‘ยาฆ่าพยาธิอิไวเวอร์เมคติน’ รักษาโควิดได้หรือไม่-ใช้ไม่ระวังเสี่ยงผิวหนังหลุด!
รพ.จุฬาลงกรณ์ ไขข้อสงสัย ‘ยาฆ่าพยาธิอิไวเวอร์เมคติน’ กับการรักษาโควิด ชี้เมืองไทยยังไม่รองรับ ใช้ไม่ระวังเสี่ยงแพ้ผิวหนังหลุด-ชัก
วันนี้ ( 21 ก.ย. 64 )โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ยาฆ่าพยาธิอิไวเวอร์เมคตินกับโรคโควิด โดยระบุว่าเป็นยาฆ่าพยาธิที่มีฤทธิ์ทำให้พยาธิเป็นอัมพาต ในประเทศไทยรับรองให้ใช้เฉพาะรักษาโรคพยาธิเส้นด้าย และ โรคโลหิตเท่านั้น
ยาฆ่าพยาธิอิไวเวอร์เมคตินกับโควิด
- ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพในการรักษาโรคโควิด-19อย่างชัดเจน
-ในประเทศไทยยังไม่อนุมัติรับรองให้ใช้ ยาฆ่าพยาธิอิไวเวอร์เมคติน เพื่อป้องกันหรือรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
- คลื่นไส้ อาเจียน
- มีไข้ อ่อนเพลีย หมดแรง
- ปวดศรีษะ เวียนศรีษะ มึนศรีษะ
- ผื่นคัน
- ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
- ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว
- ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ
- ตาอักเสบ การมองเห็นเปลี่ยนแปลง เจ็บตา ระคายเคืองตา
- ตาบวม
- ผู้ใช้ยาบางรายอาจอาการแพ้รุนแรง เช่น หน้ามืด เป็นลม แน่นหน้าอก หายใจลำบาก มีผื่นแดง ผิวหนังลอกหลุด มีจ้ำตามผิวหนัง หรือ เลือดออกผิดปกติ ชัก