‘ออกซิเจนทางการแพทย์’ช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด 19 อย่างไร?
เปิดความสำคัญ ‘ออกซิเจนทางการแพทย์’ ที่หลายๆประเทศเริ่มขาดแคลน เหตุใดจึงเป็น 1 อุปกรณ์หลักที่ช่วยเซฟชีวิตของผู้ป่วยโควิด 19
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าหลายๆประเทศเข้าสู่สถานการณ์โควิดที่รุนแรง ประเทศอินเดียและอินโดนีเชีย ที่ขาดแคลน ‘ออกซิเจนทางการแพทย์’ เพื่อรักษาผู้ป่วย เช่นเดียวกันกับในอีกหลายประเทศที่กำลังประสบปัญหาเดียวกัน ออกซิเจนทางการแพทย์ คืออะไร และสามารถช่วยผู้ป่วยโควิด 19 ได้อย่างไร
องค์การอนามัยโลก หรือ WHO อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่าอากาศที่เราสูดกันแบบเต็มๆปอดอยู่นั้นประกอบด้วยสารหลายอย่าง ส่วนใหญ่คือสารไนโตรเจน 78% ลองลงมาคือออกซิเจน 21% และยังมีสารอื่นๆอย่างอาร์กอน 0.934% รวมถึงคารบอนไดออกไซค์ 0.031% หมายความว่าในทุกครั้งที่เราสูดหายใจ เราไม่ได้สูดเพียงออกซิเจนเพียงอย่างเดียว ในขณะที่ออกซิเจนทางการแพทย์ซึ่งในกราฟฟิกนี้เราจำลองเป็นรูปถังอากาศ มีออกซิเจนเกือบ 100% อาจพูดได้ว่าเป็นออกซิเจนบริสุทธ์ หรือ Pure Oxygen
เมื่อโควิดเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะอักเสบเพื่อต่อต้านสิ่งแปลกปลอม โดยถุงลมหรือ Air Sac ซึ่งในกราฟฟิกนี้คือวงกลมเล็กๆ สีเขียว โดยถุงลมเหล่านี้ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนอากาศกับหลอดเลือด ทันทีที่โควิดโจมตีร่างกายถุงลมในปอดก็จะถูกกระทบ สิ่งที่ตามมาคือประสิทธิภาพในการส่งออกซิเจนจากปอดไปสู่หลอดเลือดได้น้อยลง
ออกซิเจนมีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์ อวัยวะรวมถึงเซลล์ต่างๆต้องการออกซิเจนในการทำหน้าที่ เมื่อร่างกายขาดออกซิเจนเซลล์ต่างๆเริ่มตาย อวัยวะต่างก็อาจเริ่มตาย ซึ่งนี่ส่งผลโดยตรงต่อชีวิต
ดังนั้นสำหรับผู้ป่วยโควิด19ที่ร่างกายได้รับออกซิเจนได้น้อยลง อาจส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย ในกรณีรุนแรงผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ ออกซิเจนทางการแพทย์ หรือออกซิเจนบริสุทธิ์จึงมีความสำคัญต่อการช่วยชิวิตของผู้ติดเชื้่อโควิด อย่างไรก็ตาม WHO กังวลถึงความสามารถในการเข้าถึงออกซิเจนทางการแพทย์ เพราะการสกัดออกซิเจนทางการแพทย์ใช้เทคโนโลยีและเงิน ดังนั้นสำหรับในหลายประเทศจึงอาจต้องเผชิญหน้ากับปัญหาเรื่องขาดแคลนออกซิเจน