TNN ‘หมออนุตตร’เผยอังกฤษเริ่มทดลองวัคซีนเข็ม 3 แล้ว แนะไทยควรวิจัยด้วย

TNN

เกาะติด COVID-19

‘หมออนุตตร’เผยอังกฤษเริ่มทดลองวัคซีนเข็ม 3 แล้ว แนะไทยควรวิจัยด้วย

‘หมออนุตตร’เผยอังกฤษเริ่มทดลองวัคซีนเข็ม 3 แล้ว แนะไทยควรวิจัยด้วย

‘หมออนุตตร’เผยข้อมูลอังกฤษเริ่มศึกษาทดลองการฉีดวัคซีนโควิดเข็มที่ 3 แล้ว คาดรู้ผลเดือนก.ย. แนะไทยควรทำวิจัยด้วย

วันนี้ ( 28 มิ.ย. 64 )พล.อ.ท.อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โพสต์เฟซบุ๊กข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anutra Chittinandana โดยระบุว่า  “เรื่อง booster dose หลังจากฉีดวัคซีนครบ 2 โดสแล้วมีความเป็นไปได้ แต่คงต้องมีวัคซีนให้เพียงพอ และควรรอผลการศึกษาเพื่อให้มั่นใจในผลดีและผลเสียก่อนครับ ตอนนี้กำลังมีการศึกษาในประเทศอังกฤษที่ได้รับทุนวิจัยจากรัฐบาล (ประมาณ 850 ล้านบาท) 

ซึ่งผลน่าจะออกมากประมาณเดือนกันยายน หวังว่าจะให้ผลดีในการป้องกันสายพันธ์เดลต้า ซึ่งตอนนี้เป็นสายพันธุ์หลักของการระบาดในอังกฤษ และอาจเป็นสายพันธุ์หลักของไทยในอนาคตด้วยอยากให้เรามีทุนวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนแบบนี้จากรัฐบาลเพื่อวิจัยการใช้วัคซีนในประเทศไทยบ้างครับ”

นอกจากนี้ พล.อ.ท.อนุตตร ยังโพสต์เอกสารเกี่ยวกับการวัคซีนบูสเตอร์ โดยมีเนื้อหาระบุว่าการศึกษานี้มีชื่อว่า Cov-Boost ดำเนินการโดย University Hospital Southampton NHS Foundation Trust ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการศึกษานี้ราว 19.3 ล้านปอนด์ (ประมาณ 852.21 ล้านบาท) จากรัฐบาลสหราชอาณาจักร โดยหน่วยงานผู้ให้ทุนคือ The Vaccine Task Force and the National Institute for Health Research (NIHR)

การทดสอบจะประเมินผลการใช้วัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca Pfizer/BioNTech Moderna Novavax Valneva Janssen และ Curevac เป็นบูสเตอร์ และมีกลุ่มที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Men ACWY) เป็นกลุ่มควบคุม โดยการศึกษามีอาสาสมัครทั้งหมด 2,886 ราย เป็นกลุ่มผู้มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 โดสที่ 2 มาแล้วไม่น้อยกว่า 10-12 สัปดาห์ 

‘หมออนุตตร’เผยอังกฤษเริ่มทดลองวัคซีนเข็ม 3 แล้ว แนะไทยควรวิจัยด้วย

และเรีมฉีดวัคซีนบูสเตอร์ให้กับอาสาสมัครแบบสุ่ม (Random) ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน 2564 เป็นต้นมา โดยอาสาสมัครอาจได้รับวัคซีนคนละชนิดกับวัคซีนเดิมที่เคยได้รับ สหราชอาณาจักรฉีดวัคซีน AstraZeneca เป็นวัคซีนหลัก รองลงมาคือ Pfizer/BioNTech และ Moderna ตามลำดับ) ซึ่งการทดสอบจะใช้ระยะเวลาทั้งหมด 1 ปี ต่ออาสาสมัคร 1 ราย จึงจะเสร็จสมบูรณ์

อาสาสมัครทั้งหมดจะถูกติดตามผลตลอดการศึกษา เพื่อเก็บข้อมูลผลกระทบใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยจะมีการตรวจเลือดเพื่อวัดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในวันที่ 28, 84, 308 และ 365

ภายหลังจากได้รับวัคซีนบูสเตอร์ และจะมีไดอารี่อิเล็กทรอนิกส์ให้กับอาสาสมัครทั้งหมดสำหรับบันทึกข้อมูล ซึ่งจะส่งการแจ้งเตือนไปยังทีมวิจัยแบบเรียลไทม์หากจำเป็น และสามารถโทรศัพท์ฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อขอคำแนะนำทางคลินิกเพิ่มเติมจากแพทย์ที่ร่วมทำการศึกษาได้

ทั้งนี้ คาดว่าจะทราบผลการทดสอบเบื้องต้นในช่วงเดือนกันยายน 2564 ซึ่งคาดว่าจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับ The Joint Committee on Vaccination and Immunisation (JCV) ในการวางแผนการให้วัคซีนบูสเตอร์สำหรับประชาชนในปีนี้


ข่าวแนะนำ