TNN CPF ชูหลัก "โภชนาการแม่นยำ"พัฒนาอาหารสัตว์รักษ์โลก

TNN

กิจกรรม&ข่าวประชาสัมพันธ์

CPF ชูหลัก "โภชนาการแม่นยำ"พัฒนาอาหารสัตว์รักษ์โลก

CPF ชูหลัก โภชนาการแม่นยำพัฒนาอาหารสัตว์รักษ์โลก

CPF ชูหลัก "โภชนาการแม่นยำ"พัฒนาอาหารสัตว์รักษ์โลก หนุนสุขภาพที่ดีของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมอาหารสัตว์รักษ์โลก ยึดหลักการโภชนาการแม่นยำ สรรหาสารอาหารที่ตรงกับช่วงวัยการเติบโตของสัตว์ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ และวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ต้องไม่มาจากแหล่งที่มีการตัดไม้ทำลายป่า  จับมือพันธมิตรที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก เพื่อพัฒนาวิธีการประเมินด้านการผลิตปศุสัตว์และผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อม หนุนสุขภาพที่ดีของคน สัตว์  และสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ตอบโจทย์สร้างความมั่นคงทางอาหาร และดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน           

CPF ชูหลัก โภชนาการแม่นยำพัฒนาอาหารสัตว์รักษ์โลก ดร.ไพรัตน์ ศรีชนะ  รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สำนักวิชาการอาหารสัตว์ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ มุ่งมั่นวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมอาหารสัตว์ โดยให้ความสำคัญกับหลักโภชนาการแม่นยำ คือ การสรรหาและคิดค้นวัตถุดิบทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อนำไปผลิตและพัฒนาสูตรอาหารสัตว์ที่ตรงกับความต้องการอาหารของสัตว์ในแต่ละช่วงวัย ช่วยให้การย่อยของสัตว์สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารต่างๆได้ดี  ลดการปลดปล่อยสารอาหารส่วนเกินสู่สิ่งแวดล้อม อาทิ ไนโตรเจน นอกจากนี้ มีการใช้นวัตกรรมการเลี้ยงไก่และสุกรด้วยจุลินทรีย์ดี "โปรไบโอติก"  โดยให้ความสำคัญและมุ่งมั่นที่จะลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงและเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) คือ สุขภาพคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์สุขภาพของผู้บริโภค ภายใต้แนวคิดการผลิตอาหารปลอดภัย          

CPF ชูหลัก โภชนาการแม่นยำพัฒนาอาหารสัตว์รักษ์โลก ซีพีเอฟ  มีระบบและเครื่องมือที่มีความพร้อมด้านต่างๆในการผลิตอาหารสัตว์ รวมถึงการนำนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ(Biotechnology)เข้ามาช่วยพัฒนาสูตรอาหารสัตว์ เพื่อให้การขับของเสียจากฟาร์มปศุสัตว์น้อยที่สุด  รวมไปการจัดหาวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ เช่น ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน กากถั่วเหลือง มันสำปะหลัง ที่ต้องไม่มาจากแหล่งตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งเป็นการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  

CPF ชูหลัก โภชนาการแม่นยำพัฒนาอาหารสัตว์รักษ์โลก  "เราคิดว่าสัตว์ที่มีสุขภาพที่ดี ก็จะได้เนื้อสัตว์หรือแหล่งโปรตีนที่ดี เพื่อส่งต่อไปยังผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคสุขภาพดี นอกจากตัวสัตว์ ผู้บริโภค เราใส่ใจสิ่งแวดล้อม อยากให้สิ่งแวดล้อมสุขภาพดีด้วย  " ดร.ไพรัตน์ กล่าว    

CPF ชูหลัก โภชนาการแม่นยำพัฒนาอาหารสัตว์รักษ์โลก นอกจากนี้ จากการที่บริษัทฯ ได้ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ บริษัทรอยัล ดีเอสเอ็ม (Royal DSM NV) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมอาหารและปศุสัตว์  และ บริษัท Blonk Consultants องค์กรที่ให้คำปรึกษาด้านการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม จะช่วยเสริมศักยภาพของซีพีเอฟ ในการพัฒนาอาหารสัตว์รักษ์โลก ด้วยการนำนวัตกรรมโซลูชัน “SustellTM” มาใช้วัดผลงานด้านความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์  ด้วยการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และหาแนวทางลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตอาหารในธุรกิจสัตว์บก อาทิ ไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร และวัวนม  ทำให้สามารถวัดข้อมูลตั้งแต่วัตถุดิบ สูตรอาหาร และฟาร์ม เป็นโอกาสที่ดีที่ซีพีเอฟได้แลกเปลี่ยนและแชร์ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เนื่องจาก Blonk Consultants เป็นผู้ให้คำปรึกษากับหลายๆ องค์กร เช่น องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) ในการพัฒนาวิธีการประเมินด้านการผลิตปศุสัตว์และการประเมินผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อม (Livestock Environmental Assessment and Performance, LEAP) เกี่ยวกับการผลิตอาหารสัตว์    

        

CPF ชูหลัก โภชนาการแม่นยำพัฒนาอาหารสัตว์รักษ์โลก ดร.ไพรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ซีพีเอฟ พัฒนาอาหารสัตว์รักษ์โลกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นต้นทางที่จะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์สีเขียว  (Green Product) อาทิ อาหารสุกรที่สามารถลดปริมาณไนโตรเจนส่วนเกินที่สุกรขับทิ้งออกมาในรูปแบบของสิ่งขับถ่ายถึงร้อยละ 20-30 ซึ่งประยุกต์ใช้จากประเทศไทย ขยายไปทุกประเทศทั่วโลกที่ซีพีเอฟมีฟาร์มสุกรอยู่ จากนั้นขยายผลไปยังสุกรพ่อแม่พันธุ์ สุกรรุ่นพันธุ์ การพัฒนาสูตรอาหารไก่ไข่รักษ์สิ่งแวดล้อม โดยลดการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น กากถั่วเหลือง เพื่อช่วยลดกลิ่นที่เกิดจากมูลสัตว์ ทำให้ปริมาณไนโตรเจนส่วนเกินลดลงร้อยละ 12-13 จากมูลไก่ไข่ และในปี 2566 นี้ มีแผนที่จะพัฒนาสูตรอาหารรักษ์โลกสำหรับธุรกิจเป็ดเนื้อครบวงจร  โดยคาดการณ์ว่าปี 2566  อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของประเทศไทยจะเติบโตใกล้เคียงกับปี 2564 แม้ว่าจะมีปัจจัยความท้าทายจากต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์สูงขึ้น

ข่าวแนะนำ