TNN โมเดลธุรกิจ Gen Alpha “คิด-ค้า-ขาย” ให้ปังจาก “ความชอบ”

TNN

กิจกรรม&ข่าวประชาสัมพันธ์

โมเดลธุรกิจ Gen Alpha “คิด-ค้า-ขาย” ให้ปังจาก “ความชอบ”

โมเดลธุรกิจ Gen Alpha “คิด-ค้า-ขาย” ให้ปังจาก “ความชอบ”

โมเดลธุรกิจ Gen Alpha “คิด-ค้า-ขาย” ให้ปังจาก “ความชอบ” สสส.หนุนเปลี่ยนวันว่าง สร้างการเรียนรู้ พัฒนาสู่ทักษะชีวิตและอาชีพ

     “เวลาว่างคือเวลาที่เป็นอิสระ ได้ทำอะไรตามที่ตัวเองชอบ เวลาที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และเป็นเวลาอื่นนอกเหนือจากเวลาเรียนหรือเวลาทำงาน”  โมเดลธุรกิจ Gen Alpha “คิด-ค้า-ขาย” ให้ปังจาก “ความชอบ”

     เป็นข้อสรุปและมุมมองของเด็กและเยาวชนที่ได้จากการวิจัย “โครงการกิจกรรมวันว่างและกิจกรรมสร้างสรรค์ของเยาวชน” โดย สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ที่ต้องการค้นหาความชอบ ความสนใจ สิ่งที่อยากเรียนรู้ และลงมือทำในช่วงเวลาว่างของเด็กๆ  

     เมื่อค้นพบว่าเด็กและเยาวชนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร สสส. จึงร่วมกับ กทม. จึงนำข้อมูลจากงานวิจัยมาต่อยอดพัฒนาเป็นโมเดลต้นแบบในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ตรงใจวัยรุ่น ในชื่อ “BKK-เรนเจอร์ x ปิดเทอมสร้างสรรค์ อัศจรรย์วันว่าง” The Miracle Playground @Siam : DREAM & DO เปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนได้เข้ามาค้นหาทักษะ ความถนัด และความสนใจในเรื่องต่างๆ เพื่อที่จะเปลี่ยนวันว่างให้กลายเป็นโอกาสและการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ที่สามารถต่อยอดไปสู่ “อาชีพ” ในฝันของคนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ เจ้าของกิจการ YouTuber นักแสดง นักดนตรี เชฟ ขายสินค้าออนไลน์ ฯลฯ โมเดลธุรกิจ Gen Alpha “คิด-ค้า-ขาย” ให้ปังจาก “ความชอบ”

     โดยได้มีการถ่ายทอดประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนมุมมองจากไอดอลในแต่ละสาขาอาชีพ ที่ตอบโจทย์ความสนใจและความฝันในการเป็นทั้งเจ้าของกิจการที่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชื่นชอบ อย่าง “โฟกัส”  ธันย์สิตา อริยะรุ่งรัตน์ เจ้าของร้านคุณนายเบเกอรี่ ขายขนมโดนัทชิ้นละ 5 บาท และ “ริสา” มาริสา เวชสุภาพร มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ เจ้าของธุรกิจขนมคีโตเพื่อสุขภาพ ที่ทั้งคู่ล้วนมียอดขายหลักล้านต่อเดือน

     “จุดแรกเริ่มมาจากความคิดที่ว่า เงิน 5 บาท ซื้ออะไรแล้วอิ่มท้อง” 

     เป็นมุมมองและแนวคิดแบบเด็กๆ ของน้อง “โฟกัส”  ที่ตอนนั้นมีอายุเพียง 13 ปี ประกอบกับทางบ้านมีพื้นฐานในการทำร้านเบเกอรี่ แล้วก็เป็นชอบกินโดนัท เมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19 “โฟกัส” จึงใช้เวลาว่างจากการเรียนออนไลน์มาช่วยแม่ทำขนม ประกอบกับขนมแพนเค้กญี่ปุ่นที่ทำมาขายก็เกิดขายไม่ค่อยออกเพราะมีราคาที่สูงไป เธอจึงเสนอไอเดียให้แม่เปลี่ยนมาทำโดนัทแทน

     “พอดีคุณแม่ชอบทำให้ชิม เลยเสนอไอเดียว่าลองมาทำเป็นโดนัทดูไหม ตั้งใจแต่แรกว่าเสนอให้แม่ขายชิ้นละ 5 บาท ราคานี้คืออินมาจากตัวเอง ที่ยังเป็นนักเรียนอยู่ บางทีเงิน 5 บาทในกระเป๋า ถ้าสามารถซื้อของกินที่อิ่มท้องได้ก็น่าจะดี ประกอบกับเป็นช่วงสถานการณ์โควิดด้วย ก็เลยลองทำขาย แต่ที่บ้านก็กลัวว่าจะขาดทุน เลยตั้งราคาชิ้นละ 10 บาท ปรากฏว่าตั้งแต่เช้ายันบ่าย ขายไม่ได้เลย ก็เลยลองเปลี่ยนมาขาย 5 บาท ตามที่ตั้งใจแต่แรก กลับกลายเป็นว่า บูมขึ้นมา เพียงแค่ชั่วโมงเดียว ขายหมดเกลี้ยง”

     จากนั้นชื่อเสียงของโดนัท 5 บาท ที่ตรงความต้องการและงบประมาณในประเป๋าของเด็กๆ แถมยังอร่อยเกินราคา ก็ถูกพูดถึงกันแบบปากต่อปาก บางวันที่ขายดีมากๆ มียอดขายเกือบ 1 หมื่นชิ้นต่อวัน และใช้ช่องทางออนไลน์ต่างๆ ในการโปรโมทสินค้าและรับออเดอร์ควบคู่กันไป จนปัจจุบันพัฒนาไปเป็นสู่การจำหน่ายแป้งโดนัทสำเร็จรูปแช่แข็งเพื่อให้คนที่สนใจสามารถนำไปขายต่อได้

     “ตลาดโดนัทหรือเบเกอรี่ไม่ได้ใหม่ในเมืองไทยแล้ว มีขายกันเกร่อ เราก็ต้องหาจุดเด่นของเรา นอกเหนือจากที่ราคา 5 บาทแล้ว คุณภาพและความอร่อยนั้นเกินราคา ซึ่งหลายคนคิดว่า 5 บาท แป้งคงจะแข็งๆ ทื่อๆ แต่พอได้ชิมแล้ว พบว่าแป้งมันนุ่ม อร่อยเกินราคา เพราะเราใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและมีมูลค่า” น้องโฟกัสเล่าถึงจุดเด่นที่สร้างชื่อเสียงให้กับโดนัทจากร้านของเธอ 

     แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ “โฟกัส” ฝากถึงเพื่อนๆ ทุกคนที่อยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจและประสบความแบบเธอก็คือให้เริ่มต้นจาก “สิ่งที่ชอบ” ก่อน

     “สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจอยากทำธุรกิจเป็นของตัวเอง อยากให้เริ่มต้นจากสิ่งที่ชอบก่อน หาสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ส่วนตัวเริ่มต้นตอนอายุ 13 ก็คือถ้าหนูเริ่มได้ทุกคนก็น่าจะเริ่มได้ ท้อได้แต่ต้องไม่ถอย” น้องโฟกัสระบุ โมเดลธุรกิจ Gen Alpha “คิด-ค้า-ขาย” ให้ปังจาก “ความชอบ”

     ด้านน้อง “ริสา” มาริสา เวชสุภาพร เจ้าของธุรกิจขนมคีโตเพื่อสุขภาพ ก็มีจุดเริ่มต้นในการเป็นเจ้าของธุรกิจไม่แตกต่างกัน นั่นก็คือ “ความชอบ”

     “เป็นคนชอบกิน คนอื่นมาทำให้กินก็ไม่ถูกใจ จึงเริ่มมาทำเองทั้งขนมและอาหาร ชอบทำอาหารมาตั้งแต่เด็กๆ หัดทำขนมและอาหารต่างๆแบบลองผิดลองถูกเรื่อยมา โดยหาข้อมูลจากในอินเตอร์เน็ตบ้าง ยูทูปบ้าง แล้วก็มาปรับสูตรเป็นสูตรของเราเอง” ริสาเล่า

     โดยจุดเด่นในการทำขนมของ “ริสา” คือการเน้นใช้วัตถุดิบที่ดี และมีราคาที่ขายไม่แพงจนเกินไป นัก ซึ่งคนที่ทานคีโตเพื่อสุขภาพ จะรู้ดีว่าขนมปังคีโต 1 แผ่น ที่ขายกันทั่วๆไป ราคาก็เกือบ1ร้อยแล้ว ซื้อ แต่ของเธอเองนั้น ขายเป็นโรพ (ROPE) เท่ากับ 13 แผ่น ในราคาเพียง 180 บาท เพราะอยากให้คนที่ซื้อของไป ซื้อไปได้ทานอาหารเพื่อสุขภาพอย่างมีความสุข โดยที่มีราคาไม่แพงเกินไปนัก   

     ส่วนการจัดสรรเวลาเรียนและการทำขนมนั้น “ริสา” บอกว่าจะใช้เวลาหลังเลิกเรียนมาโพสต์ Facebook เพื่อรับพรีออเดอร์สั่งซื้อสินค้า และเร่งทำตามที่ลูกค้าสั่งเข้ามาเพื่อส่งให้ได้ในวันถัดไป ซึ่งเธอรู้สึกว่าสนุกในการทำงาน ไม่เหนื่อย เพราะได้ทำในสิ่งที่ชอบ

    “สำหรับเพื่อนๆที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองนั้น ก็จะแนะนำว่า ถ้ามีโอกาสเข้ามา ก็ให้รีบคว้าเอาไว้ ให้ลงมือทำทันที อย่ากลัวที่จะลงมือ เพราะแม่สอนเสมอว่าชีวิตเป็นของหนู หนูต้องดูแลตัวเอง เพราะฉะนั้นต้องพยายามทำอะไรของตัวเองด้วยตัวเองก่อน และเอาความชอบที่มีมาใช้ให้เป็นประโยชน์” น้องริสาระบุ

     ซึ่งการเปิดพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียนให้เด็กและเยาวชนได้มีทางเลือกในการทำกิจกรรมนอกเวลาเรียนตามความสนใจ เปลี่ยนวันว่างให้กลายเป็นโอกาสแห่งการเรียนรู้ มีความสำคัญสำหรับการสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพที่จำเป็นสำหรับโลกและการทำงานในยุคศตวรรษที่ 21 โดย สสส.เตรียมขยายผลการดำเนินงานปิดเทอมสร้างสรรค์ อัศจรรย์วันว่าง ออกไปในระดับจังหวัด เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีกิจกรรมหลากหลาย สอดคล้องตามความสนใจของเด็กและเยาวชน

     สอดคล้องมุมมองของ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ที่ระบุว่า สิ่งที่เด็กและเยาวชนชอบที่สุดก็คือ การได้ทำสิ่งที่รัก ที่ชอบ ที่อยากทำในวันหยุด เด็กยุคนี้เองเมื่อโตขึ้นอยากเป็นอะไร ก็มีคำตอบที่เป็นพื้นฐานของวิชาชีพต่างๆ ที่เห็นชัดเจน 

     “หลายคนอยากเป็นนักธุรกิจ ทำธุรกิจออนไลน์  อยากเป็นChef  อยากเป็น YouTuber อยากเป็นนักแสดงฯลฯ ซึ่งสิ่งต่างๆ ในยุคปัจจุบันนี้เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้นอกห้องเรียน และเป็นสิ่งที่จะติดตัวของเด็กและใช้ในชีวิตของเขาระยะยาวต่อไป” ผจก.สสส.กล่าวสรุป

ข่าวแนะนำ