สธ.-ภาคีเครือข่าย เตรียมเสนอ ศบค.เปิดเรียน On-Site อยู่ได้กับโควิด
กรมอนามัย และภาคีเครือข่าย เตรียมเสนอ ศบค.ชุดใหญ่ พิจารณามาตรการยกระดับเปิดเรียน On-Site อยู่ได้กับโควิด หลังพบข้อมูลเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษากว่า 2.3 แสนคน และพบส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กหลังเรียนออนไลน์เป็นระยะเวลานาน
วันนี้ (22 ก.พ.65) ที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นพ.สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย ระบุว่า จากการแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน พบ เด็กติดเชื้อสูงขึ้น ร้อยละ 10-20 แต่อัตราเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 0.01 ส่วนใหญ่เด็กติดเชื้อไม่มีอาการ และมีอาการน้อยมาก
ข้อมูลจาก กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนที่เปิด On-site มีร้อยละ 81 โดยมี 122 แห่ง ที่เปิดแล้วพบการติดเชื้อโควิด-19 ปัจจัยเสี่ยงหลักมาจากการรับประทานอาหารรวมกัน และการไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยเวลาพูดคุย ขณะเดียวกันการติดเชื้อในห้องเรียนมีไม่มาก
ส่วนใหญ่เด็กจะติดเชื้อจากที่บ้านและนำเชื้อมาแพร่ที่โรงเรียน เบื้องต้นพบการติดเชื้อโรงเรียนประจำมากกว่าโรงเรียนไปกลับ เนื่องจากโรงเรียนประจำเด็กจะต้องทำกิจกรรมร่วมกันและอาศัยอยู่รวมกัน
ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากข้อมูลกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เกี่ยวกับการเรียนออนไลน์ในช่วงโควิด-19 ของเด็ก พบว่า ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กในหลายด้าน และมีเด็กไทยหลุดออกจากระบบการศึกษา 230,000 คน เนื่องจากหยุดการเรียนการสอน ส่วนใหญ่เป็นเด็กกลุ่มเปราะบางเข้าไม่ถึงการศึกษารูปแบบการเรียนออนไลน์ เช่น ในพื้นที่ห่างไกล ติดต่อเด็กยาก
"เบื้องต้นตามกลับมาเข้าสู่ระบบได้แสนกว่าคน ซึ่งมีความกังวลว่ากลุ่มเด็กที่หลุดออกจากการศึกษาในช่วงโควิด-19 พบว่าถูกนำไปใช้เป็นแรงงายเด็กเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวกันร่วมตั้งอนุกรรมการเปิดเรียนปลอดภัย ประชุมเสนอมาตรกาายกระดับความปลอดภัยเปิดเรียน On-Site อยู่ได้กับโควิด ซึ่งรวมทั้งโรงเรียนไปกลับ โรงเรียนประจำ และสถานที่สอบต่างๆ โดยจะเสนอ ศบค.ชุดใหญ่พิจารณาพรุ่งนี้" นพ.สราวุฒิ ระบุ
สำหรับมาตรการสำคัญ คือ กลุ่มเสี่ยงต่ำ สามารถเรียนได้ตามปกติ ให้สังเกตอาการและประเมินตนเองผ่านแอปพลิเคชั่น "ไทยเซฟไทย"
ส่วนกลุ่มเสี่ยงสูงหากเป็นโรงเรียนไปกลับ สถานศึกษาจะต้องประสานหน่วยบริการสาธารณสุข ตามระบบอนามัยโรงเรียน และมีการตรวจคัดกรองครั้งที่ 1 ในวันที่ 5-6 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ ซึ่งโรงเรียนจะต้องจะต้องจัดห้องเรียนแยกสำหรับกลุ่มเสี่ยงสูง และประเมินอาการเป็นเวลา 7 วัน
รวมถึงติดตามอาการสังเกตอาการอีก 3 วัน หากเด็กผู้ติดเชื้อในโรงเรียน สถานศึกษาควาจะประสานเด็กเข้าสู่ระบบการรักษา และจัดการเรียนการสอนมี่เหมาะสมสำหรับเด็กติดเชื้อไม่มีอาการ
ส่วนการจัดสถานที่สอบตอนนี้ หลายที่มีการจัดสอบเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถานบันศึกษาต่างๆ นพ.สราวุฒิ กล่าวว่า สามารถจัดสอบได้ แต่ทางโรงเรียนจะต้องประสานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดในแต่ละพื่นที่ รวมถึงประสานหน่วยบริการสาธารณสุขในหาาคัดกรองและจัดสภาพแวดล้อมตามมาตรการ รวมถึง กรณีพบเด็กติดเชื้อไม่มีอาการหรือกลุ่มเสี่ยงสูง สามารถที่จะสอบได้ แต่จะต้องมีการจัดสถานที่สอบแยกได้
ส่วนการเดินทางไปสนามสอบต้องเป็นรถยนต์ส่วนตัว หรือ ประสานหน่วยสถานที่สอบ หน่วยบริการสาธารณสุข กรณีไม่มีรถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางไปสอบ
ขณะเดียวกันที่พบการแพร่ระบาดในโรงเรียนสอนพิเศษและร้านเกมส์ โดยจากการลงพื้นที่พบสถานที่จัดการเรียนการสอนไม่มีระบบระบายอากาศที่ดี และมีความแออัด จึงเน้นย้ำสถานที่ดังกล่าวจัดรูปแบบการเรียนการสอนตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อช่วยลดการติดเชื้อโควิด-19.
ภาพจาก แฟ้มภาพ TNN ONLINE