ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ไม่มีเพื่อนสนิทเลย ถือว่าผิดปกติหรือไม่?

หลายคนอาจเคยตั้งคำถามว่า “ถ้าฉันไม่มีเพื่อนสนิทเลย แปลกไหม?” ในขณะที่บางคนมีเพื่อนหลายคนที่สามารถพูดคุยได้ทุกเรื่อง บางคนกลับพบว่าตัวเองไม่มีเพื่อนที่ไว้ใจได้จริงๆหรือไม่เคยมีความสัมพันธ์แบบเพื่อนสนิทเลย แล้วสิ่งนี้ถือเป็นเรื่องผิดปกติหรือไม่? มาหาคำตอบกันจากมุมมองทางจิตวิทยากัน

**การไม่มีเพื่อนสนิท ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ** และไม่ได้หมายความว่าชีวิตของเรามีปัญหา งานวิจัยพบว่า 22% ของผู้ใหญ่ทั่วโลกไม่มีเพื่อนสนิทเลย และอีก 45% มีเพื่อนเพียง 1-2 คน สังคมมักสร้างภาพว่าทุกคนต้องมีกลุ่มเพื่อนสนิท แต่ความเป็นจริงความต้องการด้านสังคมของแต่ละคนไม่เท่ากัน การไม่มีเพื่อนสนิท ≠ ความโดดเดี่ยวทางอารมณ์ หลายคนพึงพอใจกับความสัมพันธ์แบบเพื่อนทั่วไป มากกว่าการมีเพื่อนสนิทเพียงคนเดียว

**ความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งอาจมาในรูปแบบอื่น**

- ไม่จำเป็นต้องเป็น “เพื่อน” เสมอไป ความสัมพันธ์ที่มีคุณค่าอาจเกิดขึ้นกับ ครอบครัว, คนรัก หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยง

- มีงานวิจัยพบว่า การพูดคุยกับคนรู้จักทั่วไปก็ช่วยลดความเครียดและทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้ แม้ไม่ใช่เพื่อนสนิท

ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ไม่มีเพื่อนสนิทเลย ถือว่าผิดปกติหรือไม่?

สรุปข่าว

การไม่มีเพื่อนสนิท ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ และไม่ได้หมายความว่าชีวิตของเรามีปัญหา งานวิจัยพบว่า 22% ของผู้ใหญ่ทั่วโลกไม่มีเพื่อนสนิทเลย และอีก 45% มีเพื่อนเพียง 1-2 คน สังคมมักสร้างภาพว่าทุกคนต้องมีกลุ่มเพื่อนสนิท แต่ความเป็นจริงความต้องการด้านสังคมของแต่ละคนไม่เท่ากัน การไม่มีเพื่อนสนิท ≠ ความโดดเดี่ยวทางอารมณ์ หลายคนพึงพอใจกับความสัมพันธ์แบบเพื่อนทั่วไป มากกว่าการมีเพื่อนสนิทเพียงคนเดียว

*ปัจจัยที่ทำให้หลายคนไม่มีเพื่อนสนิท*

- ลักษณะบุคลิกภาพ – คนที่เป็น Introvert อาจรู้สึกสบายใจกับการใช้เวลาคนเดียวมากกว่าการสร้างความสัมพันธ์ลึกซึ้ง

- สภาพแวดล้อมและช่วงชีวิต – คนที่เปลี่ยนที่อยู่บ่อยหรือทำงานหนัก อาจไม่มีเวลาสร้างความสัมพันธ์แบบเพื่อนสนิท

- ประสบการณ์ในอดีต – บางคนเคยผิดหวังจากมิตรภาพจนเลือกที่จะ ไม่เปิดใจ กับใครอีก

เมื่อไหร่ที่ "การไม่มีเพื่อนสนิท" ต้องกังวล?

กล่าวโดยสรุปคือ **การไม่มีเพื่อนสนิทไม่ใช่สิ่งที่ต้องกังวล**

แต่สิ่งที่ต้องก้ังวลก็คือ ถ้าการไม่มีเพื่อนสนิทแล้วทำให้เรารู้สึกโดดเดี่ยว, หดหู่ หรือเหงาทางอารมณ์ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาสุขภาพจิต หากรู้สึกว่าไม่มีใครเข้าใจหรือพึ่งพาได้ ควรพิจารณาหาทางออก เช่น เข้าร่วมกิจกรรมใหม่ๆ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต