TNN เปิดอาการผู้ป่วยติดเชื้อโควิดโอมิครอน แต่ไม่ได้ฉีดวัคซีน พบอาการหนัก-เชื้อลงปอด

TNN

เกาะติด COVID-19

เปิดอาการผู้ป่วยติดเชื้อโควิดโอมิครอน แต่ไม่ได้ฉีดวัคซีน พบอาการหนัก-เชื้อลงปอด

เปิดอาการผู้ป่วยติดเชื้อโควิดโอมิครอน แต่ไม่ได้ฉีดวัคซีน พบอาการหนัก-เชื้อลงปอด

เปิดข้อมูลอาการผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนอาการจะรุนแรงกว่าผู้ฉีดวัคซีน และสูตรฉีดวัคซีนไม่ว่าสูตรไหนก็มีโอกาสติดเชื้อ

วันนี้ (7 ม.ค.65) ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก เตือน อย่าเรียกอาการป่วยจากการติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์ “โอมิครอน” ว่า "เล็กน้อย" แม้ว่า “โอมิครอน” อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงน้อยกว่า “เดลต้า” แต่ "คลื่นยักษ์สึนามิ" ของจำนวนผู้ติดเชื้อ "โอมิครอน" ที่มีมหาศาล กำลังเป็นภาระหนักของระบบสาธารณสุขทั่วโลก  

ขณะที่ แพทย์ไทยเผยข้อมูลอาการผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด19สายพันธุ์โอมิครอน ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนอาการจะรุนแรงกว่าผู้ฉีดวัคซีน ดังนั้นต้องระวังตนเองอย่าติดเชื้อ เพราะโอมิครอน ติดง่ายมาก และสูตรฉีดวัคซีนไม่ว่าสูตรไหนก็มีโอกาสติดเชื้อ

จากกรณีที่แพทย์และผู้เชี่ยวชาญ เปิดเผยข้อมูลโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) แม้มีความสามารถแพร่กระจายเชื้อได้มากขึ้น แต่เชื้ออ่อนแรงลง ไม่ทำให้คนที่ติดเชื้อถึงขั้นเสียชีวิต

พญ.วรฉัตร เรสลี อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลศิครินทร์ โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ เตือนทุกคนว่าอย่าประมาท แม้ว่าจะฉีดวัคซีนแล้ว จะบอกว่าให้ติดเชื้อไป แต่อย่าลืมว่าสายพันธุ์เดลต้ายังอยู่ 

และติดแล้วทุกสายพันธุ์ไม่ใช่จะอาการเบาทุกคน ดังนั้นจึงควรป้องกันตนเองไม่ติดเชื้อดีที่สุด และต้องระวังอย่างสูงสุด เพราะสายพันธุ์โอมิครอน ติดเชื้อง่ายแม้ฉีดวัคซีนไม่ว่าจะเป็นสูตรใดก็ตาม



1.ฉีด 2 ซิโนแวค + 2 ซิโนฟาร์ม

2.ฉีด 2 ซิโนแวค + แอสตร้าเซนเนก้า + โมเดอร์นา

3.ฉีด 2 ซิโนฟาร์ม + ไฟเซอร์ + โมเดอร์นา

4.ฉีดซิโนแวค+แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม + โมเดอร์นา

5.ฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม + ไฟเซอร์

6.ฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม + โมเดอร์นา

7.ฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม + โมเดอร์นา 2 เข็ม

8.ฉีดไฟเซอร์ 2 เข็ม + โมเดอร์นา 1 เข็ม

9.ฉีดไฟเซอร์ 3 เข็ม

10.ฉีดโมเดอร์นา 3 เข็ม

11.ฉีดจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน 1 เข็ม + โมเดอร์นา 1 เข็ม

เปิดอาการผู้ป่วยติดเชื้อโควิดโอมิครอน แต่ไม่ได้ฉีดวัคซีน พบอาการหนัก-เชื้อลงปอด

และที่สำคัญสำหรับคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน และติดเชื้อโอมิครอน พบว่าจะมีอาการรุนแรงกว่าคนที่ฉีดวัคซีน ได้แก่ อาการไข้สูงนาน เชื้อลงปอด อาการไอปนเลือดแบบไม่ลงปอดได้บ่อย ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (ในบางคน) แต่ยังไม่มีเคส ICU

แต่ยังไม่รวมถึงเรื่องภาวะ Long Covid ซึ่งโอมิครอนยังไม่มีข้อมูล เช่น อาการ ผมร่วง ผิวแห้ง เหนื่อยง่าย impotent ปวดข้อเรื้อรัง ดังนั้น การไม่ติดเชื้อจึงเป็นการดีที่สุด รวมถึงรีบรับการฉีดวัคซีน เพื่อลดอาการรุนแรง

เปิดอาการผู้ป่วยติดเชื้อโควิดโอมิครอน แต่ไม่ได้ฉีดวัคซีน พบอาการหนัก-เชื้อลงปอด

ทั้งนี้ หากดูกราฟข้อมูลทั้งในสหรัฐฯ และอังกฤษ พบว่าสายพันธุ์โอมิครอน เริ่มทำให้เกิดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมากกว่าเวฟที่ผ่านมา หรือช่วงฤดูหนาวปีที่แล้ว และเริ่มมีผู้ป่วยเข้า ICU มากขึ้น

ด้าน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กถึงอาการ Long Covid ที่พบในผู้ป่วยโควิดที่หายแล้วพบได้หลายรูปแบบ  ที่มากที่สุดคือ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ผมร่วง นอนไม่หลับ และอื่นๆ ตามลำดับ

เปิดอาการผู้ป่วยติดเชื้อโควิดโอมิครอน แต่ไม่ได้ฉีดวัคซีน พบอาการหนัก-เชื้อลงปอด

ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเชิงลึกที่อธิบายได้ว่า กลไกใดหลังติดโควิดแล้วทำให้ผู้ป่วยมีอาการต่างๆ เหล่านี้ได้ยาวนานหลังไวรัสหมดไปจากร่างกายแล้ว บางคนเชื่อว่าเป็นผลจากแอนติบอดีบางชนิดที่ร่างกายสร้างขึ้นมาต่อต้านการติดเชื้อ และผลพลอยได้คือ ผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ 

เปิดอาการผู้ป่วยติดเชื้อโควิดโอมิครอน แต่ไม่ได้ฉีดวัคซีน พบอาการหนัก-เชื้อลงปอด

ข้อมูลที่ออกมาล่าสุดชัดเจนว่า Long Covid เกิดขึ้นในคนที่ได้รับวัคซีนครบ "น้อยกว่า" คนที่ไม่ได้รับวัคซีน แม้ว่าคนที่ได้รับวัคซีนอาจจะเคยติดเชื้อและมีอาการป่วยด้วย แสดงว่าภูมิจากวัคซีนมีส่วนช่วยยับยั้งหรือ ป้องกันกลไกการเกิด Long Covid ได้ในระดับหนึ่ง

เปิดอาการผู้ป่วยติดเชื้อโควิดโอมิครอน แต่ไม่ได้ฉีดวัคซีน พบอาการหนัก-เชื้อลงปอด

ปัจจุบันข้อมูล Long Covid จากโอมิครอนยังไม่มีออกมาเปรียบเทียบกับโควิดตัวอื่นๆ แต่ด้วยจำนวนคนที่ติดโควิดมากกว่าการระบาดรอบก่อนๆ หลายคนเริ่มกังวลว่า Long Covid จะเป็นปัญหาหลักจากการติดโอมิครอน หวังว่าภูมิจากวัคซีนจะช่วยลดปัญหานี้ลงได้ไม่มากก็น้อย และถ้าโชคดีจริงๆ หวังว่าการกลายพันธุ์ของโอมิครอนจะทำให้กลไกการเกิด Long Covid เกิดได้น้อยลง

เปิดอาการผู้ป่วยติดเชื้อโควิดโอมิครอน แต่ไม่ได้ฉีดวัคซีน พบอาการหนัก-เชื้อลงปอด

ขณะที่ ดร.เทโดรส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก หรือ WHO แถลงเมื่อวานนี้ (6 ม.ค.) เตือนไม่ให้อธิบายอาการป่วยของผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ “โอมิครอน” ว่า เป็นอาการ “เล็กน้อย”

แม้จะดูเหมือนว่า โอมิครอนทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับ “เดลต้า” โดยเฉพาะในคนที่ฉีดวัคซีนต้านโควิดครบแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่า ควรจะจัดประเภทโอมิครอนว่า ทำให้เกิดอาการเพียงเล็กน้อยแต่อย่างใด

ผอ.องค์การอนามัยโลก ยังเตือนด้วยว่า โอมิครอนยังคงมีฤทธิ์เหมือนกับโควิดกลายพันธุ์ตัวก่อนๆ ยังสามารถทำให้ผู้ติดเชื้อเข้าโรงพยาบาลได้ จนถึงทำให้เสียชีวิตก็ได้ 

และการที่จำนวนผู้ติดเชื้อโอมิครอนเพิ่มขึ้นมากและอย่างรวดเร็ว จนทุบสถิติสูงสุดในหลายพื้นที่ในโลก จนเปรียบเหมือนกับ “คลื่นยักษ์สึนามิโควิด” ที่ทั้งแรงและเร็วนั้น กำลังทำให้ระบบการรักษาพยาบาลทั่วโลก ต้องตกอยู่ใต้แรงกดดันอย่างหนักหน่วงอีกครั้ง  

เปิดอาการผู้ป่วยติดเชื้อโควิดโอมิครอน แต่ไม่ได้ฉีดวัคซีน พบอาการหนัก-เชื้อลงปอด

จากข้อมูล CDC สหรัฐฯ เปรียบการแพร่เชื้อโอมิครอนเหมือน "โรคหัด" ซึ่งแพร่ในอัตรา 1 ต่อ 8-15 คน ดังนั้น รัฐบาลแต่ละประเทศต้องทำงานหนักเพื่อเร่งสกัดการระบาดอีกครั้ง

และจากกรณีผู้ใช้ TikTok รายหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า @praewzim ได้โพสต์คลิปวิดีโอขณะเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เนื่องจากเธอติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งพบว่าตาดำของเธอนั้นกลายเป็นสีม่วง เพราะเกิดจากการกินยาฟาวิพิราเวียร์ไปวันที่ 2

ความคืบหน้าล่าสุด แฟนเพจฟซบุ๊ก "หมอยาพาเพลิน" ได้เผยแพร่บทความของ ภญ.อาสาฬา เชาวน์เจริญ เภสัชกรชำนาญการศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยระบุว่า

“ตาเรืองแสง ตาเปลี่ยนสี จากการใช้ Favipiravir เกิดจากการสะสมของยาบริเวณอิลาสติน คอลลาเจน และเม็ดสีเมลานินในเนื้อเยื่อร่างกาย จากการที่ตัวยา favipiravir เอง หรือส่วนประกอบอื่น ๆ ในยาเช่น titanium dioxide, ferric oxide yellow มีคุณสมบัติเรืองแสงได้ บางรายงานพบผู้ป่วยตาพร่ามัวชั่วคราวร่วมกับการเห็นแสงสะท้อนสีฟ้าจากดวงตาภายใต้แสง UV หลังใช้ยาไป 2 วัน

ความเข้มข้นของระดับยาในเลือดสัมพันธ์กับการสะสมของยาในร่างกายและการเรืองแสงของตา เส้นผม เล็บ โดยมีรายงานว่าขนาดยาที่ทำให้เกิดการเรืองแสงพบได้ตั้งแต่ 5,600-8,000 มิลลิกรัมต่อช่วงการรักษา แต่ไม่ต้องกังวลไปนะครับ อาการตาเรืองแสงหรือตาสีฟ้าไม่มีรายงานว่าเป็นอันตราย ตาจะกลับมาเป็นสีปกติเองหลังหยุดยา"

ข่าวแนะนำ