TNN เปิดช่องทาง "ผู้ป่วยโควิด-19" ขอรับท่อ-เครื่องผลิตออกซิเจน-เติมก๊าซ ฟรี!

TNN

เกาะติด COVID-19

เปิดช่องทาง "ผู้ป่วยโควิด-19" ขอรับท่อ-เครื่องผลิตออกซิเจน-เติมก๊าซ ฟรี!

เปิดช่องทาง ผู้ป่วยโควิด-19 ขอรับท่อ-เครื่องผลิตออกซิเจน-เติมก๊าซ ฟรี!

กระทรวงสาธารณสุข เปิดช่องทางขอรับท่อ เครื่องผลิตออกซิเจน เติมก๊าซออกซิเจนทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ติดต่อได้ผ่าน 3 ช่องทาง ไม่เสียค่าใช้จ่าย

วันนี้ (31 ส.ค.64) ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานว่า กระทรวงสาธารณสุข เปิดช่องทางขอรับท่อ เครื่องผลิตออกซิเจน เติมก๊าซออกซิเจนทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 โดย ศูนย์สนับสนุนออกซิเจนทางการแพทย์ (Medical Oxygen Support Center) โดยความร่วมมือของภาครัฐและประชาสังคม ภายใต้ชื่อภารกิจ “ลมใต้ปีก” จัดส่งออกซิเจนทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่เข้าแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) และชุมชน/ศูนย์พักคอย (Community Isolation)

สำหรับรายที่จำเป็นต้องได้รับออกซิเจนทางการแพทย์เพื่อประคับประคองอาการระหว่างรอเข้าระบบการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่ต้องการออกซิเจนจะได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที ลดอาการรุนแรงและลดเสียชีวิต โดยมีทีมบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการติดตั้งที่ได้มาตรฐาน พร้อมแนะนำการใช้งานที่ถูกต้อง

เปิดช่องทาง ผู้ป่วยโควิด-19 ขอรับท่อ-เครื่องผลิตออกซิเจน-เติมก๊าซ ฟรี!

ผู้ป่วยโควิดที่ต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ 3 ช่องทาง คือ

1.โทรสายด่วนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 1426 ได้ตลอด 24 ชม.

2.เข้าไปที่เว็บไซต์ http://oxygen.hss.moph.go.th/ 

3.ขอรับผ่านเครือข่ายจิตอาสา หรือ JITASA.CARE

ทั้งนี้ ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่ประการใด

เปิดช่องทาง ผู้ป่วยโควิด-19 ขอรับท่อ-เครื่องผลิตออกซิเจน-เติมก๊าซ ฟรี!

อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดเผยข้อมูลว่า หลังจากได้นำลองให้บริการแล้วเมื่อ1-2 วันที่ผ่านมา มีผู้ป่วยติดต่อมายังสายด่วน 1426 ประมาณ 40-50 ราย ซึ่งการสนับสนุนเครื่องออกซิเจนจะให้กับผู้ติดเชื้อที่มี "ค่าออกซิเจนน้อยกว่า 94" ซึ่งเป็นใน "กลุ่มผู้ป่วยสีเหลือง" โดยจะมีทีมบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการติดตั้งที่ได้มาตรฐาน พร้อมแนะนำการใช้งานที่ถูกต้อง รวมทั้งมีการบริหารจัดการคลังอุปกรณ์ การขนส่ง เบิกจ่าย ที่เป็นระบบตลอด 24 ชั่วโมง 

โดยเครื่องผลิตออกซิเจนจะมีเจ้าหน้าที่โทรประสานติดตามอาการทุก 14 วัน ขณะที่ถังก๊าซออกซิเจนจะมีการติดตามอาการผู้ป่วยที่นำไปใช้ทุก 3 วัน จนกว่าอาการผู้ป่วยจะดีขึ้น หรือ ผู้ป่วยได้รับรักษาในสถานพยาบาล ถึงจะนำเครื่องออกซิเจนกลับ 

โดย "ถังก๊าซออกซิเจน" หรือ ไซเลนเดอร์ ขณะนี้มี 100 ถัง ขนาด 7 คิว โดย 1 เครื่องใช้ได้ประมาณ 2 วัน สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อที่สถานที่พัก อาจมีกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในชุมชนแออัด หากออกซิเจนหมดจะมีเจ้าหน้าที่ไปรับเครื่องมายังส่วนกลางและนำกลับไปส่งให้ใหม่ ส่วน "เครื่องผลิตออกซิเจน" มี 25 เครื่อง ต้องใช้ไฟตลอดเวลา โดยอีก 2 สัปดาห์จะมีเข้ามาเพิ่มเติม

ภาพรวมขณะนี้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีผู้ป่วยติดเชื้อเข้าระบบกักตัวที่บ้าน 57,118 ราย และที่อยู่ในศูนย์พักคอย กรุงเทพมหานคร 56 แห่ง 2,271 ราย

ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19


ข่าวแนะนำ