
ใครเคยมีประสบการณ์ "รักแรกพบ" บ้างยกมือขึ้น เชื่อว่าคนไม่น้อยเคยรู้สึกกับอาการหัวใจเต้นรัวไม่เป็นจังหวะ หุบยิ้มไม่ได้ราวกับคนบ้า เขินอายแบบไม่มีเห็นผล เพียงแค่เจอกับคนที่โดนใจเราในครั้งแรกที่สบตา
นักจิตวิทยา บอกว่า ที่เรารู้สึกแบบนี้เป็นเพราะสมองของเรากำลังปล่อยสารเคมีแห่งความสุขออกมาเพียบ โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นที่ฮอร์โมนกำลังพุ่งพล่าน เลยทำให้ความรู้สึกทุกอย่างเหมือนจะแรงกว่าปกติไปหมด
แต่เคยสงสัยกันมั้ยว่า สิ่งที่เราเรียกว่า "รักแรก" นี่ มันคือความรักจริงๆ หรือ แค่ปฏิกิริยาเคมีในร่างกายที่แค่ทำให้เราหวั่นไหวไปชั่วคราวกันแน่
มาดูคำอธิบายทางจิตวิทยากัน

สรุปข่าว
จากการสำรวจคนโสดในอเมริกา กว่า 5,000 คนบนเว็บไซต์ Match.com ในปี 2011 พบว่า ผู้ชาย 54 เปอร์เซนต์ และ ผู้หญิง 44 เปอร์เซนต์ ต่างบอกว่า ตัวเองเคยมีรักแรกพบ ตัวเลขทำให้เห็นผู้คนมากกว่าครึ่งต่างเคยประสบกับความรู้สึกนี้มากันหมด
งานวิจัยของ Stephanie Ortigue พบว่า การกระตุ้นที่เกิดขึ้นในสมองสามารถนำไปสู่ความรู้สึก "รัก" ได้เร็วถึง 0.2 วินาทีหลังจากการมองเห็นคนที่เราสนใจ การกระตุ้นนี้สร้างความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม ปลื้มปีติ ตื่นเต้น และอยากรู้อยากเห็นและรจดจ่ออยู่กับคนๆ นั้น ซึ่งครอบงำทั้งร่างกายและจิตใจของเราด้วย จึงเป็นเหตุผลที่ว่าเหมือนเราเจอกับคนที่ตกหลุมรัก ถึงชอบทำตัวเปิ้นๆ ออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ
รักแรกพบ คือ "ความรัก" จริงๆ หรือ เป็นอะไรอย่างอื่นกันแน่?
งานวิจัยเกี่ยวกับสมอง ในทศวรรษที่ผ่านมา ช่วยให้เราเข้าใจกลไกของความรักและความดึงดูดใจ เมื่อใครสักคนบอกว่าพวกเขา "กำลังตกหลุมรัก"
ความรู้สึกรัก เกี่ยวกับสารเคมีและฮอร์โมน อย่างน้อย 12 ส่วน ตัวอย่างเช่น อะดรีนาลีน ออกซิโตซิน และโดปามีน ที่จะถูกปล่อยออกมา ทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น เคลิบเคลิ้ม และผูกพัน
น่าแปลกใจที่ วงจรการทำงานของสมอง ตอนที่เรามีความรักคล้ายคลึงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองเมื่อใช้ยาเสพติดอย่างโคเคน ทำให้คุณรู้สึกเหมือนกำลังจดจ่อ ปรารถนา และแม้กระทั่งเสพติดกับคู่ของคุณ
รักแรกพบนั้นโดยความหมายแล้วเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่เราจะรู้จักอีกฝ่าย ในช่วงแรกของความรักเมื่อเรายังแทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับอีกฝ่ายเลย ความสัมพันธืส่วนากเป็นไปในแบบฉับพลัน ดึงดูด และเต็มไปด้วความปรารถนาที่มีต่ออีกคน บางครั้งก็ก่อนจะรู้จักชื่อของอีกฝ่ายด้วยซ้ำ
ประสบการณ์แบบนี้ เกิดขึ้น ในช่วงของการ เกิดรักแรกพบ
แล้วนั่นคือความรักหรือไม่? คำตอบก็คือ มันขึ้นอยู่กับว่าเรานิยามความรักว่าอย่างไร ในแง่หนึ่ง รักแรกพบเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่ทำให้รู้สึกเคลิบเคลิ้มในช่วงแรกของความรักแบบโรแมนติกอันเข้มข้น ซึ่งเราคิดว่าเป็นความใคร่
แต่ในอีกแง่ รักแรกพบไม่ได้สะท้อนถึงความรู้สึกปลอดภัย การเชื่อมต่อ และประสบการณ์ร่วมของคนที่รู้จักคู่ของตนจริงๆ ซึ่งเป็นลักษณะของความผูกพัน ความรักที่ลึกซึ้งกว่านี้ต้องใช้เวลา ความใกล้ชิด และความเปราะบางที่พัฒนาขึ้นตามกาลเวลา
สรุปคือ รักแรกพบเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ได้เป็นสิ่งที่การันตีว่ามันจะสามารถกลายเป็นความรักที่ยาวนาน ความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งช่วยใหญ่ ต้องใช้เวลาผูกพันและพัฒนา ตามเวลา
ที่มาข้อมูล : psychologytoday.com
ที่มารูปภาพ : canva