TNN เร่งศึกษาอาการ "ลองโควิด" ในระบบทางเดินอาหาร หลังพบผู้ป่วยปวดท้อง-ท้องเสีย

TNN

เกาะติด COVID-19

เร่งศึกษาอาการ "ลองโควิด" ในระบบทางเดินอาหาร หลังพบผู้ป่วยปวดท้อง-ท้องเสีย

เร่งศึกษาอาการ ลองโควิด ในระบบทางเดินอาหาร หลังพบผู้ป่วยปวดท้อง-ท้องเสีย

แพทย์เชี่ยวชาญ สถาบันโรคทรวงอก คาด "อาการลองโควิด" สายพันธ์เดลต้าและโอมิครอนไม่แตกต่างกัน และมีโอกาสเกิดในผู้ที่มีอาการรุนแรงมากว่าผู้ที่มีอาการน้อย สามารถเกิดได้ระยะสั้น 1 สัปดาห์จนกระทั้งต่อเนื่องนานหลายเดือน ส่วนการเกิดลองโควิดที่เกี่ยวเนื่องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย ยังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด

วันนี้ (7 พ.ค.65) พญ.กิตติมา บ่างพัฒนาศิริ นายแพทย์เชี่ยวชาญ สถาบันโรคทรวงอก ระบุถึง อาการลองโควิด (Long Covid) ในช่วงสายพันธุ์เดลต้า อาการที่พบบ่อยคือ อ่อนเพลีย ร้อยละ 30 รองลงมา หอบเหนื่อย หรือเหนื่อยง่าย ประมาณร้อยละ 20-40 

อาการทางระบบประสาท เช่น หลงลืมได้ง่ายประมาณ ร้อยละ10-20 และอาการนอนไม่หลับ ร้อยละ 10-40 อาการไอ หลังติดเชื้อโควิดแล้วยังคงพบได้อยู่ ร้อยละ 10-20 แม้เวลาจะผ่านไปเป็นเดือน

ทั้งนี้ สำหรับความแตกต่างของอาการลองโควิดช่วงสายพันธุ์เดลต้าและช่วงการระบาดสายพันธุ์โอมิครอน ขณะนี้ยังระบุชัดเจนไม่ได้เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย อย่างไรก็ตาม คาดว่าอาการลองโควิด ของทั้ง 2 สายพันธุ์ไม่น่าจะแตกต่างกันมาก 

ส่วนความรุนแรงของการติดเชื้อยังคงพบว่าสายพันธุ์เดลต้ามีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์โอมิครอน โดยการเกิดลองโควิดมักพบในคนไข้ที่มีการติดเชื้อและมีอาการรุนแรง แต่ก็สามารถพบได้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการน้อย 

สำหรับระยะเวลาของการเกิดลองโควิดอาจเป็นได้ระยะเวลาสั้นประมาณ 1 สัปดาห์ หรือบางรายอาจมีอาการลองโควิดนานเป็นเดือน หรือเกิดต่อเนื่อง เช่น มีอาการแล้วอาการดีขึ้นและหายไป และกลับมาเป็นอีกครั้งในระยะเวลาที่แตกต่างกัน

นอกจากนี้ ข้อกังวลที่อาการลองโควิดที่จะส่งผลกับ "ระบบทางเดินอาหาร" พบอุบัติการณ์ที่ยังไม่ชัดเจน โดยที่มักพบส่วนใหญ่ คือ อาการปวดท้อง และท้องเสีย แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าเกิดขึ้นจากอาการลองโควิดหรือไม่

สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน โดยไม่แสดงอาการ หรือติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว มีโอกาสที่จะเกิดลองโควิดได้ แต่กลุ่มผู้ที่มีอาการน้อยจะพบลองโควิดไม่มากนัก.


ภาพจาก แฟ้มภาพ AFP


ข่าวแนะนำ