TNN โควิดแนวโน้มติดเชื้อสูงขึ้น ฉีดวัคซีนเข็มล่าสุดกี่เดือนมาแล้ว? ควรได้รับเข็มกระตุ้น

TNN

เกาะติด COVID-19

โควิดแนวโน้มติดเชื้อสูงขึ้น ฉีดวัคซีนเข็มล่าสุดกี่เดือนมาแล้ว? ควรได้รับเข็มกระตุ้น

โควิดแนวโน้มติดเชื้อสูงขึ้น ฉีดวัคซีนเข็มล่าสุดกี่เดือนมาแล้ว? ควรได้รับเข็มกระตุ้น

โควิดมีแนวโน้มพบเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเข้าสู่โรคตามฤดูกาล ระบาดครั้งนี้จะยาวไปถึงเดือนก.พ. แนะถ้าฉีดวัคซีนโควิดเข็มสุดท้ายมานานแล้ว 4 ถึง 6 เดือนขึ้นไป ควรได้รับการกระตุ้น

โควิดมีแนวโน้มพบเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเข้าสู่โรคตามฤดูกาล ระบาดครั้งนี้จะยาวไปถึงเดือนก.พ. แนะถ้าฉีดวัคซีนโควิดเข็มสุดท้ายมานานแล้ว 4 ถึง 6 เดือนขึ้นไป ควรได้รับการกระตุ้น

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว "Yong Poovorawan" โดยระบุว่า โควิด 19  แนวโน้มพบสูงขึ้น ตามฤดูกาลของโรคทางเดินหายใจ 

โรค covid 19 มีแนวโน้มพบเพิ่มสูงขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ เมื่อเข้าสู่โรคตามฤดูกาล การระบาดของโรคสำหรับประเทศไทยจะพบมากในฤดูฝน และช่วงปลายปีจนถึงต้นปี อีกครั้งหนึ่ง เช่นเดียวกับการระบาดในสมัยไข้หวัดใหญ่ 2009 

อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของโรคลดลง ทั้งนี้เพราะประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานเกิดขึ้น จากการฉีดวัคซีน และการติดเชื้อ

ขณะเดียวกัน มียาที่ใช้รักษาที่ดีขึ้นกว่าในช่วงแรกๆมาก คือ monulpiravia paxlovid และ remdicevir เช่นเดียวกับสมัยไข้หวัดใหญ่ 2009  เรามี oseltamivir และวัคซีนเข้ามาปลายปี ในปัจจุบันยาสำหรับ covid-19 ก็หาได้ง่ายขึ้น กว่าเมื่อต้นปีมาก 

จำนวนการฉีดวัคซีนขณะนี้ น้อยกว่าธรรมชาติที่ฉีดวัคซีนให้หรือการติดเชื้อนั่นเอง ซึ่งเมื่อรวมกันก็จะทำให้ภูมิในประชากรเพิ่มมากขึ้น

โดยหลักการแล้วเราอยากให้ประชากรไทยได้รับวัคซีนอย่างน้อย  3 เข็ม ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้ออะไรก็ได้ไม่แตกต่างกัน และใครที่ได้มากกว่า 3 เข็มแล้ว ถ้าเข็มสุดท้ายได้รับมาแล้วนานเกินกว่า 6 เดือน ระดับภูมิต้านทานที่เหลืออยู่ไม่เพียงพอ ก็ควรจะได้รับการกระตุ้น อีกครั้งหนึ่ง

ขณะนี้มีวัคซีนไม่ได้ขาดแคลน จึงอยากเชิญชวนให้กลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่มที่เมื่อเป็นโรคแล้วจะรุนแรง ควรได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นได้แล้ว ถ้าฉีดเข็มสุดท้ายมาเป็นเวลานานแล้ว  4 ถึง 6 เดือนขึ้นไป ก็ควรได้รับการกระตุ้น เพื่อช่วยความจำของร่างกาย เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ไหน 

การระบาดในครั้งนี้จะยาวไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ และหลังจากนั้นก็จะเริ่มลดลง ต่ำมากๆ แล้วจะไปเพิ่มอีกครั้งหนึ่งในเดือนมิถุนายน ซึ่งคาดว่าในปีหน้า ประชากรเกือบทั้งหมดก็น่าจะมีภูมิต้านทาน แล้ว

ดังนั้นในขณะนี้ถ้าไม่ได้กระตุ้นด้วยวัคซีน ธรรมชาติหรือการติดเชื้อก็จะกระตุ้นให้ การติดเชื้ออาการแทรกซ้อนก็จะมากกว่าการฉีดวัคซีน




ข้อมูลจาก ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ 

ภาพจาก TNN ONLINE

ข่าวแนะนำ