TNN เปิดปัจจัยที่ญี่ปุ่นอาจไม่ต้องขึ้นดอกเบี้ย พร้อมแผนลงทุนตั้งรับ

TNN

รายการ TNN

เปิดปัจจัยที่ญี่ปุ่นอาจไม่ต้องขึ้นดอกเบี้ย พร้อมแผนลงทุนตั้งรับ

ส่องประเด็นที่อาจจะทำให้ปัญหาแครี่เทรด (Carry Trade) และปัจจัยที่ BOJ อาจไม่ต้องขึ้นดอกเบี้ย รวมไปถึงกลยุทธ์การลงทุนเพื่อตั้งรับทิศทางความผันผวนของตลาดในระยะถัดไป

นายกันติพัฒน์ วงศ์สุคนธ์  Head of Wealth Advisory  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยถึงมุมมองต่อการกระจายลงทุนในต่างประเทศ หลังการปรับลดลงของตลาดหุ้นโลหที่กังวลเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย (recession) และ Carry Trade หรือ กู้เงินจากแหล่งเงินในประเทศดอกเบี้ยต่ำไปลงทุนแหล่งที่ให้ดอกเบี้ยสูง จากความแตกต่างของการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่เฟดมีแนวโน้มจะลดดอกเบี้ยแต่ BOJ มีแนวโน้มจะขึ้นดอกเบี้ยว่า การปรับลดลงของตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะสหรัฐและญี่ปุ่น รวมถึงตลาดหุ้นไทย น่าจะเป็นผลจากความกังวล Recession ในสหรัฐ และแครี่เทรด แต่ประเด็นที่ บลจ.ทิสโก้ให้น้ำหนักมีผลต่อการปรับลดลงของตลาดหุ้นรอบนี้ คือ แครี่เทรด


อย่างไรก็ดี ล่าสุด นายชินอิจิ อุชิดะ รองผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ออกมาส่งสัญญาณโดยใช้คำพูดในวันนี้ (7 ส.ค.) เพื่อลดความกังวลของตลาดแล้ว ว่าอาจไม่ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยในการปรับชุมครั้งต่อไป 


แต่หากพิจารณาในรายละเอียดถึงปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ BOJ ไม่ต้องขึ้นดอกเบี้ยอีก นอกเหนือจากคำพูดของ "อุชิดะ" แล้ว พบว่ามีปัจจัย ดังนี้ 

1.เศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ไม่ได้ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ยังคงข่อนข้างที่จะเปราะบาง 

2. ส่งออกญี่ปุ่นมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เพราะว่าาหากเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มชะลอ สุดท้ายแล้วก็อาจจะวกกลับมากระทบกับส่งออกญี่ปุ่น เพราะฉะนั้นญี่ปุ่นเองก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย 

3.ความผันผวนของตลาดที่ผ่านมาส่วนหนึ่งเวลาที่ตลาดผันผวน คนอาจลืมไปว่าถูกมองเป็น  สกุลเงินที่ค่อนข้างปลอดภัยกับการลงทุน (Safe Haven Currencies) ทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่ามากขึ้นค่อนข้างเยอะ 

4.การขึ้นดอกเบี้ยของ BOJ ครั้งที่แล้วค่อนข้างจะเซอร์ไพรส์ตลาด ส่วนหนึ่งมาจากเรื่องของการเมืองกดดัน เพราะค่าเงินเยนที่อ่อนค่าในช่วงที่ผ่านมามันไปกระทบสินค้านำเข้าของญี่ปุ่น ซึ่งสุดท้ายก็ไปกระทบกับประชาชน ส่งผลให้นักการเมืองของญี่ปุ่นไม่ยอม จึงอยากให้ BOJ ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อลดความร้อนแรงของเงินเยนที่อ่อนค่า 

และ 5. หากเงินเยนแข็งค่ามาที่ระดับ 140 -145 เยนต่อดอลลาร์  ซึ่งล่าสุดก็ปรับลงมาที่แถวๆ 147 เยนต่อดอลลาร์ (จากเดิมอยู่ที่ประมาณ 160 เยนต่อดอลลาร์) มันก็จะทำให้ประชาชนคนญี่ปุ่นไม่เดือดร้อนมากเกินไป 


โดยหากสรุปรวมปัจจัยทั้งหมดแล้ว มันอาจทำให้ BOJ ไม่ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยไปอีกก็ได้ จึงเป็นข่าวดีต่อหุ้นโดยรวม ส่วนประเด็นความกังวล Recession ในสหรัฐ บลจ.ทิสโก้ คิดว่ามันอาจไม่ได้เป็นภาพนั้น เนื่องจากตัวเลขอัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ที่สูงขึ้น ซึ่งโดยปกติหาก Unemployment Rate สูงเกินไปที่ร้อยละ 5 คนก็จะกังวลว่าอาจเกิด Recession แต่ถ้าไปดูใส้ในของตัวเลขว่างงานในสหรัฐที่เกิดขึ้นในครั้งนี้มีปัจจัยที่อาจจะชั่วคราว เช่น ตัวเลขที่อาจเกอดจากการย้ายถิ่นฐานของคนต่างชาติที่โอนสัญชาติมาที่อเมริกาไปหางานทำเพิ่มขึ้น ซึ่งปรากฏว่าตลาดแรงงานรับไม่ทัน เพราะคนหางานมันเข้ามามาก และอีกเหตุผลคือ คนอเมริกาเองหลังโควิดที่คนอเมริกาได้รับเช็คจากรัฐบาลออกจากงานไปใช้เงิน ไม่ได้ทำงานไปก่อนหน้านี้ เริ่มไปก่อนหน้านี้กลับเข้ามาหางานทำในตลาดแรงงานมากขึ้น ที่สำคัญ คือ ตัวเลขการว่างงานที่สูงขึ้นรอบนี้ไม่ได้เกิดจากความเสี่ยงที่คนถูกเลิกจ้าง (Lay off ) ดังนั้น แม้ตัวเลขจ้างงานจะชะลอ แต่ก่อนจะสรูปว่าเป็น Recession ควรดูตัวเลขทางเศรษฐกิจอื่นๆ ประกอบด้วย ซึ่งถ้าดูดัชนีตัวเลขอื่นๆ ก็ยังไม่ได้มีความเสี่ยงจะเกิด Recession  แต่ก็ต้องติดตามดูต่อไป 


ส่วนการลงทุนหรือการกระจายการลงทุนไปตราสารหนี้ หรือทองคำ ก็ช่วยลดความผันผวนของตลาดโดยรวมได้ แต่ถ้าไปดูดัชนี Nasdaq ค่าความผันผวนเริ่มซื้อขายในระดับที่ไม่แพงเมื่อเทียบ 5 ปีที่ผ่านมาแล้ว ดังนั้น ในเชิงกลยุทธ์ก็น่าสนใจที่จะทยอยกลับเข้าลงทุนได้ ส่วนตลาดหุ้นไทยเชื่อว่าในระยะต่อไปน่าจะฟื้นตัวได้ มีทิศทางที่ดีในการลงทุนและยังเป็นตลาดที่น่าสนใจทยอยลงทุนได้ 

ข่าวแนะนำ