TNN เพจดังรวมคำถามยอดฮิตฉีดวัคซีนโควิด-19 กรณีไหนฉีดได้-ไม่ได้?

TNN

เกาะติด COVID-19

เพจดังรวมคำถามยอดฮิตฉีดวัคซีนโควิด-19 กรณีไหนฉีดได้-ไม่ได้?

เพจดังรวมคำถามยอดฮิตฉีดวัคซีนโควิด-19 กรณีไหนฉีดได้-ไม่ได้?

เพจเฟซบุ๊ก "Drama-addict" รวมคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 กรณีไหนฉีดได้-ไม่ได้ กลุ่มโรคเรื้อรัง โรคภูมิแพ้ หรือผู้มีประวัติแพ้ยา สามารถฉีดได้หรือไม่?

วันนี้ (7 พ.ค.64) เพจเฟซบุ๊กดัง "Drama-addict" รวมคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยมีเนื้อหาระบุว่า เนื่องจากมีผู้สอบถามมาเยอะ โดยแต่ละคำถามคล้ายๆ กัน จึงรวบรวมนำมาตอบครั้งเดียว โดยข้อมูลในนี้จะอิงจากเอกสารของวัคซีนที่ ณ เวลานี้ไทยมี ซึ่งก็มีสองตัวคือซิโนแวคกับแอสตร้าเซนเนก้า และคำแนะนำของทาง CDC กรมควบคุมโรคสหรัฐ โดยข้อสงสัยต่างๆ มีดังนี้

1. มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือด นอนติดเตียง เส้นเลือดในสมอง ควรฉีดวัคซีนโควิดหรือไม่?

ตอบ : ควร เพราะกลุ่มนี้ความเสี่ยงในการเสียชีวิตสูงกว่าคนทั่วไปเยอะ ต่อให้มีโรคพวกนี้ก็สามารถฉีดได้ไม่จัดเป็นข้อห้ามในการฉีดวัคซีน

2.มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับภูมิต้านทาน เช่น HIV กินยากดภูมิคุ้มกัน กินยาสเตียรอยด์ เคยผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ หรือปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่?

ตอบ : จากเอกสารของทั้งสองวัคซีน ระบุว่า ข้อมูลในประเด็นนี้ยังไม่เพียงพอ แต่ของ CDC แนะนำว่าให้ฉีดได้ เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงเหมือนกันและฉีดวัคซีนแล้วได้ประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงจากผลข้างเคียงของวัคซีน

3.แม่ท้องอยู่ ให้นมลูกอยู่ สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่?

ตอบ : แม่สามารถฉีดได้ แต่ควรฉีดหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ส่วนแม่ให้นมลูกอยู่ สามารถฉีดได้

เพจดังรวมคำถามยอดฮิตฉีดวัคซีนโควิด-19 กรณีไหนฉีดได้-ไม่ได้?

4.เด็กเล็กสามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่

ตอบ : ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูล แต่ที่อเมริกาเริ่มมีการทดลองฉีดวัคซีนให้กลุ่มเด็กอายุ 5- 11 ขวบ ตอนนี้กำลังรอผลวิจัย แต่คาดว่าน่าจะรู้ผลในอีกประมาณ 2-3 เดือน

5. สามารถฉีดวัคซีนโควิดหลังฉีด "วัคซีนไข้หวัดใหญ่" ได้หรือไม่? เพราะช่วงนี้นัดฉีดไล่ๆกันพอดี

ตอบ : ฉีดได้ แต่ให้เว้นระยะ 14 วัน 

6.ถ้าฉีดวัคซีนตัวที่มีตอนนี้ แล้วในอนาคตมีวัคซีนที่ดีกว่าเข้ามาจะฉีดได้หรือไม่?

ตอบ : ได้ ตามสะดวกเลย

7.ควรกินยาพวกแอสไพรินก่อนไปฉีดวัคซีนหรือไม่ เพราะกลัวเกิดลิ่มเลือดจากวัคซีน แล้วยาพวกแอสไพรินมันช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด

ตอบ : ยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ใดๆยืนยันว่า การกินแอสไพริน ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดจากวัคซีนได้ จริงๆแล้ว ถ้าติดตามข่าวมาตลอดจะพบว่า ภาวะแทรกซ้อนจากวัคซีนที่เกิดลิ่มเลือดอุดตัน vaccine-associated thrombosis and thrombocytopenia (VATT) มันไม่ได้มาโดดๆ แต่ มันมากับภาวะเกล็ดเลือดต่ำด้วย ซึ่งนอกจากลิ่มเลือดอุดตันแล้ว คนที่เกิดผลข้างเคียงหลายๆ คนก็มีปัญหาเลือดไหลไม่หยุดเพราะเกล็ดเลือดต่ำมากๆ การกินแอสไพริน จะมีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือด อาจทำให้คนที่เกิดผลข้างเคียงจากวัคซีนหนักกว่าเดิม ดังนั้น "ไม่แนะนำให้กิน"

เพจดังรวมคำถามยอดฮิตฉีดวัคซีนโควิด-19 กรณีไหนฉีดได้-ไม่ได้?

8.วัคซีนโควิดฉีดแล้วต้องฉีดซ้ำหรือไม่ ภูมิจะอยู่ได้นานแค่ไหน?

ตอบ : ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้เพราะยังใหม่มาก แต่คาดกันว่าน่าจะต้องฉีดทุกปี เหมือนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 

9. วัคซีนฉีดแล้วจะไม่เป็นโควิด 100% ใช่หรือไม่?

ตอบ : ไม่ ไม่มีอะไร 100% ในทางการแพทย์ วัคซีนจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายไว้สู้กับโควิด แม้อาจจะไม่ช่วยป้องกันไม่ให้ติดโรค แต่ช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก หรือตายจากโควิด ก็เหมือนวัคซีนไข้หวัดใหญ่นั่นแล

10.ฉีดวัคซีนแล้วจะทำให้ไปตรวจโควิดแล้วผลเป็นบวกลวงจากภูมิในร่างกายได้หรือไม่?

ตอบ : ถ้าตรวจหาเชื้อ แบบนั้นจะไม่เจอผลบวกลวง แต่ถ้าเป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกัน ก็อาจเจอผลบวกได้ เพราะมีภูมิในร่างกายเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน

11.ป่วยเป็นโควิด และหายแล้ว ควรฉีดวัคซีนหรือไม่?

ตอบ : ควร เพราะเราไม่รู้ว่า ภูมิที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อและหายเองตามธรรมชาติ มันจะอยู่นานแค่ไหน ดังนั้นให้ชัวร์ก็ไปฉีด ตอนนี้ที่ต่างประเทศเริ่มให้คนที่ติดเชื้อแล้วไปฉีดวัคซีนกันแล้ว 

12.แพ้ยากลุ่มเพนนิซิลลิน ซัลฟา สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่?

ตอบ : มีการเตือนให้ระวังการให้วัคซีนชนิด mRNA เช่น ของ pfizer moderna ในคนที่มีประวัติแพ้รุนแรงมาก่อน ก็ไม่ถึงกับห้ามให้เลย แต่อาจต้องระวัง ส่วนของซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า ยังไม่เจอข้อมูลนี้ ดังนั้นน่าจะได้ แต่ก็ปรึกษาแพทย์ก่อนก็ดี มีแพทย์ด้านภูมิแพ้แนะนำว่า คนที่มีประวัติแพ้มาก่อน ถ้าไม่ได้แพ้สารที่เป็นองค์ประกอบในวัคซีน ก็สามารถให้ได้

https://www.facebook.com/Theallergicmarch/posts/2814572135523426





ข่าวแนะนำ