทำการประมงด้วยเครื่องมือหรือวิธีใดๆยกเว้นเครื่องมือที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประมงได้ ซึ่งแต่ละจังหวัดการกำหนดช่วงเวลาปลาวางไข่ อาจไม่ตรงกันเนื่องจากสภาพอากาศและสภาพภูมิประเทศในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน ซึ่งจุดประสงค์ก็เพื่อลดการทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำ ช่วงเวลากำหนดฤดูปลาวางไข่ 16 พฤษภาคม 2565 ถึง 15 สิงหาคม 2565 : ในพื้นที่ 33 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร เลย อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล 1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565 : ในพื้นที่ 39 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองบัวลำภู ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สุพรรณบุรี สระบุรี นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด 1 กันยายน 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565 : ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา โดยเครื่องมือ วิธีการทำการประมงที่อนุญาตให้สามารถทำการประมงในฤดูสัตว์น้ำจืดมีไข่ได้ มีดังนี้ 1. เบ็ดทุกชนิด ยกเว้น เบ็ดราว เบ็ดพวงที่ทำการประมงโดยวิธีการกระชาก หรือการใช้เครื่องมืออื่นใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน 2. ตะแกรง สวิง ช้อน ยอ หรือชนาง ซึ่งมีขนาดปากกว้างไม่เกิน 2 เมตร และไม่ทำการประมงด้วยวิธีประดาตั้งแต่สามเครื่องมือขึ้นไป 3. สุ่ม ฉมวก และส้อม 4. ไซ ตุ้ม อีจู้ ลัน 5. แหที่มีความลึกไม่เกิน 6 ศอก (3 เมตร) 6. การทำการประมงเพื่อการศึกษา วิจัย ทดลองทางวิชาการ หรือในพื้นที่โครงการที่ดำเนินการของทางราชการ ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมง ทั้งนี้ หากผู้ใดฝ่าฝืนตามประกาศฯ มาตรา 70 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีโทษปรับตั้งแต่ห้าพันถึงห้าหมื่นบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมง

ข่าวแนะนำ