TNN ฟินแลนด์สุดล้ำพัฒนา ‘วัคซีนโควิดแบบฉีดจมูก’ หวังใช้เป็นโดสบูสเตอร์

TNN

เกาะติด COVID-19

ฟินแลนด์สุดล้ำพัฒนา ‘วัคซีนโควิดแบบฉีดจมูก’ หวังใช้เป็นโดสบูสเตอร์

 ฟินแลนด์สุดล้ำพัฒนา ‘วัคซีนโควิดแบบฉีดจมูก’ หวังใช้เป็นโดสบูสเตอร์

ฟินแลนด์ระดมทุนพัฒนาวัคซีนโควิดชนิดฉีดพ่นจมูก หวังใช้เป็นวัคซีนบูสเตอร์สำหรับผู้ที่เคยฉีดแบบดั้งเดิมมาแล้ว

 วันนี้(8 .. 64)มหาวิทยาลัยอิสเทิร์น ฟินแลนด์ เปิดเผยว่า คณะนักพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดฉีดพ่นจมูกของฟินแลนด์ ได้รับเงินทุนจำนวนมากทั้งจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาดำเนินการทดลองทางคลินิกต่อไปได้

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า วัคซีนชนิดฉีดพ่นจมูกอยู่ระหว่างพัฒนาโดยบริษัท โรโกเต แลบอราทอรีส์ ฟินแลนด์ จำกัด (Rokote Laboratories Finland) ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ และมหาวิทยาลัยอิสเทิร์น ฟินแลนด์

ปัจจุบันแหล่งเงินทุนประกอบด้วยเงินกู้ 5.5 ล้านยูโร (ราว 210 ล้านบาทจากบิสซิเนส ฟินแลนด์ หน่วยงานส่งเสริมการค้าและนวัตกรรมของรัฐบาลฟินแลนด์ และทุน 3.5 ล้านยูโร (ราว 133 ล้านบาทจากมูลนิธิ 2 แห่งและบริษัทเภสัชกรรมสัญชาติสวิส โดยเงินทุนที่ได้รับในขณะนี้จะปูทางให้การทดลองทางคลินิก 2 ระยะแรกดำเนินไปจนเสร็จสมบูรณ์

เซปโป อูลา-แฮร์ตตัวลา ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยอิสเทิร์น ฟินแลนด์อธิบายว่า วัคซีนดังกล่าวใช้อะดิโนไวรัสเป็นตัวนำพา ด้านในบรรจุดีเอ็นเอโปรตีนเอส (S protein) ของเชื้อไวรัสฯ ที่ผ่านการโคลน ซึ่งสามารถใช้สั่งการเซลล์โพรงจมูกให้ผลิตโปรตีนพื้นผิวของเชื้อไวรัสฯ และสร้างการตอบสนองต่อวัคซีน โดยในวัคซีนจะไม่มีส่วนผสมของเชื้อไวรัสฯ แต่อย่างใด

คาลเล ซัคเซลา ศาสตราจารย์ด้านไวรัสวิทยาจากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิระบุว่า วัคซีนที่กำลังพัฒนานี้แก้ไขได้ง่าย ทำให้สามารถรับมือกับความท้าทายจากเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ แม้มีการคาดการณ์ว่าจีโนมของเชื้อไวรัสฯ จะยังคงกลายพันธุ์อย่างรวดเร็ว

"วัคซีนชนิดฉีดพ่นจมูกอาจเป็นวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ง่ายต่อการฉีด สำหรับผู้ที่เคยฉีดวัคซีนแบบดั้งเดิมมาแล้วซัคเซลากล่าว

ทั้งนี้ วัคซีนข้างต้นใช้เทคโนโลยีส่งถ่ายยีนที่พัฒนาโดยคณะนักวิจัยของอูลา-แฮร์ตตัวลา ที่มหาวิทยาลัยอิสเทิร์น ฟินแลนด์ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวเคยผ่านการทดลองทางคลินิกมาแล้วหลายครั้ง โดยเป็นการใช้ยีนบำบัดรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคมะเร็ง และคณะนักวิจัยสามารถใช้วิธีการเดียวกันนี้พัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ ต่อไป


ข่าวแนะนำ