TNN เปิดงานวิจัยใหม่ เหตุใดเด็กติดโควิดแต่อาการไม่หนักเท่าผู้ใหญ่?

TNN

เกาะติด COVID-19

เปิดงานวิจัยใหม่ เหตุใดเด็กติดโควิดแต่อาการไม่หนักเท่าผู้ใหญ่?

เปิดงานวิจัยใหม่ เหตุใดเด็กติดโควิดแต่อาการไม่หนักเท่าผู้ใหญ่?

เปิดงานวิจัยใหม่จากเบอร์ลินและมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก เหตุใดเด็กติดโควิดแต่อาการไม่หนักเท่าผู้ใหญ่?

วันนี้( 24 ส.ค.64) จากการระบาดของโควิด-19 ทำให้ได้รู้ว่าโรคระบาดนี้ส่งผลกระทบต่อเด็ก "น้อย" กว่าผู้ใหญ่มาก และพบว่าเด็กๆส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อโควิด-19 นั้น มีเพียงอาการเล็กน้อยเท่านั้น 

ซึ่งเรารับรู้ข้อมูลนี้กันมานานนับปีแล้ว แต่ไม่เคยรู้ชัดถึงสาเหตุว่าเหตุใดเด็กถึงมีอาการจากโรคน้อยกว่าผู้ใหญ่

ล่าสุด มีการเปิดเผยงานวิจัยใหม่จากเบอร์ลิน และมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก ที่เพิ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature Biotechnology เมื่อเดือนสิงหาคม โดยเป็นงานวิจัยเพื่อตรวจสอบระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ว่าสาเหตุของเรื่องนี้เกิดจากอะไร พบว่า "เซลล์ของระบบทางเดินหายใจส่วนบน" ในร่างกายเด็กนั้นมีความตื่นตัวสูงอย่างต่อเนื่อง (their upper respiratory tract being on constant high alert) ทำให้นักวิจัยพบว่า เมื่อพวกเด็กๆติดเชื้อโควิด-19 เซลล์ในร่างกายพวกเขาจะสามารถต่อสู้กับไวรัสได้มากกว่าผู้ใหญ่มากซึ่งน่าจะเป็นการอธิบายได้ชัดเจนว่า เหตุใดเด็กๆจึงมีอาการป่วยน้อยหนักน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่มาก 

ผู้เขียนงานวิจัยระบุว่า การค้นพบครั้งนี้อาจเป็นการปูทางสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม ว่า นักวิทยาศาสตร์จะสามารถกระตุ้นการตอบสนนองการป้องกันล่วงหน้าในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง เพื่อให้เกิดระดับภูมิคุ้มกันที่คล้ายคลึงกับร่างกายของเด็ก ๆ เมื่อสัมผัสกับไวรัสได้หรือไม่

"เราต้องการเข้าใจว่า เหตุใดการป้องกันไวรัสจึงเกิดขึ้นมากในร่างกายเด็กๆมากกว่าวัยผู้ใหญ่" ไอรินา เลห์มันน์ หัวหน้าแผนกโมเลกุลระบาดวิทยา แห่งสถาบันการแพทย์เบอร์ลิน (BIH) กล่าว

ทั้งนี้ เพื่อหาคำตอบเรื่องนี้ นักวิทยาศาสตร์ ได้นำเซลล์ จากเยื่อบุจมูกของเด็กที่สุขภาพดีและเด็กที่ติดเชื้อรวม 42 คน มาเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ใหญ่ 44 คน เพื่อนำมาวิเคราะห์ "กิจกรรมของยีนบางชนิดในเซลล์ของแต่ละคน นักวิจัยระบุว่า ในการต่อสู้กับไวรัสให้ได้อย่างรวดเร็ว "ตัวรับที่จดจำรูปแบบ" ควรจะต้องทำงานอย่ารวดเร็วเช่นกัน 

ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ระบบดังกล่าวทำงานมากขึ้นในเซลล์ของระบบทางเดินหายใจส่วนบน และในเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันในเด็กบางเซลล์มากกว่าในวัยผู้ใหญ่ กล่าวคือ หากไวรัสเข้าไปในเซลล์ร่างกายจะผลิตสาร "interferon" ซึ่งเป็นตัวกลางในการต่อสู้กับไวรัส โดยในวัยผู้ใหญ่ พบว่าระบบเตือนภัยล่วงหน้าจะถูกดักไฟและไม่ได้ต่อสู้กับไวรัสอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้แพร่กระจายได้กว้างขวางมากขึ้น 

"เราได้เรียนรู้จากงานวิจัยชิ้นนี้อย่างชัดเจนว่า ไม่เพียงแต่มีปัจจัยเสี่ยงสำหรับกรณีรุนแรงของโควิด-19 หากแต่ยังรวมถึงปัจจัยด้านการป้องกันอีกด้วย" เลห์มันน์กล่าว

ผลวิจัยชิ้นนี้มีขึ้น ในระหว่างที่หลายประเทศรวมถึงสหรัฐฯและออสเตรเลีย กำลังเจอจำนวนผู้ป่วยเด็กเพิ่มสูงขึ้นจากการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์เดลตา 

จากข้อมูลปัจจุบัน พบว่า เด็กๆในสหรัฐฯมีสัดส่วนในการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลสูงกว่าเดือนก่อนหน้าราว 2.4% ขณะที่เด็กในวัยต่ำกว่า 12 ปี ยังไม่มีสิทธิ์ฉีดวัคซีน ทำให้พวกเขายังถูกจัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจติดเชื้อ และแพร่เชื้อได้อย่างแพร่หลายมากขึ้่น 


ข่าวแนะนำ