TNN ความต้องการทองคำทั่วโลกครึ่งปีแรกลดลง แต่โดดเด่นที่ธนาคารกลาง

TNN

คอลัมนิสต์

ความต้องการทองคำทั่วโลกครึ่งปีแรกลดลง แต่โดดเด่นที่ธนาคารกลาง

ความต้องการทองคำทั่วโลกครึ่งปีแรกลดลง แต่โดดเด่นที่ธนาคารกลาง

ความต้องการทองคำทั่วโลกครึ่งปีแรกลดลง แต่โดดเด่นที่ธนาคารกลาง วิเคราะห์โดยธนรัชต์ พสวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มฮั่วเซ่งเฮง

GOLD BULLISH และ GOLD BEARISH

GOLD BULLISH 

  • การผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ
  • ความต้องการทองคำจากจีนในปีนี้คาดเพิ่มขึ้น
  • ธนาคารกลางซื้อทองคำในเงินทุนสำรองเพิ่มขึ้น

GOLD BEARISH

  • ธนาคารกลางสหรัฐเริ่มส่งสัญญาณคุมเข้มนโยบายการเงิน
  • เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวอย่างชัดเจน 
  • การกระจายวัคซีนโควิด-19
    ความต้องการทองคำทั่วโลกไตรมาส 2 ทรงตัว แต่ครึ่งปีแรกลดลง 10%

ความต้องการทองคำทั่วโลกในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ลดลง 10% เป็น 1,833 ตัน ส่วนไตรมาส 2 ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปีที่แล้ว  ความต้องการทองคำเพื่อการลงทุนเป็นตัวฉุดความต้องการทองคำทั่วโลก โดยลดลงถึง 51% เมื่อเทียบรายปี เนื่องจากกองทุนอีทีเอฟทองคำได้เทขายทองคำอย่างหนักในไตรมาส 1 ถึงแม้ว่าในไตรมาส 2 เริ่มกลับเข้าซื้อทองคำ 40 ตัน แต่ยังทำให้ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้กองทุนอีทีเอฟทองคำขายทองคำรวมแล้ว 129 ตัน ลดลง 90% เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่ในช่วงครึ่งปีแรกของปีที่แล้วกองทุนอีทีเอฟทองคำได้ซื้อทองคำสูงถึง 427 ตันและเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนราคาทองคำ ส่วนการลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองคำในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นถึง 56% โดยมีจีนเป็นพระเอกที่ขับเคลื่อนการลงทุนในทองคำแท่ง สำหรับความต้องการทองคำในภาคเครื่องประดับปรับตัวขึ้น 60% เป็น 390 ตันในไตรมาส 2 แต่ความต้องการทองคำในภาคเครื่องประดับในช่วงครึ่งปีแรก 873 ตันยังอยู่ระดับที่ต่ำกว่าก่อนเกิดโควิดราว 17% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของหลายประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจอินเดียที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดอย่างหนัก ทำให้ฉุดความต้องการทองคำในเครื่องประดับ

ความต้องการทองคำครึ่งปีแรกแยกตามกลุ่ม

ความต้องการทองคำทั่วโลกครึ่งปีแรกลดลง แต่โดดเด่นที่ธนาคารกลาง

 ความต้องการทองคำจากธนาคารกลางโดดเด่นในปีนี้

ในปีนี้ความต้องการทองคำจากธนาคารกลางทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ในไตรมาส 1 และไตรมาส 2 มีความต้องการทองคำจากธนาคารกลาง 133 ตันและ 199 ตัน ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ความต้องการทองคำจากธนาคารกลางรวม 333 ตัน ถือว่าเป็นระดับที่สูง เพราะเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังแล้วเพิ่มขึ้นถึง 39% และเพิ่มขึ้น 29% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง อย่างที่เป็นข่าวออกมาว่าในครึ่งปีแรกของปีนี้ธปท.เป็นธนาคารกลางที่เข้าซื้อทองคำมากที่สุด โดยสูงถึง 90 ตัน หรือเพิ่มขึ้นถึง 60% และคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 45% ของความต้องการทองคำจากธนาคารกลางทั่วโลก ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีทองคำอยู่ในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมีสัดส่วนราว 5.5%  ส่วนธนาคารกลางที่เข้าซื้อทองคำมากที่สุด รองลงมาคือ ฮังการี 62 ตัน บราซิล 53 ตัน ทำให้ในปีนี้ธนาคารกลางมีบทบาทต่อความต้องการทองคำทั่วโลกเพิ่มขึ้น โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ความต้องการทองคำจากธนาคารกลางมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 18% ของความต้องการทองคำทั่วโลกจากปีที่แล้วมีสัดส่วนเพียง 7% น่าจับตามองว่าในช่วงครึ่งปีหลังกันต่อไปว่าธนาคารกลางจะเข้าซื้อทองคำเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหรือไม่


ความต้องการทองคำจากธนาคารกลาง  ความต้องการทองคำทั่วโลกครึ่งปีแรกลดลง แต่โดดเด่นที่ธนาคารกลาง


สัปดาห์นี้แนวโน้มราคาทองคำกลับทิศทางเป็นขาลง ทองคำมีปัจจัยลบจากนักลงทุนกังวลถึงเฟดจะปรับลดวงเงินมาตรการ QE หลังจากการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐเดือนก.ค.ออกมาแข็งแกร่ง โดยเพิ่มขึ้น 943,000 ตำแหน่ง ดีกว่าตลาดคาดจะเพิ่มขึ้น 870,000 ตำแหน่ง และอัตราการว่างงานเดือนก.ค.ลดลงจากระดับ 5.9% ในเดือนมิ.ย. เหลือ 5.4% และดีกว่าตลาดคาดจะลดลงเหลือ 5.7%  อย่างไรก็ดีหลังจากที่ราคาทองคำปรับลงแรงมากอาจจะมีการฟื้นตัวในระยะสั้น โดยทองคำมีแนวต้านสำคัญที่ 1,750 ดอลลาร์ที่อาจจะมีแรงเทขายทำกำไร ประเด็นที่คาดจะกระทบต่อราคาทองคำในสัปดาห์นี้ ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐทั้งดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนก.ค. ตลาดคาดเพิ่มขึ้น 5.3% และ 7.4% เมื่อเทียบรายปี ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐอื่นๆ ได้แก่ จำนวนตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครเดือนมิ.ย. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค.ของมหาวิทยาลัยมิชิแกน โดยทองคำมีแนวรับที่ 1,700 ดอลลาร์ และ 1,680 ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้านที่ 1,750 ดอลลาร์ และ 1,770 ดอลลาร์ ส่วนราคาทองแท่งในประเทศมีแนวรับ 26,900 บาท และ 26,600 บาท ขณะที่มีแนวต้านที่ 27,650 บาท และ 27,850 บาท 

ความต้องการทองคำทั่วโลกครึ่งปีแรกลดลง แต่โดดเด่นที่ธนาคารกลาง

ความต้องการทองคำทั่วโลกครึ่งปีแรกลดลง แต่โดดเด่นที่ธนาคารกลาง


ข่าวแนะนำ