TNN ชาวนาไทยยังยากจน หวัง "ปุ๋ยคนละครึ่ง" ดูแล

TNN

รายการ TNN

ชาวนาไทยยังยากจน หวัง "ปุ๋ยคนละครึ่ง" ดูแล

ชาวนายังเป็นอาชีพที่รัฐต้องดูแล ถ้าเปรียบเทียบประเทศอื่นในอาเซียน และในเอเชีย ชาวนาไทยมีฐานยากจนที่สุด พาไปดูว่ามาตรการล่าสุด “ปุ๋ยคนละครึ่ง” ช่วยชาวนาได้แค่ไหน

เคยมีผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในหัวข้อ “10 ปี ชาวนาไทย : จนเพิ่ม หนี้ท่วม” โดยงานศึกษาดังกล่าวทำให้เห็นว่า ชาวนาไทยมีฐานะยากจนที่สุดในเอเชีย และยากจนสุดในอาเซียน เมื่อเทียบกับคู่แข่งสำคัญอย่างอินเดีย เวียดนาม และเมียนมา เกิดจากชาวนาไทยมีต้นทุนการผลิตอยู่ในระดับสูง แต่ศักยภาพการผลิตต่ำ ผลผลิตต่อไร่ต่ำที่สุด จึงส่งผลให้รายได้ต่ำ และเงินเหลือในกระเป๋าติดลบ 

นอกจากนี้ถ้านำไปเทียบกับพืชอื่นๆ พบว่าชาวนา มีรายได้ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับผู้ปลูกทุเรียน ปาล์มน้ำมัน และยางพารา


สอดคล้องกับที่สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้ติดตามและศึกษาสถานการณ์เศรษฐกิจครัวเรือนภาคเกษตร ซึ่งเกษตรที่ทำมากสุดในไทยคือการปลูกข้าว ผลศึกษาที่เก็บรวบรวมในช่วงปี 2563 – 2565 ทำให้เห็นว่า รายได้ที่ครัวเรือนได้รับจากกิจกรรมทางการเกษตรขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 3.81 ต่อปี แต่เมื่อเทียบกับรายจ่ายที่มีการขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 6.30 ต่อปี เช่นเดียวกับภาวะหนี้สินที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 1.45 ต่อปี ส่วนเงินสดคงเหลือก่อนการชำระหนี้ (รายได้หักรายจ่าย) ลดลงร้อยละ 0.25   และทรัพย์สินหดตัวลงร้อยละ 8.19 ต่อปี


ชาวนาไทยยังยากจน หวัง ปุ๋ยคนละครึ่ง ดูแล


การดูแลและช่วยเหลือชาวนามีการดำเนินการมาต่อเนื่องตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา  ล่าสุดรัฐบาลมีมาตรการปุ๋ยคนละครึ่ง เพื่อดูแลช่วยเหลือชาวนา แม้ว่าปีนี้ราคาข้าวจะดีขึ้น แต่จากภัยแล้งทำให้ผลผลิตลดลง ส่งผลให้รายได้ภาพรวมลดลง 


ชาวนาไทยยังยากจน หวัง ปุ๋ยคนละครึ่ง ดูแล

มาตรการปุ๋ยคนละครึ่ง เพื่อดูแลช่วยเหลือชาวนา โดยมี “วงเงินดำเนินการ 29,980 ล้านบาท” โครงการนี้ให้สิทธิ์กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2567/2568 ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร “4.68 ล้านครัวเรือน “รวมถึงเกษตรกรที่ปลูกข้าวอินทรีย์ประมาณ “2 แสนครัวเรือน” 

รัฐบาลจะจ่ายค่าปุ๋ยคนละครึ่งกับเกษตรกร  “รวมแล้วรัฐจะจายให้ไม่เกิน10,000 บาท” 

เริ่มดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.67-31 พ.ค.2568  ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 

รัฐบาลคาดว่าโครงการนี้ช่วยทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 รัฐบาลนำโครงการนี้มาใช้ เพื่อช่วยเหลือชาวนาโครงการชดเชยคุณภาพข้าวจ่ายไร่ละ 1,000 บาท 

ชาวนาไทยยังยากจน หวัง ปุ๋ยคนละครึ่ง ดูแล


 


ข่าวแนะนำ