
หูฟังตัดเสียงรบกวน ได้รับความนิยมในกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะทำให้คุณภาพของเสียงเพลงดีขึ้น พร้อมกับบล็อกเสียงรอบข้าง ช่วยเพิ่มประสบการณ์ฟังเพลง และเพิ่ทสมาธิการทำงาน
แม้จะไม่รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในแง่ของสุขภาพ โดยเฉพาะผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับหูของเรา เป็นสิ่งที่อาจจะต้องระวังมากขึ้น เพราะล่าสุด รายงานจาก BBC ชี้ว่าหูฟังตัดเสียงรบกวนกำลังมีบทบาทสำคัญต่อปัญหาการได้ยินที่ขึ้นกับคนรุ่นใหม่
BBC เผยแพร่เรื่องราวของ โซฟี ผู้ช่วยด้านการบริหารวัย 25 ปีจากลอนดอน ที่ไปพบนักโสตวิทยาเอกชนเพื่อทดสอบการได้ยิน และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความผิดปกติในการประมวลผลการได้ยิน เรื่องย่อๆ ว่า APD ซึ่งเป็นภาวะทางระบบประสาทที่สมองมีความยากลำบากในการเข้าใจเสียงและคำพูด
แม้สาเหตุของ APD จะยังไม่แน่ชัด แต่นักโสตวิทยา สันนิษฐานว่า เป็นเพราะ เธอใช้หูฟังตัดเสียงรบกวนมากเกินไป ซึ่งโซฟีสารภาพว่า เธอ สวมหูฟังติดต่อกันนานถึง 5 ชั่วโมงต่อวัน

สรุปข่าว
ปัจจุบันเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นผู้คนเดินข้างนอกโดยสวมหูฟังตัดเสียงรบกวนและดูวิดีโอออนไลน์พร้อมคำบรรยาย แม้จะได้ยินเสียงได้อย่างชัดเจน โดยการสำรวจของ YouGov แสดงให้เห็นว่า 61% ของคนอายุ 18-24 ปีชอบดูทีวีพร้อมเปิดคำบรรยาย แต่ก็สวมหูฟังเปิดเสียงดังไปด้วย
ทำไมปัญหาการได้ยินของวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ต้องกังวล?
เพราะมันไม่ใช่เพียงแค่ปัญหาสุขภาพทั่วๆ ไป แต่โดยปกติสมองจะพัฒนาทักษะการฟังที่ซับซ้อนได้อย่างสมบูรณ์ในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย ดังนั้น หากพวกเขาสวมหูฟังตัดเสียงรบกวน การประมวลผลคำพูดและเสียงของเด็กคนนั้นจะพัฒนาช้าลง หรือจะมีปัญหาเมื่อโตขึ้น
ขณะที่ข้อมูลจากหน่วยงานด้านกาแรพทย์ของสหราชอาณาจักรชี้ว่า โรคAPD ที่พบในกลุ่มวัยรุ่นอาจต้องใช้เวลา อย่างน้อย 9 เดือน ในการรักษาความสามารถการได้ยินให้กลับได้ตามเดิม