TNN นักวิจัยไซปรัสยันพบ "เดลตาครอน" เป็นของจริง ไม่ใช่ปนเปื้อน!

TNN

เกาะติด COVID-19

นักวิจัยไซปรัสยันพบ "เดลตาครอน" เป็นของจริง ไม่ใช่ปนเปื้อน!

นักวิจัยไซปรัสยันพบ เดลตาครอน เป็นของจริง ไม่ใช่ปนเปื้อน!

นักระบาดวิทยาไซปรัส ยืนยันยันการค้นพบโควิดกลายพันธุ์ลูกผสม "เดลตาครอน" เป็นของจริง ไม่ใช่การปนเปื้อนสายพันธุ์ในห้องปฏิบัติการ

วันนี้( 10 ม.ค.65) สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานอ้าง ลีโอไนดอส โคสไตรคิส ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา มหาวิทยาลัยไซปรัส นักวิทยาศาสตร์ ผู้ค้นพบเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ลูกผสม "เดลตาครอน" ที่ออกมายืนยันว่า การค้นพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาครอนนั้นเป็นเรื่องจริงและไม่ได้เป็นผลของการ "ปนเปื้อน" ในห้องแล็บอย่างที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนออกมาให้ข่าวก่อนหน้านี้แต่อย่างใด

โคสไตรคิส ยืนยันว่า ตนพบกระบวนการกดดันทางวิวัฒนาการ (evolutionary pressure) ที่เกิดขึ้นกับเชื้อสายพันธุ์ตั้งต้นทำให้เกิดการกลายพันธ์ และไม่ใช่ผลของการรวมกันของยีนที่ทำให้เกิดสายพันธุ์ลูกผสมเพียงเหตุการณ์เดียว นอกจากนี้ เดลตาครอน ยังพบมากใหม่ในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่รักษาตัวในโรงพยาบาล มากกว่ากลุ่มผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้รักษาตัวในโรงพยาบาล จึงตัดข้อสันนิษฐานเรื่องการปนเปื้อนไปได้ 


นักวิจัยไซปรัสยันพบ เดลตาครอน เป็นของจริง ไม่ใช่ปนเปื้อน! ภาพจาก TNN ข่าวค่ำ

 


นอกจากนี้ตัวอย่างยังถูกส่งไปตรวจสอบในหลายประเทศ และอย่างน้อยหนึ่งตัวอย่างจากอิสราเอลก็พบลักษณะทางพันธุกรรมของ "เดลตาครอน" อยู่ด้วย สำหรับเชื้อลูกผสม เดลตาครอนที่พบไม่ใช่เกิดการกลายพันธุ์ในประเทศแต่เป็นการนำเข้ามาจากผู้เดินทางมายังสนามบิน

โดยขณะนี้พบการติดเชื้อ 25 ราย ในจำนวนทั้งหมดนี้ พบว่ามี 11 ราย ที่แสดงอาการซึ่งต้องเข้ารับรักษาที่โรงพยาบาล หรือคิดเป็น 44% ที่มีอาการและต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในขณะที่ 14 คนไม่มีอาการใด ๆ แต่ยังเร็วเกินไป ที่จะระบุในเบื้องต้นว่า สายพันธุ์ใหม่เดลตาครอนมีศักยภาพในการแพร่กระจายเชื้อรวดเร็วอย่างไร หรือจะมีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน 

เชื้อกลายพันธุ์ใหม่นี้ รายละเอียดเบื้องต้น ปรากฎว่าเป็นการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม 10 จุด ที่คล้ายกับสายพันธุ์ "โอไมครอน" แต่เกิดอยู่ภายในพันธุกรรมของสายพันธุ์ "เดลตา"


นักวิจัยไซปรัสยันพบ เดลตาครอน เป็นของจริง ไม่ใช่ปนเปื้อน! ภาพจาก TNN ข่าวค่ำ

 


ทั้งนี้ การออกมายืนยันอีกครั้งของ ศาสตราจารย์ลีโอไนดอส โคสไตรคิส เกิดขึ้นหลังจาก ดร.ทอม พีค็อก นักไวรัสวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน สหราชอาณาจักร ได้ส่งข้อความบนทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า การค้นพบดังกล่าว มีความเป็นได้สูงที่จะเกิดจากการปนเปื้อนระหว่างสายพันธุ์ "เดลตา" และสายพันธุ์ "โอมิครอน" ภายในห้องปฏิบัติการ โดยให้เหตุผลเป็นการนำข้อมูลมาสร้างเป็นแผนภูมิวิวัฒนาการ ทั้งนี้ ดร.ทอม พีค็อก อ้างว่า ตัวอย่างทั้งหมดไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เดียวกัน

ขณะที่ นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ หรือ "หมอเฉลิมชัย" รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ระบุว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อ "เดลตาครอน" หรือ Deltacron ว่า ยังต้องรอผลตรวจสอบ จึงจะสรุปได้ ถ้าเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่จริง ก็จะต้องติดตามเก็บข้อมูลต่อไปว่า กระทบกับ 3 มิติทางด้านสาธารณสุขหรือไม่ ถ้าไวรัสสายพันธุ์ใหม่นั้น มีผลกระทบกับมิติทางด้านสาธารณสุขแล้ว จึงจะมีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการอักษรกรีกว่า "พาย": Pi"  ซึ่งต่อจากโอมิครอน





ภาพจาก TNN ข่าวค่ำ/รอยเตอร์

ข่าวแนะนำ