TNN เปิดข้อมูลผลข้างเคียง-งานวิจัยประสิทธิภาพ ‘วัคซีนไฟเซอร์’ อัปเดตล่าสุด

TNN

เกาะติด COVID-19

เปิดข้อมูลผลข้างเคียง-งานวิจัยประสิทธิภาพ ‘วัคซีนไฟเซอร์’ อัปเดตล่าสุด

เปิดข้อมูลผลข้างเคียง-งานวิจัยประสิทธิภาพ ‘วัคซีนไฟเซอร์’ อัปเดตล่าสุด

เปิดข้อมูลผลข้างเคียงของวัคซีนไฟเซอร์ และ ประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโควิด-19 อัปเดตล่าสุด

วันนี้ ( 5 ต.ค. 64 )จากกรณีกระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้กับนักเรียน อายุ 12-18 ปีเพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดเรียนภาคที่ 2 ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ปกครองแล้วถึงเข้ารับวัคซีนได้

ทั้งนี้วัคซีนไฟเซอร์ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย รองรับวัคซีนโควิด mRNA ของ Pfizer BioNTech วัคซีนไฟเซอร์ เพื่อฉีดแก่เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปเมื่อไปวันที่ 22 ก.ย. ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม วัคซีนโควิดของไฟเซอร์ มีผลข้างเคียงดังต่อไปนี้ 

-อาการข้างเคียงเรื่องกล้ามเนื้อและเยื่อหัวใจอักเสบพบอัตราการเกิดผลข้างเคียงนี้ในวัยรุ่นชายอายุ 12 - น้อยกว่า 16 ปี เป็นจำนวน 162.2 ต่อจำนวนหนึ่งล้านโดส

-อาการนี้เกิดขึ้นในเด็กผู้ชายกลุ่มอายุ 12 - น้อยกว่า 16 ปี มากกว่าเด็กผู้หญิง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย จึงมีคำแนะนำให้ชะลอการฉีดเข็มสองในเด็กผู้ชายวัยนี้ออกไปก่อน

 ส่วนเด็กผู้หญิง รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็มได้ โดยห่างกันอย่างน้อย 3 สัปดาห์ 

เปิดข้อมูลผลข้างเคียง-งานวิจัยประสิทธิภาพ ‘วัคซีนไฟเซอร์’ อัปเดตล่าสุด

อาการที่ต้องเฝ้าระวังของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ มีดังนี้

1.แน่นหน้าอกเจ็บหน้าอก

2.หอบเหนื่อยง่าย

3.ใจสั่น

4.หมดสติเป็นลม

อาการข้างเคียงทั่วไปที่ไม่รุนแรง หลังจากได้รับวัคซีนไปแล้ว 1-2 วัน

1.มีไข้ หนาวสั่น

2.ปวดศีรษะ

3.ปวดกล้ามเนื้อ

4.ปวดข้อต่อ

5.ท้องเสีย

6.อ่อนเพลีย

7.ปวด บวม หรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

เปิดข้อมูลผลข้างเคียง-งานวิจัยประสิทธิภาพ ‘วัคซีนไฟเซอร์’ อัปเดตล่าสุด

ผลวิจัยประสิทธิภาพล่าสุดของวัคซีนไฟเซอร์

- นักวิจัยจากบริษัทไฟเซอร์และไคเซอร์ เพอร์มาเนนเต้เปิดเผยผลการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ไฟเซอร์พัฒนาขึ้นร่วมกับบริษัทไบออนเทคของเยอรมนี โดยระบุว่า วัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อลดลงจากเดิม 88% เหลือเพียง 47% หลังฉีดโดสสองไปได้ 6 เดือน

ข้อมูลดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ในวารสารการแพทย์ Lancet หลังจากที่ได้ประกาศผลการศึกษาดังกล่าวไปก่อนหน้านี้เมื่อเดือนส.ค. แต่เป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้ผ่านการทบทวนโดยผู้วิจัยรายอื่น ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทางการสหรัฐใช้เพื่อประเมินว่าควรฉีดวัคซีนเข็มสามเพื่อกระตุ้นภูมิหรือไม่

นักวิจัยเปิดเผยว่า ตัวเลขประสิทธิภาพที่ลดลงไม่ได้มีสาเหตุจากการกลายพันธุ์ของไวรัส โดยเป็นเพียงการลดลงตามปกติทั่วไปของวัคซีน ส่วนประสิทธิภาพในการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตนั้นยังคงอยู่ที่ 90% เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน แม้เป็นการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา

ลูอิส โฮดาร์ รองประธานอาวุโสและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการแพทย์ประจำแผนกวัคซีนของไฟเซอร์กล่าวว่า "ผลการวิเคราะห์เจาะจงสายพันธุ์แสดงให้เห็นชัดเจนว่า วัคซีนของไฟเซอร์และไบออนเทคมีประสิทธิภาพกับสายพันธุ์ที่น่ากังวลทุกสายพันธุ์ รวมถึงเดลตา" โดยผลการวิจัยดังกล่าวมาจากการศึกษาระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนราว 3.4 ล้านคนระหว่างเดือนธ.ค. 2563 ถึงเดือนส.ค. 2564


ข้อมูล : โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชันแนล ,ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ ,สำนักข่าวอินโฟเควส

ภาพจาก :  TNN ONLINE

ข่าวแนะนำ