TNN นักวิชาการซีพีเอฟ แนะวิธีเลือกเนื้อหมูปลอดภัย ปลอดสารเร่งเนื้อแดง

TNN

กิจกรรม&ข่าวประชาสัมพันธ์

นักวิชาการซีพีเอฟ แนะวิธีเลือกเนื้อหมูปลอดภัย ปลอดสารเร่งเนื้อแดง

นักวิชาการซีพีเอฟ แนะวิธีเลือกเนื้อหมูปลอดภัย ปลอดสารเร่งเนื้อแดง

นักวิชาการซีพีเอฟ แนะวิธีเลือกเนื้อหมูปลอดภัย ปลอดสารเร่งเนื้อแดง

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ แนะการเลือกเนื้อหมูปลอดภัย ปราศจากสารเร่งเนื้อแดง ควรเลือกจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ สังเกตร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" การันตีเนื้อหมูคุณภาพได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค  นักวิชาการซีพีเอฟ แนะวิธีเลือกเนื้อหมูปลอดภัย ปลอดสารเร่งเนื้อแดง

น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ความปลอดภัยด้านอาหารเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ดังเช่น เนื้อสุกร ต้องสด สะอาด ปลอดภัย ไร้สารเร่งเนื้อแดง


“การใช้สารเร่งเนื้อแดงในประเทศไทยถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ผู้บริโภคจึงวางใจได้ว่าการเลือกบริโภคเนื้อหมูไทยปลอดจากสารเร่งเนื้อแดง โดยเลือกจากร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" หากไม่พบสัญลักษณ์ดังกล่าว ขอให้สังเกตเบื้องต้น พิจารณาจากสีของเนื้อหมูต้องไม่มีสีแดงผิดปกติ เมื่อกดดูเนื้อจะนุ่มไม่กระด้าง หรือสังเกตตรงส่วนที่เป็นหมูสามชั้น หากพบว่ามีส่วนเนื้อมากผิดปกติควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจมีสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อน เนื่องจากหมูที่เลี้ยงแบบปกติจะมีสัดส่วนของมันหมู 1 ส่วน ต่อเนื้อแดง 2 ส่วน” น.สพ.ดำเนิน กล่าว นักวิชาการซีพีเอฟ แนะวิธีเลือกเนื้อหมูปลอดภัย ปลอดสารเร่งเนื้อแดง

สำหรับ สารเร่งเนื้อแดง เป็นสารสังเคราะห์ในกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ (Beta-Agonist) อาทิ แรคโตพามีน (Ractopamine) มีคุณสมบัติในการเพิ่มน้ำหนักตัวของสัตว์ โดยสารในกลุ่มนี้มีฤทธิ์เปลี่ยนไขมันเป็นกล้ามเนื้อ และลดการสะสมไขมันในเนื้อเยื่อ กระบวนการเลี้ยงหมูในอดีต นิยมใช้สารเร่งเนื้อแดงผสมในอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพื่อประโยชน์ในการลดไขมันและเพิ่มเนื้อแดงในตัวหมู โดยงานวิจัยพบว่าสารนี้ทำให้หมูกินอาหารน้อยลงแต่มีน้ำหนักตัวและปริมาณเนื้อแดงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการใช้สารนี้ส่งผลเสียทั้งต่อตัวสัตว์และอาจตกค้างทำอันตรายถึงผู้บริโภคด้วย ต่อมาประเทศไทยจึงได้ออกกฏหมายห้ามใช้สารดังกล่าวในการเลี้ยงสัตว์ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค 


ขณะนี้ยังพบการใช้สารเร่งเนื้อแดงอย่างกว้างขวางในบางประเทศแถบตะวันตก อาทิ สหรัฐอเมริกา ด้วยประเทศเหล่านั้น มองว่าสารเร่งเนื้อแดงช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกร ที่สำคัญคนในประเทศตะวันตกไม่บริโภคเครื่องในหมู ทำให้ประชากรไม่ต้องเสี่ยงรับสารตกค้าง จึงยังคงอนุญาตให้ใช้สารเร่งเนื้อแดงอย่างเสรี ซึ่งสารดังกล่าวไม่ได้ตกค้างเฉพาะในเครื่องในเท่านั้น แต่สามารถตกค้างในส่วนของกล้ามเนื้อทั่วทั้งตัว นักวิชาการซีพีเอฟ แนะวิธีเลือกเนื้อหมูปลอดภัย ปลอดสารเร่งเนื้อแดง

สำหรับ สารเร่งเนื้อแดง เป็นสารสังเคราะห์ในกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ (Beta-Agonist) อาทิ แรคโตพามีน (Ractopamine) มีคุณสมบัติในการเพิ่มน้ำหนักตัวของสัตว์ โดยสารในกลุ่มนี้มีฤทธิ์เปลี่ยนไขมันเป็นกล้ามเนื้อ และลดการสะสมไขมันในเนื้อเยื่อ กระบวนการเลี้ยงหมูในอดีต นิยมใช้สารเร่งเนื้อแดงผสมในอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพื่อประโยชน์ในการลดไขมันและเพิ่มเนื้อแดงในตัวหมู โดยงานวิจัยพบว่าสารนี้ทำให้หมูกินอาหารน้อยลงแต่มีน้ำหนักตัวและปริมาณเนื้อแดงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการใช้สารนี้ส่งผลเสียทั้งต่อตัวสัตว์และอาจตกค้างทำอันตรายถึงผู้บริโภคด้วย ต่อมาประเทศไทยจึงได้ออกกฏหมายห้ามใช้สารดังกล่าวในการเลี้ยงสัตว์ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค 


ขณะนี้ยังพบการใช้สารเร่งเนื้อแดงอย่างกว้างขวางในบางประเทศแถบตะวันตก อาทิ สหรัฐอเมริกา ด้วยประเทศเหล่านั้น มองว่าสารเร่งเนื้อแดงช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกร ที่สำคัญคนในประเทศตะวันตกไม่บริโภคเครื่องในหมู ทำให้ประชากรไม่ต้องเสี่ยงรับสารตกค้าง จึงยังคงอนุญาตให้ใช้สารเร่งเนื้อแดงอย่างเสรี ซึ่งสารดังกล่าวไม่ได้ตกค้างเฉพาะในเครื่องในเท่านั้น แต่สามารถตกค้างในส่วนของกล้ามเนื้อทั่วทั้งตัว นักวิชาการซีพีเอฟ แนะวิธีเลือกเนื้อหมูปลอดภัย ปลอดสารเร่งเนื้อแดง “ซีพีเอฟในฐานะผู้ผลิตอาหารที่เน้นสุขภาพผู้บริโภคมาเป็นอันดับแรก ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องคำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภคชาวไทยเป็นหลัก ขณะที่ผู้บริโภคเองควรใส่ใจในเรื่องสุขภาพ เลือกซื้อสินค้าที่มาจากแหล่งผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ และมีตรา ปศุสัตว์ OK ที่รับรองความปลอดภัยต่อการบริโภค” น.สพ.ดำเนิน กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวแนะนำ